Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
เปลนอนทารกเป็นหนึ่งในของใช้เด็กที่คุณแม่หลายคนเลือกใช้เป็นตัวช่วยการนอนของลูกน้อย แต่การให้เด็กทารกนอนเปลมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อีกทั้งยังมีข้อควรระวังมากมายที่คุณแม่ควรรู้ก่อนเลือกใช้เปลนอน เช่น ควรเลือกเปลนอนให้ทารกอย่างไร? ให้ลูกนอนเปลตอนกลางคืนได้ไหม? ทารกนอนเปลทำให้หัวแบนจริงไหม? ซึ่ง Enfa ได้รวมรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกใช้เปลนอนทารกมาฝากคุณแม่กันแล้ว
การให้ทารกนอนเปลช่วยให้ทารกหลับง่ายและหลับได้นานขึ้น ซึ่งการนอนหลับที่ดีจะส่งผลต่อพัฒนาการของทารก เนื่องจากทารกวัยแรกเกิดถึง 3 เดือนเด็กจะนอนวันละ 14-17 ชั่วโมง โดยจะนอนตอนกลางวันและตื่นตอนกลางคืนซึ่งเป็นเรื่องปกติในวัยนี้ การนอนเปลทำให้ลูกน้อยนอนหลับสนิทและนอนได้นานขึ้น ไม่สะดุ้งตื่นบ่อยๆ
โดยการไกวเปลเป็นจังหวะเบาๆ สม่ำเสมอยังช่วยเสริมพัฒนาการทารกด้านการทรงตัว ร่างกายหลั่งสารแห่งการเจริญเติบโตหรือ Growth Hormone และการแขวนโมบายให้ทารกไว้เหนือเปลหรือการที่คุณแม่คอยชวนลูกน้อยเล่นหรือพูดคุยบ่อย ๆ ยังช่วยให้ทารกอารมณ์ดี เรียนรู้เร็วฝึกการจดจำและช่างสังเกตได้ด้วย
การให้เด็กนอนเปลเหมาะกับเด็กทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน เพราะเป็นวัยที่ทารกใช้เวลานอนมาก ไม่ควรใช้เปลนอนทารกเกิน 5-6 เดือน เนื่องจากเมื่อเด็กทารกเริ่มโตขึ้นจะเริ่มตื่นมากกว่านอนหลับและเริ่มมีการขยับตัว ไขว่คว้าสิ่งของ อาจเกิดอันตรายได้
โดยข้อดีของการให้เด็กนอนเปลคือ เด็กมักจะนอนได้นาน ไม่สะดุ้งตื่นบ่อย การไกวเปลเบาๆ สม่ำเสมออาจช่วยให้เด็กนอนหลับได้นานขึ้น และการนอนได้ดีจะช่วยเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ให้เด็กได้ด้วย
นอกจากนี้ การให้เด็กนอนเปลควรเลือกใช้เพียงรอบการนอนที่ลูกหลับยาก หรือรอบที่เราอยากให้ลูกนอนได้ดี หลับได้นานขึ้น คือ การนอนรอบแรกของวัน ไม่ควรให้เด็กนอนเปลทั้งวัน และไม่ควรไกวเปลตลอดการนอน เพราะจะทำให้เด็กติดเปล
ข้อเสียของการนอนเปลคือคุณแม่ต้องคอยไกวเปลจนกว่าลูกจะหลับ และยังมีโอกาสทำให้เด็กติดเปลได้ง่าย ทำให้นอนได้ยากขึ้นหากไม่มีเปล เมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องเปลี่ยนที่นอนหรือเดินทางไปเที่ยว ลูกจะนอนไม่หลับหรือหลับได้ยากขึ้น
การนอนเปลยังทำให้ทารกเสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อน เมื่อทารกกินนมอิ่มแล้วคุณแม่ไม่ควรรีบให้ลูกนอนทันที ควรจับเรอให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันการแหวะนมหรือสำลักนมตอนนอน เพราะจะทำให้ลูกมีอาการไอ หายใจครืดคราด นอนหลับได้ไม่ดี และหากน้ำนมไหลย้อนเข้าไปที่ปอดอาจเกิดอาการปอดติดเชื้อ ปอดบวม
นอกจากนี้ การให้ลูกนอนเปลยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคไหลตายในทารก หรือ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) โดยมักพบการเสียชีวิตขณะนอนหลับในทารกช่วงอายุ 1 ปีแรก เกิดขึ้นได้แม้ในทารกที่มีสุขภาพแข็งแรงดี พบบ่อยที่อายุ 2-4 เดือน ซึ่งมีสาเหตุมาจากสิ่งกีดขวางการหายใจของทารกขณะนอนหลับ เช่น การจัดท่าให้ทารกนอนคว่ำ หรือนอนตะแคง การที่มีผ้าห่มหรือวัตถุนิ่ม ๆ ปิดหน้าทารกขณะนอนหลับ เป็นต้น
