Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ผิวของทารกนั้นบอบบาง จึงเกิดการระคายเคือง การอักเสบ หรือมีอาการแพ้ได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่จึงมักพบว่าลูกน้อยเป็นผื่นเด็กทารกอยู่บ่อย ๆ แต่ผื่นทารกเกิดจากอะไร ผื่นทารกมีกี่แบบ แล้วคุณพ่อคุณแม่จะดูแลผิวของลูกให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงของปัญหาผื่นในทารกได้อย่างไรบ้าง บทความนี้จาก Enfa มีคำตอบค่ะ
ผื่นเด็กทารก มีหลายชนิด โดยผื่นทารกที่พบได้โดยทั่วไป มีดังนี้
ทารกก็เป็นสิวได้เหมือนกันนะ ในช่วงเดือนแรกของชีวิต ทารกอาจมีสิวบริเวณแก้ม จมูก และหน้าผาก แต่สิวทารกนี้ไม่จำเป็นต้องแคะ แกะ บีบ หรือทายาอะไรค่ะ แม้ในระยะแรก ๆ อาการอาจจะดูค่อนข้างรุนแรง แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายกับลูกน้อย และสิวทารกสามารถที่จะหายไปได้เองภายใน 3 สัปดาห์ หรือ 3 เดือนหลังคลอดโดยไม่ต้องรับการรักษาเฉพาะทางแต่อย่างใด
ไขบนหัวทารก จะมีลักษณะเป็นเกล็ดปื้น ๆ สีเหลืองบนศีรษะหรือบริเวณหน้าผากของทารก ในทารกบางคนอาจลามมาถึงบริเวณใบหน้า ใบหู และลำคอด้วย
ไขบนหัวทารก ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาเฉพาะทางค่ะ เพราะนอกจากจะไม่ส่งผลเสียต่อทารกแล้ว ไขนี้ก็จะค่อย ๆ หลุดออกไปเองในช่วง 2-3 สัปดาห์ หรือ 2-3 เดือนแรกหลังคลอด
ผื่นผ้าอ้อม (Diaper Rash)
ผื่นผ้าอ้อมเด็ก มักพบบริเวณง่ามขา ก้น และอวัยวะเพศของทารก เกิดจากความอับชื้น หรือเกิดจากการเสียดสีของผ้าอ้อมกับผิวหนัง ทำให้เกิดเป็นผื่นแดงระคายเคือง
ผื่นผ้าอ้อมทารก สามารถรักษาได้ด้วยการหมั่นทำความสะอาดผิวของทารก ทาโลชันเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น คอยดูแลให้ผิวของลูกแห้งเสมอ เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอับชื้นและหมักหมมสิ่งสกปรกหรือแบคทีเรีย
ผื่นน้ำลาย (Drool Rash)
เมื่อทารกอายุย่าง 3-4 เดือน ต่อมน้ำลายจะทำงานมากขึ้น ทำให้ทารกมีน้ำลายไหลเยิ้มออกมามากขึ้นตามไปด้วย และก่อให้เกิดการอับชื้นที่บริเวณปากและลำคอ หากไม่เช็ดให้แห้ง และทำความสะอาด ก็จะทำให้เกิดการหมักหมมจนเกิดอาการผื่นแดงระคายเคือง หรือมีผิวลอกเป็นขุยที่บริเวณปาก คาง และลำคอได้
คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลไม่ให้ลูกน้ำลายไหลเยิ้มตลอดเวลา หมั่นซับและเช็ดทำความสะอาดอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้ผิวของลูกเปียกชื้นน้ำลายเป็นเวลานาน ๆ และหมั่นทาโลชันหรือออยล์บำรุงผิว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น และบำรุงให้ผิวทารกแข็งแรง
ผื่นแพ้ในทารก (Eczema)
ผื่นแพ้ในทารก ถือว่าเป็นโรคผิวหนังชนิดเรื้อรังค่ะ ลูกน้อยจะมีอาการคัน ผิวแห้ง ลอก แดง ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว โดยอาจพบตามข้อพับต่าง ๆ แขน ขา ลำคอ ใบหน้า ศีรษะ หรือส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
หากลูกมีผื่นแพ้ทารก ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป หมั่นทาโลชันและมอยส์เจอไรเซอร์เพื่อเสริมความชุ่มชื้นให้ผิว และทาครีมยาเพื่อรักษาอาการผื่นแพ้ในทารก
