Enfa สรุปให้
- อุจจาระของทารก 3 เดือนควรมีลักษณะนิ่ม สีเหลืองทอง
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารที่ทารกได้รับ
- ลูกถ่ายกะปริบกะปรอย 3 เดือน หรือถ่ายอุจจาระวันละหลายครั้ง
ขึ้นอยู่กับระบบย่อยอาหาร
- นอกจากการสังเกตว่าทารก 3 เดือนถ่ายวันละกี่ครั้งแล้ว
คุณแม่ควรสังเกตอาการอื่นร่วมด้วย

นอกจากการกินแล้วการขับถ่ายของทารกเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญและสังเกตอยู่เสมอ
เนื่องจากอุจจาระทารกสามารถบอกถึงสุขภาพของลูกน้อยได้ โดยเฉพาะในทารกวัย 3 เดือนขึ้นไป
ในช่วงนี้ ระบบย่อยอาหารเริ่มพัฒนาได้ดีขึ้น ทำให้อุจจาระมีลักษณะเฉพาะที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ง่าย
และสามารถบอกได้ว่าลูกน้อยกำลังมีสุขภาพที่ดีหรือไม่ ในบทความนี้ Enfa จะชวนคุณพ่อคุณแม่มาสังเกตอุจจาระลูกน้อยวัย 3
เดือนด้วยกันค่ะ
อุจจาระทารก 3 เดือน ควรมีลักษณะอย่างไร
ปกติแล้ว ทารกวัย 6 สัปดาห์ถึง 3 เดือนจะเริ่มขับถ่ายลดลงประมาณ 2-4 ครั้งต่อวัน และเมื่อทารกเข้าสู่วัย 3-4
เดือนขึ้นไปจะขับถ่ายเพียง 1-2 ครั้งต่อวัน อุจจาระของทารกในช่วง 3 เดือนนี้
ควรมีลักษณะเนื้อที่นุ่มและไม่แข็งจนเกินไปหรือเหลวเกินไป เพราะในช่วงนี้ระบบย่อยอาหารของทารกเริ่มพัฒนาเต็มที่
ทารกที่ได้รับสารอาหารผ่านนมแม่จึงเริ่มขับถ่ายมีกากใยเล็กน้อย และมีสีสันขึ้นกับอาหารที่คุณแม่รับประทานด้วย
รวมถึงทารกบางคนอาจถ่ายอุจจาระหลายครั้งต่อวัน หรือบางคนอาจเริ่มถ่ายเพียงวันละครั้ง
จำนวนครั้งในการถ่ายอุจจาระของลูกน้อย อาจไม่ใช่ตัวกำหนดสุขภาพทารกเสมอไป คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลักษณะของอุจจาระร่วมด้วย
เช่น หากมีเลือดปน ถ่ายเป็นน้ำ มีสีเหลืองซีด หรือสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ อาจเกิดความผิดปกติที่ลำไส้ ควรพาไปพบแพทย์
สีอุจจาระทารก 3 เดือน
สีของอุจจาระทารกในช่วง 3 เดือนจะมีสีแตกต่างกันไปตามอาหารที่ทารกได้รับผ่านนมแม่หรือนมผง โดยมีลักษณะต่างกัน ดังนี้
ทารกที่กินนมแม่
อุจจาระจะมีสีเหลืองทอง มีลักษณะค่อนข้างนิ่ม เนื้อนุ่ม เหลวเล็กน้อย และอาจดูเหมือนมีเม็ดเล็ก ๆ คล้ายเมล็ดงา
มีกลิ่นค่อนข้างอ่อน
ทารกที่กินนมผง
อุจจาระอาจมีสีออกสีเหลืองอ่อน สีน้ำตาลอ่อน หรือสีเขียวอมเหลือง ขึ้นอยู่กับชนิดของนมที่ทารกรับประทานด้วย
มีลักษณะค่อนข้างหนืดแต่นุ่ม ไม่เป็นก้อนแข็ง มีกลิ่นแรงเล็กน้อย
ทั้งนี้ ควรสังเกตสีอุจจาระที่มีความผิดปกติด้วย เช่น มีสีเขียวเข้ม มีสีแดงหรือมีเลือดปน สีดำ หรือมีสีขาวซีด
รวมถึงมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีอาการงอแง กินนมน้อยลง มีไข้ ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์
ทารก 3 เดือนถ่ายวันละกี่ครั้ง
ทารก 3 เดือนสามารถถ่ายอุจจาระได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่วันละหลายครั้ง เช่น 4-5 ครั้ง หรือถ่ายเพียงวันละ 1 ครั้ง
ขึ้นกับอาหารที่ทารกได้รับ โดยอาจไม่มีลักษณะหรือรูปแบบการถ่ายที่ตายตัว
แต่โดยปกติแล้วจำนวนครั้งที่ทารกวัย 3 เดือนถ่ายอุจจาระต่อวัน สามารถจำแนกตามลักษณะของนมที่ทารกได้รับคือนมแม่และนมผง
ซึ่งมักมีความแตกต่างกัน ดังนี้
ทารกที่กินนมแม่ อาจถ่ายวันละ 3-4 ครั้ง หรืออาจมากกว่านี้
ที่เป็นแบบนี้เพราะว่านมแม่ย่อยง่าย และระบบย่อยอาหารของทารกวัย 3 เดือนกำลังพัฒนายังไม่สมบูรณ์มากนัก
ทำให้ทารกถ่ายง่ายและอาจถ่ายหลายครั้งต่อวัน
ทารกที่กินนมผง อาจจะถ่ายน้อยครั้งกว่าคือ 1-2 ครั้งต่อวัน หรืออาจไม่ถ่ายเลยใน 1 วัน
แต่หากอุจจาระมีลักษณะนิ่ม มีสีปกติ และลูกไม่มีอาการงอแง กินนมได้ตามปกติ คุณแม่ไม่ต้องกังวล
