Enfa สรุปให้
-
เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มนั่งและยืนเกาะในช่วงขวบปีแรก และจะเดินได้ภายในขวบครึ่ง
- เมื่อลูกเริ่มเกาะยืน คุณแม่สามารถช่วยลูกหัดเดินได้โดยสังเกตว่าลูกเริ่มเกาะนิ่งขึ้น
ขาลูกแข็งแรงพอจะฝึกเดินได้แล้ว
- การช่วยลูกฝึกเดินควรเริ่มจากพื้นเรียบ เช่น เสื่อรองคลาน
แล้วค่อยฝึกลูกเดินในพื้นผิวอื่น เช่น พื้นดิน สนามหญ้า โดยควรเริ่มจากเดินเท้าเปล่า

“การเดิน” นอกจากเป็นพัฒนาการสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่รอคอยแล้ว
ยังเป็นขั้นตอนสำคัญของพัฒนาการทารกอีกด้วย การที่เด็กเริ่มเกาะยืนและหัดเดินแสดงถึงการเจริญเติบโตของระบบกล้ามเนื้อ
พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและการทรงตัว สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่สงสัยว่าเด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเราจะหัดเดินตอนไหน
ลูกเดินช้าสุดกี่เดือน และเราจะมีวิธีช่วยลูกทำให้ลูกเดินได้อย่างไร Enfa มีคำตอบมาให้แล้วค่ะฃ
เด็กเริ่มเดินกี่เดือน
โดยทั่วไปเด็กจะเริ่มมีพัฒนาการที่นำไปสู่การเดินเมื่ออายุประมาณ 7-8 เดือน คือ เริ่มเกาะยืน
และเริ่มลุกขึ้นจากท่านั่งได้เมื่ออายุประมาณ 9 เดือน จากนั้นจึงเริ่มฝึกการทรงตัวด้วยการยืนนิ่ง ๆ
ได้นานขึ้นเมื่ออายุประมาณ 10 เดือนถึง 1 ขวบ ก่อนที่เด็กจะหัดเดินและเริ่มเดินก้าวแรกอย่างมั่นคงภายในอายุ 1 ขวบ 6
เดือน หรืออายุ 18 เดือน
ดังนั้นคำถามที่ว่าเด็กหัดเดินกี่เดือนนั้น เด็กส่วนใหญ่ควรหัดเดินภายในอายุ 1 ขวบ และอย่างช้าไม่ควรเกิน 1 ขวบ 6 เดือน
โดยคุณพ่อคุณแม่ควรคอยสังเกตว่าเมื่อไรที่ลูกน้อยเริ่มเกาะยืนด้วยตนเอง นั่นแสดงว่าลูกน้อยพร้อมที่จะหัดเดินแล้ว
ในช่วงที่เด็กเริ่มฝึกยืนทรงตัวหรือเกาะเดินได้แล้วนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยเสริมพัฒนาการให้ลูกเดินได้เร็วขึ้น
ช่วยฝึกลูกเดิน เพื่อให้ลูกได้พัฒนากล้ามเนื้อขา แขน และการทรงตัว
และที่สำคัญคือเมื่อลูกเริ่มเกาะยืน ควรระมัดระวังสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านที่ล้มง่าย แตกหรือหักได้ พื้นที่ลื่นมาก
อุปกรณ์มีล้อที่เกาะยืนแล้วเลื่อนได้ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยวัยกำลังหัดยืนและหัดเดิน
เด็กเดินได้กี่เดือน
หากคุณแม่สงสัยว่าเด็กกี่เดือนเดินได้ หรือลูกคุณแม่ยังไม่เริ่มเดินผิดปกติหรือไม่ อย่าเพิ่งกังวลใจไปค่ะ
ปกติแล้วเด็กจะเริ่มมีความพร้อมทางร่างกายทั้งกระดูกและกล้ามเนื้อพอที่จะเริ่มยืนทรงตัวและหัดเดินตั้งแต่ช่วงอายุประมาณ
9 เดือนขึ้นไป และจะเดินได้เองในช่วงอายุ 1 ขวบ และอย่างช้าไม่ควรเกิน 1 ขวบ 6 เดือน โดยประมาณ
ตามเกณฑ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเกณฑ์นี้เป็นเพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น
อย่างไรก็ดียังมีเด็กบางคนที่เดินเร็วกว่าเกณฑ์ และบางคนที่ช้ากว่าเกณฑ์ได้เช่นกัน