ผื่นจากโรคมือเท้าปาก (Hand, Foot, and Mouth Disease)
โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส และระบาดได้ง่ายในเด็กเล็กที่ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง โดยอาการสำคัญที่จะปรากฎให้เห็นก็คือ
เจ็บคอ
มีไข้สูง
เบื่ออาหาร
มีผื่นแดงขึ้นบริเวณมือ เทา ปาก คาง
เป็นแผลในปาก
โรคมือเท้าปากสามารถรักษาได้ตามอาการ และหายได้เองภายใน 7-10 วัน สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาความสะอาด ไม่พาลูกไปในแหล่งชุมชนแออัดที่มีการระบาด ไม่ให้คนอื่นหอมหรือจูบลูก ไม่สัมผัสลูกหากยังไม่ล้างมือ และที่สำคัญคือควรพาลูกไปรับวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปากตั้งแต่อายุ 6 เดือนถึง 5 ปี เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ไม่ให้อาการรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน
ผดร้อนทารก (Heat Rash)
ผื่นผดร้อนทารก เกิดจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด และต่อมเหงื่อของลูกมีการอุดตัน ทำให้ไม่สามารถระบายเหงื่อออกทางผิวหนังได้เท่าที่ควร ทำให้เกิดการระคายเคือง และกลายเป็นผดผื่นแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามใบหน้า ลำคอ หน้าอก หรือทั่วทั้งร่างกาย
ผื่นผดร้อนสามารถหายได้เอง โดยดูแลควบคู่ไปกับการทำความสะอาดเพื่อไม่เกิดการหมักหมมของเหงื่อไคล สวมเสื้อผ้าสบาย ๆ ไม่หนาเกินไป เพื่อให้ระบายอากาศได้ดี ไม่ปล่อยให้ลูกอยู่ในอุณหภูมิร้อนจัด ก็จะช่วยป้องกันผดร้อนทารกได้
ผื่นลมพิษในทารก (Hives)
ผื่นลมพิษ มักมีสาเหตุมาจากอาการภูมิแพ้ในทารก เช่น แพ้นมวัว แพ้ไข่ แพ้ถั่ว แพ้ฝุ่น แพ้ละอองเกสรดอกไม้ แพ้เหงื่อ ทำให้มีผื่นลมพิษปรากฎขึ้นตามร่างกาย
หากลูกมีผื่นลมพิษบ่อย ๆ ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสารก่อภูมิแพ้ และรับการรักษาเฉพาะทางที่เหมาะสม โดยคุณพ่อคุณแม่ก็จะได้หาวิธีป้องกันไท่ให้ลูกได้รับสารก่อภูมิแพ้นั้นเข้าสู่ร่างกายอีก
ผื่นจากโรคติดเชื้อ เช่น โรคอีสุกอีใส โรคหัด
บ่อยครั้งที่เด็ก ๆ มีผื่นขึ้นตามร่างกายอันเนื่องมาจากเกิดการติดเชื้อต่าง ๆ ผื่นเหล่านี้มักจะพ่วงมาด้วยอาการร่วมอื่น ๆ เช่น อ่อนเพลีย มีไข้ เจ็บคอ มีอาการไอ และอาจจะต้องมีการกินยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมอาการและรักษาอาการติดเชื้อเหล่านั้นด้วย มากไปกว่านั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปรับวัคซีนเด็กตามที่กำหนด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อย และป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ
ผดผื่นทารก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น:
ผื่นในเด็กทารกนั้น ส่วนมากแล้วมักไม่อันตราย และสามารถที่จะหายเองได้โดยไม่ต้องรับการรักษาเฉพาะทาง เช่น สิวทารก ผื่นน้ำลาย ไขบนหัวทารก เป็นต้น
หรือการรักษาตามอาการ ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นตามลำดับได้ เช่น โรคมือเท้าปาก อีสุกอีใส โรคหัด ผื่นส่าไข้ เป็นต้น
ส่วนผื่นที่เกิดจากโรคติดต่อ การติดเชื้อ หรือเกิดจากภูมิแพ้ในเด็ก กรณีเช่นนี้ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม และรับการรักษาที่เหมาะสม โดยอาจจะต้องมีการกินยาปฏิชีวนะ ใช้ครีมยาทาเพื่อรักษาผื่นตามผิวหนัง
ดังนั้น หากลูกมีผื่นขึ้นตามร่างกาย ควรสังเกตให้ดีว่าผื่นนั้นเป็นผื่นแบบไหน หรือถ้าไม่แน่ใจให้พาลูกไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมในกรณีที่ผื่นทารกเกิดจากสาเหตุที่รุนแรง
แต่ถ้าเกิดจากอาการสุขภาพโดยทั่วไป หรือเป็นผื่นทารกตามปกติ ก็ไม่จำเป็นจะต้องรับการรักษาเฉพาะทาง และไม่ต้องเพิ่มความเสี่ยงจากการรักษาลูกเองแบบผิด ๆ หรือตามที่ฟังเขามา เพราะนอกจากจะไม่ได้ทำให้ลูกหายเร็วขึ้นแล้ว อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกได้ค่ะ
หากลูกมีผื่นขึ้นตามร่างกาย คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกได้ ดังนี้
ผื่นทารกแรกเกิด หากเป็นผื่นโดยทั่วไปของทารกแรกเกิด เช่น ไขบนหัวทารก สิวทารก หรือผื่นผิวแห้งหลังคลอด สิ่งนี้เป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ และสามารถหายเองได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลค่ะ
อย่างไรก็ตาม วิธีแก้ผดผื่นบนใบหน้าทารก ควรหมั่นบำรุงผิวของลูกให้สุขภาพดี ถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกเกิดผื่นผิวหนัง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันปัญหาผิวหนังของลูกน้อยได้ ดังนี้
หากลูกมีผื่นขึ้นบ่อย ๆ เอะอะก็เป็นผื่นลมพิษอีกแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรหาเวลาพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ในเด็ก เพราะการที่ลูกมีผื่นแพ้ทารกบ่อย ๆ อาจเป็นไปได้ว่าลูกกำลังมีอาการแพ้นมวัว
อาการแพ้นมวัว เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของลูกยังไม่แข็งแรง เซลล์ภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นให้ไวต่อปฏิกิริยาการแพ้
มากไปกว่านั้น ทารกมีผนังลำไส้ที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก “จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารไม่สมดุล” สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ รวมถึงโปรตีนนมวัวหลุดเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้
ซึ่งแม้ว่าทารกจะยังไม่อยู่ในวัยที่กินนมวัวได้ แต่อาการแพ้นมวัวก็สามารถเกิดขึ้นได้หากคุณแม่กินอาหารที่มีส่วนผสมของนมวัว
หากลูกมีอาการแพ้นมวัวจริง คุณแม่สามารถรับมือได้ ดังนี้
อาการแพ้นมวัวในเด็ก หากตรวจพบตั้งแต่อายุยังน้อย มีการป้องกันและรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เด็กมีโอกาสที่จะหายจากอาการแพ้นมวัว และกลับมาบริโภคนมวัว หรือผลิตภัณฑ์จากนมวัวได้ค่ะ
Enfa สรุปให้ เด็กตาบวม เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยทั้งสาเหตุจากอุบัติเหตุ การพลัดตกหกล้ม การถูกกระแ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกเป็นหวัด 2 อาทิตย์ยังไม่หาย อาจเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของลูกยังไม่แข็งแรง การพั...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เด็กแพ้ฝุ่น อาจเกิดได้จากฝุ่นละอองหนาที่สะสมภายในบ้าน หรือฝุ่นละอองจากสภาพแวดล้อมภา...
อ่านต่อ