เนื่องจากทารกยังไม่สามารถเคลื่อนไหวศีรษะได้ดี ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของภาวะนี้ คือ ทารกเกิดก่อนกำหนด ควันบุหรี่ และอุณหภูมิห้องนอนที่ร้อน หรือเปลนอนที่อากาศไม่ถ่ายเท
ปัจจุบันมีเปลทารกหลายแบบให้คุณแม่เลือกใช้ สิ่งสำคัญในการเลือกเปลนอนทารกคือควรเลือกเปลที่มีความแข็งแรง ได้มาตรฐาน และเหมาะกับการใช้งาน โดยเปลทารกแต่ละแบบนั้นมีความแตกต่างกัน ดังนี้
เปลนอนทารกแบบ Crib เป็นเตียงนอนทารกขนาดใหญ่ที่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และควรมีมาตรฐานความปลอดภัยตามข้อกำหนดของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม มาตรฐานความปลอดภัยของเตียงเด็กเล็ก ซึ่งต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้
สิ่งสำคัญนอกเหนือจากเตียงที่ได้มาตรฐานคือ หากวางร่วมกับเฟอร์นิเจอร์อื่นในห้อง ควรมีช่องว่างไม่เกิน 6-23 เซนติเมตร เพื่อป้องกันเด็กตกลงไปติดในช่องดังกล่าว
เปลโยกทารกหรือเปลไกวทารกแบบ Cradle เป็นเปลขนาดเล็ก เหมาะกับเด็กทารกแรกเกิดแต่ไม่ควรเกิน 1 ปีหรือเด็กที่เริ่มตั้งไข่เกาะยืน มีขนาดเล็ก กะทัดรัด เคลื่อนย้ายได้ง่าย ปัจจุบันมีแบบไฟฟ้าช่วยลดภาระคุณแม่ไม่ต้องไกวเปล แต่ไม่ควรไกวเปลตลอดการนอนของลูก เมื่อลูกหลับควรปล่อยให้นอนนิ่งๆ หรืออุ้มขึ้นไปนอนที่นอนหรือเตียงแบบราบ เพื่อป้องกันลูกติดเปล
เปลนอนเด็กอ่อนหรือเปลนอนทารกชนิดเข็นได้แบบ Bassinets นี้เหมาะกับเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน มีขนาดเล็ก ช่วยให้คุณแม่ดูแลลูกขณะนอนหรือให้นมได้สะดวก โดยสามารถวางเทียบกับเตียงที่คุณแม่นอนได้ เข็นโยกเบา ๆ ช่วยให้เด็กนอนหลับง่ายขึ้นได้
เปลหวายทารกหรือตะกร้านอนทารกชนิดนี้เหมาะกับเด็กทารกแรกเกิดถึง 4 เดือน หรือทารกที่เริ่มพลิกตัวเองได้ เหมาะกับการใช้งานในบ้าน เปลหวายทารกแบบ Moses Basket สามารถหิ้วทารกไปไว้ในรถเข็นเด็กหรือคาร์ทซีท มีหูจับหิ้วสะดวก ข้อควรระวังคือ อาจหลุดมือขณะหิ้วตะกร้า ควรตรวจเช็กหูตะกร้า และใช้มือรองใต้ตะกร้าตอนหิ้วทุกครั้ง
เปลนอนที่ไม่เหมาะกับทารกคือเปลนอนทารกชนิด Cloth Swing หรือเปลญวนทารก หรือเปลอู่ และเปลผ้าทุกชนิด เนื่องจากโครงสร้างเปลไม่ค่อยแข็งแรง อาจพลิกคว่ำได้ง่าย วัสดุที่เป็นผ้าหรือตาขายไนลอนอาจทำให้เด็กไม่สบายตัว
ทั้งนี้ สมาคมกุมารแพทย์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics - AAP) ได้ให้คำแนะนำเรื่องการนอนของทารกอย่างปลอดภัยในการป้องกันโรค SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรือการเสียชีวิตขณะนอนหลับแล้ว ดังนี้
การใช้เปลนอนทารกควรใช้เพียงตอนกลางวันเท่านั้นเพราะคุณแม่สามารถดูแลอย่างใกล้ชิดได้ โดยแนะนำให้ใช้ในการนอนรอบแรกของวันเพราะทารกจะใช้เวลาในการนอนนานที่สุด ไม่ควรไกวเปลตลอดการนอน เมื่อลูกหลับแล้วควรปล่อยให้นอนในเปลนิ่ง ๆ หรืออุ้มทารกขึ้นไปนอนบนเตียงสำหรับเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กติดเปลไม่ควรให้ทารกนอนเปลตอนกลางคืน คุณแม่ควรฝึกให้ทารกนอนเองได้โดยไม่ต้องไกวเปล