การที่เด็กเริ่มเดินได้โดยไม่ต้องเกาะจับหรือพยุงตัวในช่วงอายุ 9 เดือนเป็นต้นไปนั้น
เพราะนี่คือช่วงเวลาที่สมองและระบบประสาทของเด็กพัฒนาเพียงพอที่จะสั่งการกล้ามเนื้อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว
นั่นทำให้เด็กที่สุขภาพแข็งแรงดี ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่วัยหัดนั่งหรือคลาน
อาจเริ่มเดินได้เร็วขึ้นด้วย
นอกจากนี้ เมื่อเด็กเดินได้แล้ว เด็กจะเริ่มมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวซับซ้อนมากขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย เช่น เริ่มวิ่ง
เริ่มปีนป่าย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิดในช่วงนี้
ลูกเดินช้าสุดกี่เดือน
ตามเกณฑ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ลูกควรเดินได้ภายในอายุ 1 ขวบ และอย่างช้าไม่ควรเกิน 1 ขวบ 6
เดือน ซึ่งอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเกณฑ์นี้เป็นค่าเฉลี่ย ดังนั้นเด็กบางคนอาจเดินได้ช้าหรือเร็วกว่านี้ได้
ขึ้นกับปัจจัยสำคัญหลายอย่าง เช่น กล้ามเนื้อขาพัฒนาไม่เต็มที่
ขาดการกระตุ้นพัฒนาการตามช่วงวัยทำให้พัฒนาได้ช้ากว่าเกณฑ์ รวมถึงอาจมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ควรขอคำแนะนำจากแพทย์
วิธีทำให้ลูกเดินได้
เมื่อลูกเริ่มเกาะยืนช่วงอายุ 9 เดือน และเริ่มเกาะไต่เดินได้แล้ว แสดงว่ากล้ามเนื้อขาลูกเริ่มพัฒนาเต็มที่แล้ว
มีวิธีทำให้ลูกเดินได้ด้วยการช่วยฝึกลูกเดินตามขั้นตอน ดังนี้
- เตรียมสถานที่ฝึกลูกเดิน ควรเป็นที่โล่ง พื้นราบ ไม่มีสิ่งของเกะกะ ไม่มีเฟอร์นิเจอร์มีเหลี่ยมมุม
อาจใช้เสื่อรองคลานหรือพื้นที่แข็งแรง ไม่ลื่น โดยควรเดินเท้าเปล่า ไม่ต้องใส่รองเท้า
- ฝึกกล้ามเนื้อขาให้ลูกด้วยการจับลูกยืนบนตัก นวดขาหลังอาบน้ำ และพยายามจับพาลูกเดินด้วยการประคอง เลี่ยงการอุ้ม
- ฝึกลูกยืนให้แข็งแรงบนพื้น ใช้มือประคองแขนทั้งสองข้าง
เมื่อลูกยืนได้มั่นคงแล้วให้จับมือทั้งสองข้างแล้วสอนลูกก้าวเดินตาม พร้อมพูดกระตุ้นให้ลูกอยากเดิน
หรือเพิ่มตัวช่วยเป็นของเล่นที่ลูกชอบหลอกล่อให้ลูกเดินตาม
- เมื่อลูกล้ม หากไม่มีบาดแผล ไม่มีอาการซึม อาเจียน หรือภาวะผิดปกติอื่นๆ ถือว่าเป็นอาการปกติ
พยายามเลี่ยงการรีบเข้าไปอุ้ม
- ฝึกลูกเกาะสิ่งของไต่เดิน หรือให้ลูกเดินร่วมกับพี่หรือเพื่อน ลูกจะเริ่มจดจำท่าทางการเดินเร็วขึ้น
- ฝึกเดินในพื้นผิวหลากหลาย เช่น แผ่นรอง สนามหญ้า ฝึกใส่รองเท้าเดิน เพื่อให้เด็กเรียนรู้พื้นผิวแบบต่างๆ
และฝึกทรงตัว
การเดินกับพัฒนาการของลูกน้อย
การเดินเป็นพัฒนาการที่สำคัญของลูกน้อย โดยเด็กปกติที่ไม่มีปัญหาด้านพัฒนาการหรือร่างกาย ควรจะเดินได้เองภายใน 1 ขวบ 6
เดือน แม้แต่ว่าเป็นเด็กคลอดก่อนกำหนดเมื่อนับอายุครบตามเกณฑ์ หรือเด็กที่คลานช้า นั่งช้า
ก็ควรเดินได้เองในเกณฑ์อายุนี้เช่นกัน
การเดินไม่ได้เป็นเพียงพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกายเท่านั้น แต่การเดินยังช่วยให้เด็กได้ฝึกการควบคุมร่างกาย
ฝึกความมั่นใจ ฝึกการตัดสินใจ พัฒนากล้ามเนื้อตาและมือ มีความอิสระ
พร้อมที่จะเรียนรู้โลกกว้างผ่านการสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
และยังช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การวิ่ง การปีนป่าย
การกระโดด เป็นต้น
MFGM สารอาหารในนมแม่ เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก
โภชนาการที่ดีผ่านนมแม่ช่วยเสริมพัฒนาการที่ดีให้ลูกรักได้ โดยเฉพาะใน 5 ขวบปีแรกที่ร่างกายและสมองกำลังพัฒนา
ทั้งเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง พัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน พัฒนากล้ามเนื้อทุกส่วน พัฒนาสติปัญญา และพัฒนาทักษะทางอารมณ์
ด้วยเหตุนี้คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจต่อโภชนาการเพื่อลูกรัก ร่วมกับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ไปพร้อมกันด้วย
โดยโภชนาการที่ดีที่สุดของลูกรักคือนมแม่ ซึ่งในนมแม่มี MFGM สุดยอดสารอาหารในนมแม่ สารอาหารสมองชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี
IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรกประกอบด้วยไขมันและโปรตีนกว่า 150 ชนิด รวมทั้งสฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซด์
ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการการเรียนรู้ สติปัญญา และความจำ
ไขข้อข้องใจเรื่องเด็กเดินได้กี่เดือนกับ Enfa Smart Club
ลูก 1 ขวบ 5 เดือน ยังไม่เดินเลย
หากลูก 1 ขวบ 5 เดือน ยังไม่เดินเลย คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินพัฒนาการ
ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยทางร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง มีปัญหาด้านการพัฒนาระบบประสาท
และควรช่วยกระตุ้นให้เด็กได้ฝึกเดิน แฃะช่วยลูกฝึกเดินอย่างสม่ำเสมอ
ลูก 10 เดือน เดินได้แล้ว
หากลูกเริ่มเดินได้ตั้งแต่อายุ 10 เดือน ถือว่าเป็นพัฒนาการที่เร็วกว่าเกณฑ์ แต่ก็ไม่ใช่ความผิดปกติ การที่ลูก 10
เดือนเดินได้แล้ว หรือเด็กเดินได้เร็วกว่าปกติอาจมาจากการมีกล้ามเนื้อและมีพัฒนาการด้านการทรงตัวดีกว่าเด็กคนอื่น ๆ
รถหัดเดินใช้ตอนกี่เดือน
รถหัดเดินเป็นรถที่ใช้เพื่อช่วยฝึกการเดินให้เด็กเดินได้ง่ายขึ้น สามารถใช้ได้ตั้งแต่เด็กเริ่มทรงตัวยืน หรือเกาะเดิน
คือประมาณ 8-9 เดือน แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ควรใช้เป็นเวลานาน
ควรให้เด็กมีโอกาสได้ฝึกเดินด้วยตนเองมากกว่าพึ่งพาอุปกรณ์ ทั้งนี้
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยไม่แนะนำให้ใช้รถหัดเดินเนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ อาจเกิดการล้ม
พลัดตก ลื่นไถล และทำให้กล้ามเนื้อขาพัฒนาไม่เต็มที่
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย