Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ลูกไม่สบาย น้ำมูกไหล เดี๋ยวซื้ด เดี๋ยวซื้ด แบบนี้ต้องกินยาอะไร แล้วยาลดน้ำมูกเด็กแบบไหนที่ปลอดภัยกับลูกบ้างนะ มาหาคำตอบเรื่องนี้ไปพร้อม ๆ กันกับ Enfa ได้เลยค่ะ
ยาลดน้ำมูกเด็ก คือ ยาที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการคัดจมูก ลดอาการคั่งจมูก ทำให้จมูกโล่ง หายใจสะดวก และลดน้ำมูกสำหรับเด็ก ซึ่งจะเป็นตัวยาที่ได้รับการศึกษาและวิจัยแล้วว่ามีความปลอดภัยสำหรับเด็ก และบรรเทาอาการคัดจมูก ลดน้ำมูกในเด็กได้ดี
ยาลดน้ำมูกของเด็กและผู้ใหญ่นั้น อาจแตกต่างกันทั้งตัวยา ขนาดยา และปริมาณในการใช้ยา เพราะโดยมากแล้ว ยาลดน้ำมูกมักจะเป็นกลุ่มยาสำหรับรักษาอาการแพ้ หรือยาแก้แพ้
ทำให้การใช้งานของยาลดน้ำมูกในเด็กและผู้ใหญ่นั้น ไม่สามารถที่จะใช้ยาร่วมกันในปริมาณเท่ากันได้เสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กทารกและเด็กเล็ก จำเป็นจะต้องใช้ยาที่มีตัวยาซึ่งได้รับมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับเด็กแล้วเท่านั้น
หากแพทย์วินิจฉัยอาการของลูกแล้วสั่งจ่ายยาลดน้ำมูกเด็กมาให้ด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลให้ลูกกินยาตามที่แพทย์สั่งจนหมด แต่ถ้าแพทย์วินิจฉัยแล้วไม่ได้สั่งจ่ายยาลดน้ำมูกมาด้วย ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ค่ะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กทารกกับเด็กเล็ก ยิ่งไม่ควรกินยาเองสุ่มสี่สุ่มห้าโดยไม่ปรึกษาแพทย์ หรือแพทย์ไม่อนุญาต เพราะตัวยาบางอย่างอาจไม่ปลอดภัยกับเด็ก หรือมีผลข้างเคียงที่ก่อให้เกิดอันตรายได้
ดังนั้น ก่อนจะให้ลูกกินยาอะไรก็ตาม ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอาการ และสอบถามเรื่องการใช้ยา เพื่อความปลอดภัยของลูกค่ะ
ยาลดน้ำมูกเด็ก สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ยาแก้แพ้ และ ยาลดอาการบวมในจมูก
เด็กที่อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป สามารถใช้ยาลดน้ำมูกได้ เพราะมีผลข้างเคียงน้อยกว่าในเด็กทารก หากใช้อย่างถูกต้องภายใต้การดูแลของแพทย์
สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี แพทย์มักจะไม่แนะนำให้กินยาโดยไม่จำเป็น หากอาการไม่ได้อยู่ในขั้นวิกฤติจนถึงขั้นหายใจไม่ออก หรือแน่นจมูกจนกระทั่งหูอื้อ แพทย์ก็จะไม่สั่งจ่ายยาให้ เพราะตัวยาอาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อทารกได้
หากลูกมีอาการน้ำมูกไหล สามารถดูแลได้ ดังนี้
สำหรับเด็กที่เป็นไข้หวัด และมีน้ำมูกไหล สามารถใช้ยาในกลุ่มต้านฮีสตามีน (antihistamines) เช่น ยาคลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine หรือ CPM) หรือ ยาบรอมเฟนิรามีน (brompheniramine)
หรือยาในกลุ่มที่ช่วยลดอาการคัดจมูก (decongestants) ยาซูโดเอฟีดรีน (Pseudoephedrine) ยาฟีนิลเอฟรีน (Phenylephrine) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และคำแนะนำในการซื้อยาที่เหมาะสมกับอาการของลูกก่อนเสมอ การซื้อยาให้ลูกกินเอง อาจส่งผลข้างเคียงกับเด็กได้ค่ะ
ลูกมีน้ำมูกไหลไม่หยุด คุณพ่อคุณแม่ควรซื้อยาลดน้ำมูกเด็กยี่ห้อไหนดี
วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยว่าอาการเป็นอย่างไร จำเป็นต้องกินยาหรือไม่ และต้องใช้ยาชนิดใดจึงจะเหมาะสมและปลอดภัย
ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเป็นตัวยาจำพวก ยาแก้แพ้อย่าง ยาคลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine หรือ CPM) หรือ ยาบรอมเฟนิรามีน (brompheniramine) หรือยาในกลุ่มที่ช่วยลดอาการคัดจมูก (decongestants) เช่น ยาซูโดเอฟีดรีน (Pseudoephedrine) ยาฟีนิลเอฟรีน (Phenylephrine) เป็นต้น
ยาลดน้ำมูก ควรจะต้องใช้งานตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และปลอดภัยกับลูกโดยไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง
แพทย์มักไม่แนะนำให้เด็กทารกและเด็กเล็กกินยาโดยไม่จำเป็น หากอาการไม่ได้อยู่ในขั้นรุนแรง
ส่วนยาที่สามารถใช้เพื่อลดน้ำมูกในเด็กเล็ก มักจะเป็นยาที่ใช้สำหรับพ่น หรือน้ำเกลือสำหรับใช้ล้างจมูก เพราะปลอดภัยและไม่ส่งผลข้างเคียงที่เสี่ยงอันตรายต่อเด็ก
สำหรับเด็กที่อายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป อาจสามารถใช้ยาลดน้ำมูกในกลุ่มของยาแก้แพ้และยาลดอาการบวมในจมูกได้
แต่...ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนว่าอาการของลูกควรจะใช้ยาในกลุ่มใด เพื่อลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงจากยาค่ะ
เด็กโตสามารถใช้ยาในกลุ่มของยาแก้แพ้อย่าง ยาคลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine หรือ CPM) หรือ ยาบรอมเฟนิรามีน (brompheniramine) หรือยาในกลุ่มที่ช่วยลดอาการคัดจมูก (decongestants) ยาซูโดเอฟีดรีน (Pseudoephedrine) ยาฟีนิลเอฟรีน (Phenylephrine) เป็นต้น
การลดน้ำมูกโดยไม่ใช้ยา สามารถทำได้ง่ายมาก ๆ ดังนี้
อาการภูมิแพ้ สามารถพบได้ตั้งแต่ในเด็ก โดยเฉพาะเด็กไทยพบความชุกของการเกิดภูมิแพ้สูงถึง 30% กันเลยทีเดียว และยิ่งหากคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ หรือพี่น้อง มีประวัติการเป็นภูมิแพ้มาก่อน ลูกก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้สูงถึง 70% - 80%
อย่างไรก็ตาม อาการภูมิแพ้ในเด็ก สามารถที่จะรักษาได้ หากคุณพ่อคุณแม่พาลูกไปตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ตั้งแต่ยังเล็ก และพบว่าลูกมีอาการแพ้ นอกจากจะสามารถป้องกันไม่ให้ลูกเกิดอาการภูมิแพ้ได้แล้ว ยังสามารถที่จะนำลูกเข้าสู่กระบวนการรักษาภูมิแพ้ที่เหมาะสมได้เลยทันที
การรักษาภูมิแพ้ หากเริ่มตั้งแต่ลูกอายุยังน้อย จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ลูกโซ่ในอนาคตได้ และเมื่อโตขึ้นเด็กมีโอกาสที่จะหายจากภูมิแพ้ได้ด้วย
ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่รู้ทัน รู้เร็ว อาการภูมิแพ้ในเด็กก็สามารถที่จะรับมือ ป้องกัน และรักษาได้ค่ะ
เด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี แพทย์มักไม่แนะนำให้กินยาลดน้ำมูกโดยไม่จำเป็น เพราะตัวยาอาจส่งผลข้างเคียงต่อเด็ก ทำให้เกิดอันตรายได้
ยกเว้นในกรณีที่เด็กมีอาการรุนแรงจนหายใจไม่ออก แพทย์อาจสั่งจ่ายยาลดน้ำมูกที่ปลอดภัยกับเด็กได้
เด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี แพทย์มักไม่แนะนำให้กินยาลดน้ำมูกโดยไม่จำเป็น เพราะตัวยาอาจส่งผลข้างเคียงต่อเด็ก ทำให้เกิดอันตรายได้
ยกเว้นในกรณีที่เด็กมีอาการรุนแรงจนหายใจไม่ออก แพทย์อาจสั่งจ่ายยาลดน้ำมูกที่ปลอดภัยกับเด็กได้
สำหรับเด็กที่แพทย์วินิจฉัยให้กินยาลดน้ำมูก ควรจะต้องกินยาตามที่แพทย์สั่ง ยาบางตัวอาจสามารถหยุดกินได้ทันทีที่อาการดีขึ้น แต่ยาบางชนิดอาจต้องกินติดต่อกันจนหมด เพื่อป้องกันอาการดื้อยา
ขึ้นอยู่กับว่าตัวยาสำหรับใช้ลดน้ำมูกนั้นเป็นตัวยาชนิดใด เพราะตัวยาแต่ละชนิดจะมีข้อบ่งชี้การใช้งานที่แตกต่างกันไป
แต่...โดยทั่วไปแล้วยาลดน้ำมูกสำหรับเด็กอายุ 2-6 ปี มักจะต้องกินครั้งละ 1 มิลลิกรัม (ครึ่งช้อนชา หรือ 2.5 มิลลิมิตร) ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 6 มิลลิกรัม (3 ช้อน ชา หรือ 15 มิลลิลิตร) ต่อวันค่ะ
ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งก่อนการใช้ยา และควรให้ลูกกินยาในปริมาณตามที่แพทย์ เภสัชกรแนะนำ หรือตามที่ฉลากยาระบุไว้เท่านั้น ไม่ควรลดหรือเพิ่มปริมาณยาเอง
สำหรับเด็กที่อายุตั้งแต่ 6 ขวบขึ้นไป ส่วนมากสามารถจะกินยาเม็ดได้แล้วค่ะ เว้นแต่ว่าเด็กกินยายาก กินยาแล้วอาเจียน แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาน้ำแทนยาเม็ด
การกินยา ต้องขึ้นอยู่กับว่าเป็นตัวยาชนิดใดด้วย หากเป็นยาในกลุ่มยาแก้แพ้ อาจไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องของการกินก่อนหรือหลังอาหาร สามารถกินตอนที่มีอาการได้เลย หรือยาบางชนิดอาจต้องกินพร้อมกับอาหาร
ดังนั้น ควรปฏิบัติตามฉลากยาที่ระบุไว้หรือตามที่แพทย์และเภสัชกรแนะนำไว้จะดีที่สุดนะคะ
Enfa สรุปให้ เด็กตาบวม เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยทั้งสาเหตุจากอุบัติเหตุ การพลัดตกหกล้ม การถูกกระแ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกเป็นหวัด 2 อาทิตย์ยังไม่หาย อาจเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของลูกยังไม่แข็งแรง การพั...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เด็กแพ้ฝุ่น อาจเกิดได้จากฝุ่นละอองหนาที่สะสมภายในบ้าน หรือฝุ่นละอองจากสภาพแวดล้อมภา...
อ่านต่อ