การนอนเปลผ้าขาวม้ามีข้อดีคือทำให้ทารกอยู่ในท่านอนหงายเท่านั้น จึงลดความเสี่ยงโรค SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรือการเสียชีวิตขณะนอนหลับ ทำให้เด็กนอนหลับได้นาน แต่ไม่ควรใช้หมอนหรือผ้าพันรัดตัวเด็ก และควรใช้จนถึงอายุเด็ก 4-5 เดือนเท่านั้น เพราะเมื่อเด็กเริ่มพลิกตัวจะเสี่ยงต่อการพลิกคว่ำได้ ควรเปลี่ยนไปใช้เปลแบบเตียงหรือแบบคอก
ทารกแรกเกิดกะโหลกศีรษะอ่อนและกะโหลกศีรษะยังเชื่อมติดกันไม่สนิท ทำให้มีการยุบตัวหดตัวได้ง่าย การนอนหงายเป็นเวลานานจึงทำให้ทารกนอนเปลหัวแบนได้ โดยเฉพาะการนอนเปลผ้าขาวม้าหรือการผูกอู่
ทารกควรนอนในท่านอนหงาย คุณแม่อาจคอยพลิกหน้าทารกให้ตะแคงข้างเป็นเวลา 10-15 นาทีแล้วสลับข้าง ไม่จับลูกนอนคว่ำ เพราะทารกยังไม่แข็งแรงพอจะพลิกศีรษะเองได้ อาจฟุบหน้าไปกับที่นอนหรือหมอนทำให้อุดกั้นทางเดินหายใจและเสียชีวิต หรืออาจใช้หมอนหัวทุยช่วยเสริมได้
การเลือกใช้เปลเด็กหรือเตียงเด็กนั้นคุณแม่สามารถเลือกใช้ตามวัตถุประสงค์การใช้งานได้เลยโดยคำนึงถึงข้อดี-ข้อเสียตามที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยระมัดระวังการใช้งานไม่ให้เด็กติดเปล ส่วนการเสริมพัฒนาการลูกน้อยสามารถเลือกใช้โมบาย สื่อการเรียนรู้ หรือของเล่นเสริมพัฒนาร่วมด้วยได้ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่คือส่วนสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการทางด้านอารมณ์ ร่างกาย และสติปัญญาให้แก่ลูก เพราะของเล่นที่ดีที่สุดของลูกคือพ่อแม่
การที่ลูกน้อยจะเจริญเติบโตสมวัยพร้อมด้วยพัฒนาการด้าน IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก โภชนาการสำหรับลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก โดยโภชนาการที่ลูกน้อยควรได้รับคือนมแม่ ซึ่งมี MFGM สุดยอดสารอาหารในนมแม่ สารอาหารสมองชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรกประกอบด้วยไขมันและโปรตีนกว่า 150 ชนิด รวมทั้งสฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซด์
เปลนอนทารกไฟฟ้าช่วยลดภาระคุณแม่ในการไกวเปลได้ ทั้งยังมีระดับการไกวเปลที่สม่ำเสมอ ช่วยให้ทารกนอนหลับสบาย โดยควรเลือกใช้เปลนอนทารกไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน มีการรับรองความปลอดภัย และใช้เฉพาะตอนที่พาลูกเข้านอนเท่านั้น
การใช้เปลนอนทารกควรให้ลูกนอนแค่ตอนกลางวันเท่านั้น และควรใช้เพียงวันละหนึ่งรอบการนอน เพื่อฝึกให้ลูกนอนได้เอง ไม่ติดเปล
เปลโยกทารกทำให้ลูกน้อยนอนหลับสนิทได้นานขึ้น ร่างกายหลัง Growth Hormone ได้ดีขึ้น ช่วยให้ลูกน้อยอารมณ์ดี เพราะได้นอนอย่างเต็มที่
เปลผ้าขาวม้าไม่ควรใช้ในเด็กอายุเกิน 4-5 เดือน เพราะเด็กเริ่มพลิกตัว ทำให้เสี่ยงตกเปลได้
คุณแม่สามารถให้ลูกนอนเปลได้ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน
ควรแกว่งเปลทารกเบาๆ ให้แรงสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านการทรงตัว และทำให้ลูกน้อยนอนหลับสนิทได้นาน
ไม่แกว่งแรงเกินไป หรือแกว่งแบบดึงกระชาก หรือเขย่าเปลแรงๆ
Enfa สรุปให้ ไขบนหัวทารก คือ ไขเคลือบตัวทารกแรกเกิด มีลักษณะเป็นเกล็ดหรือสะเก็ดไขมัน ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ หัวนมเป็นแผล ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่มือใหม่หลายคน สาเห...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ การให้ลูกนอนเปลช่วยเสริมพัฒนาการได้ ทั้งด้านการทรงตัว ด้านอารมณ์ แล...
อ่านต่อ