เพียงสังเกตพฤติกรรมการขับถ่ายของลูกก็เพียงพอ
ลูกถ่ายกะปริบกะปรอย 3 เดือน
ทารกวัย 3 เดือนมักไม่มีรูปแบบการขับถ่ายตายตัว โดยอาจถ่ายอุจจาระวันละ 1 ครั้ง หรือมากถึงวันละ 4-5 ครั้ง
หรืออาจไม่ถ่ายเลยใน 1 วัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่หากลูกถ่ายกะปริบกะปรอย คือ ถ่ายทีละนิด ครั้งละน้อย
และถ่ายบ่อยหลายครั้ง อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงค่ะ
หากลูกน้อย 3 เดือน มีอาการถ่ายกะปริบกะปรอยอาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้
- ระบบลำไส้ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์
- นมแม่ย่อยง่ายและดูดซึมเร็ว ทำให้ลำไส้ทารกทำงานบ่อยขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติในเด็กที่กินนมแม่
- สำหรับเด็กที่กินนมผงอาจเกิดจากการเปลี่ยนชนิดนม ทำให้ลำไส้ทารกต้องปรับตัว
- ทารกอาจมีอาการลำไส้แปรปรวนเล็กน้อยซึ่งอาจเกิดจากการกลืนลมมากไปขณะดูดนม
หากลูกน้อยไม่มีอาการงอแง ไม่กินนม หรือกินน้อยลง ไม่มีไข้หรืออาการผิดปกติอื่น ๆ คุณแม่ไม่ต้องกังวล
แต่ให้สังเกตพฤติกรรมลูกอย่างใกล้ชิด
สำหรับการแก้ไขอาการลูก 3 เดือนถ่ายกะปริบกะปรอยในเบื้องต้น คือ
- คุณแม่สามารถสังเกตลักษณะอุจจาระเผื่อพบการเปลี่ยนแปลงของสีอุจจาระหรือกลิ่นผิดปกติ
- ตรวจดูขณะลูกกินนม ระวังอย่าให้กลืนนมมากไป โดยอาจปรับท่าให้นมให้เหมาะสม
- ในกรณีที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้และมีความจำเป็นต้องใช้โภชนาการอื่นทดแทน อาจมองหาโภชนาการที่ย่อยง่ายมี PHP
หรือโปรตีนที่ย่อยมาแล้วบางส่วน ทำให้ย่อยและดูดซึมง่าย ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
ลดอาการไม่สบายท้อง
นอกจากนี้ อีกสิ่งที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญมากขึ้น คือ การรักษาความสะอาดหลังขับถ่าย หากลูกน้อยถ่ายบ่อยอาจทำให้ก้นแดง
อักเสบ เป็นแผลได้ ควรทำความสะอาดอย่างเบามือและเช็ดให้แห้งเสมอ
อาจใช้ครีมออยเมนต์ทาเพิ่มความชุ่มชื้นและป้องกันผื่นผ้าอ้อม
เพราะเรื่องย่อยคือเรื่องใหญ่ เลือกโภชนาการที่ใช่ เพื่อให้ลูกสบายท้อง สมองดี
นมแม่มีประโยชน์ต่อลูกน้อยทั้งช่วยสร้างภูมิต้านทานให้ทารก มีสารอาหารสำคัญช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการที่ดี
และยังช่วยพัฒนาระบบย่อยอาหารและลำไส้ให้ทารกได้ด้วย
สำหรับทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน นมแม่เป็นสารอาหารสำคัญเพียงอย่างเดียวที่ลูกน้อยควรได้รับ
โภชนาการที่ดีของคุณแม่ที่ส่งต่อถึงลูกน้อยผ่านน้ำนมจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก
คุณแม่ควรเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ สะอาด และถูกสุขอนามัย และมีสารอาหารครบ 5 หมู่ มีความหลากหลาย
เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารบำรุงสมองและระบบย่อยอาหารได้อย่างเต็มที่
เพราะเรื่องย่อย คือเรื่องใหญ่ เลือกโภชนาการที่ใช่ เพื่อให้ลูกสบายท้อง สมองดี โดยกว่า 70% ของเด็กมีอาการไม่สบายท้อง
และอาการไม่สบายท้อง จะกระทบการเรียนรู้ของลูกน้อย เลือกโภชนาการย่อยง่าย มี PHP ให้ลูก เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ไม่มีอุปสรรคขัดขวาง
PHP คือโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน ทำให้ย่อยง่าย ให้ลูกสบายท้อง เพราะระบบการย่อยอาหารที่ดี
จะทำให้ลูกพร้อมเรียนรู้สิ่งต่างๆ จะทำให้เค้ามีพัฒนาการที่ก้าวล้ำกว่า ในวัยเข้าเรียนและในอนาคต
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย