คุณแม่เจอปัญหาเหล่านี้กันไหมเอ่ย ฝึกเจ้าตัวน้อยวัย 7 เดือนให้กินอาหารเสริมตามวัย แต่ทำไมลูกกินยากกินเย็น บางทีลูกไม่ยอมกินข้าว แถมคายออกมากอีก จะรับมือกับปัญหาเวลาฝึกลูกกินอาหารตามวัยเด็กทารกอย่างไรดี
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ก่อนจะพาคุณแม่ไปหาทางแก้ไขปัญหา เราขอพาคุณแม่มารู้จักกับอาหารตามวัยเด็กทารก (Solid Foods) กันสักหน่อย โดยอาหารตามวัยเด็กทารก (Solid Foods) หรืออาจจะรู้จักกันในชื่อ อาหารเสริมเพิ่มเติม อาหารตามวัยเด็กทารก หรืออาหารแข็ง คืออาหารอื่นที่ทารกได้รับเป็นมื้อ นอกเหนือจากนมแม่ หรือนมผสม เพื่อให้เด็กทารกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และเพียงพอต่อการเจริญเติบโต อีกทั้งยังช่วยให้เด็กทารกสามารถปรับตัวจากการกินอาหารเหลว เป็นอาหารแข็ง ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามพัฒนาการการกินในแต่ละวัย
ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการให้ลูกน้อยเริ่มฝึกกินอาหารตามวัยเด็กทารก ได้แก่
• อายุ 6 เดือนขึ้นไป
• สามารถชันคอ และนั่งบนเก้าอี้รับประทานอาหารสำหรับเด็กได้
• แสดงพฤติกรรมพร้อมที่จะรับประทานอาหาร เช่น อ้าปากเมื่อมีอาหารยื่นเข้ามา
• สามารถเริ่มกลืนอาหารที่ป้อนจากช้อนได้เอง หรือสามารถหยิบจับอาหารเข้าปากได้ด้วยตัวเอง
ในช่วงอายุ 6 เดือนเป็นต้นไป เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับให้ลูกน้อยได้รู้จักกับอาหารชนิดอื่น นอกจากเพื่อจะเสริมสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตแล้ว ช่วงเวลานี้ ยังเป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยสามารถปรับตัวที่จะรับประทานอาหารชนิดอื่น และมีพัฒนาการในการย่อยอาหารชนิดอื่น นอกเหนือจากนมแม่ได้ดีขึ้น สามารถเริ่มเคี้ยว หรือกลืนอาหาร รวมทั้งยังสามารถเริ่มรับรส และสัมผัสของอาหารเบื้องต้นได้
เมื่อคุณแม่เริ่มให้ลูกน้อยได้ลองรับประทานอาหารตามวัยเด็กทารก ในช่วงแรกควรเริ่มให้เขาได้ลองอาหารใหม่ ทีละน้อย ๆ ก่อน ให้ลูกได้ค่อย ๆ รู้กจักว่าสิ่งนี้เป็นอาหารใหม่ มีรสชาติอย่างไร มีสัมผัสแบบไหน ควบคู่กับการให้นมตามปกติ ลูกน้อยอาจจะยังไม่กลืนอาหารใหม่โดยทันที ค่อย ๆ ฝึกเขาไปเรื่อย ๆ เมื่อเขาคุ้นชินกับอาหารใหม่ คุ้นกับการกลืน เขาก็จะสามารถรับประทานอาหารใหม่ได้มากขึ้น
หลังจากที่คุณแม่เริ่มให้อาหารตามวัยเด็กทารกกับลูกน้อย ก็อาจจะพบปัญหาต่าง ๆ ตามมาให้อยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากลูกน้อยยังไม่คุ้นชินกับอาหารชนิดใหม่ จึงเป็นเรื่องท้ายทายคุณแม่อย่างมากในการฝึกให้ลูกกินอาหารแข็ง โดยปัญหาที่พบบ่อย ได้แก่
ปัญหายอดฮิตครองอันดับเมื่อเริ่มฝึกลูกกินอาหารตามวัยนั่นคือ ลูกไม่ยอมกินข้าว จะป้อนยังไง ก็หันหน้าหนีตลอด แต่ยังคงกินนมได้ปกติ ปัญหานี้อาจจะเกิดจากการที่ลูกน้อยยังไม่คุ้นชินกับอาหารชนิดใหม่ คุณแม่ควรค่อย ๆ ป้อนอาหารทีละเล็กละน้อย หรืออาจจะนำอาหารบดผสมไปกับน้ำนมด้วยก็ได้
นอกจากนี้ ลองสังเกตอารมณ์ของลูกน้อยในช่วงเวลานั้น ว่ามีความอยากอาหารหรือไม่ หรืออิ่มจากการให้นมแล้ว ควรปรับมื้ออาหารให้ตรงกับช่วงที่ลูกหิว และควรลดมื้อที่เป็นการให้นมลง แทนที่ด้วยอาหารตามวัย โดยใน 1 วัน เด็กทารกอายุ 6 – 7 เดือน ควรได้รับอาหาร 1 มื้อ และนม 4 – 6 มื้อ ไม่ควรให้กินนมมากเกินไปจนอิ่ม ซึ่งจะทำให้ลูกน้อยไม่ยอมกินอาหารเสริม
เมื่อเริ่มต้นให้ลูกกินอาหารตามวัยช่วงแรก ๆ เด็กมักจะใช้ลิ้นดุนอาหาร หรือคายออกมา ซึ่งไม่ได้หมายความว่าลูกปฏิเสธอาหาร แต่เป็นภาวะปกติที่ลูกน้อยคุ้นชินกับการดูดนม ซึ่งเมื่อเปลี่ยนมากินอาหารแข็ง จึงเกิดความไม่คุ้นชิน และใช้วิธีการกินแบบเดียวกับการกินนม ในบางครั้งคุณแม่อาจจะพบว่าลูกอมข้าวร่วมด้วย
โดยคุณแม่สามารถแก้ไขได้โดย เมื่อลูกอ้าปากให้ตักอาหารใส่ข้าง ๆ กระพุ้งแก้มของลูก อย่าวางอาหารบนปลายลิ้น เพราะลูกจะปิดปากแล้วดุนอาหารออกมา จึงเหมือนลูกปฏิเสธอาหาร แต่ความจริงแล้ว เป็นกลไกในการดูดนมแม่ เพราะลูกยังไม่เคยหัดกินอาหารตามวัยเด็กทารกมาก่อน หลายคนจะถอดใจเมื่อลูกดุนอาหารออกมาทุกครั้งที่ป้อน จึงเลิกป้อนอาหารเสริมไปเลย ทำให้ลูกไม่ได้เริ่มต้นฝึกการกินอาหารเสริมเด็กในวัยที่ต้องฝึกแล้ว
สาเหตุที่ลูกน้อยกินอาหารตามวัยเด็กทารกแล้วอาเจียน อาจมีได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นจากการที่คุณแม่ป้อนอาหารลูกมากเกินไป อาหารไม่ย่อยทำให้มีลมในท้อง หรือลูกกินเร็วเกินไป คุณแม่ควรเลือกอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวบด ข้าตุ๋น ป้อนทีละน้อย ๆ และหมั่นให้ลูกดื่มน้ำให้เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ
อย่างไรก็ตาม การกินอาหารแล้วเกิดอาการอาเจียนตามมา อาจจะเป็นสัญญาณของอาการแพ้อาหารก็ได้ คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาหารอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น กินอาหารเฉพาะชนิดนี้แล้วอาเจียนออกมาทุกครั้ง แต่ไม่เป็นกับอาหารชนิดอื่น หรืออาเจียนหลังกินอาหาร แล้วมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น ไข้ขึ้น ถ่ายเหลว ร้องไห้งอแง คุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยว่า ลูกน้อยเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่
ปัญหานี้ อาจจะเกิดจากการให้อาหารที่ย่อยยาก คุณแม่ควรเลือกอาหารประเภทย่อยง่ายก่อนในช่วงแรกที่เริ่มฝึกให้ลูกน้อยกินอาหารตามวัยเด็กทารก เช่น ข้าวบด ผักที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เน้นการปรุงอาหารโดยการบด เพื่อให้ลูกน้อยได้เรียนรู้เนื้อสัมผัสจากอาหาร และควรให้ลูกน้อยดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อที่ลำไส้จะได้ไม่ไปดึงน้ำออกจากอุจจาระ ส่งผลให้อุจจาระแข็ง และถ่ายได้ยาก
• เลือกอาหารให้เหมาะสม เน้นไปที่อาหารสด ไม่แนะนำให้ใช้อาหารกระป๋อง หรืออาหารที่ถนอมโดยการใช้เกลือ เพราะจะทำให้ลูกน้อยได้รับเกลือมากเกินไป
• การเตรียมอาหารจำพวกผัก หรือผลไม้ ควรล้างให้สะอาด ในกรณีที่ใช้ผัก หรือผลไม้แช่แข็งควรรอให้น้ำแข็งละลายก่อนนำมาปรุง แกะเปลือก เมล็ด แกน หรือก้านแข็งออกให้หมด ปรุงด้วยวิธีต้ม หรือนึ่ง และควรใช้น้ำจากการต้ม หรือนึ่งเป็นตัวผสมในการบด เพื่อช่วยรักษาสารอาหารไว้
• การเตรียมอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ถ้าหากเป็นปลาลอกหนัง ถอดเกล็ด และก้างออกให้หมด สับ หรือบดเนื้อสัตว์ให้ละเอียด ทำให้สุกด้วยการตุ๋น อบ นึ่ง หรือทอด
• การจัดเก็บอาหารที่เตรียมเสร็จแล้ว ควรเก็บในภาชนะปิดสนิท แล้วเก็บในตู้เย็น และรับประทานอาหารให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง ในกรณีที่จะเก็บนานกว่านั้น ควรแบ่งใส่ 1 ภาชนะต่อ 1 มื้อ จัดเก็บในช่องแช่แข็ง ไม่ควรเก็บนานเกิน 1 สัปดาห์ เมื่อต้องการใช้นำออกมาอุ่นก่อนรับประทานเสมอ
อาหารตามวัยเด็กทารก (Solid Foods) คือ อาหารอื่นที่ทารกได้รับเป็นมื้อ นอกเหนือจากนมแม่ หรือนมผสม เพื่อให้เด็กทารกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และเพียงพอต่อการเจริญเติบโต อีกทั้งยังช่วยให้เด็กทารกสามารถปรับตัวจากการกินอาหารเหลว เป็นอาหารแข็ง ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามพัฒนาการการกินในแต่ละวัย
ช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มให้กินอาหารตามวัยได้ คือ 6 เดือนขึ้นไป นอกจากนี้ยังสามารถชันคอ และนั่งบนเก้าอี้รับประทานอาหารสำหรับเด็กได้
เด็กทารกสามารถดื่มน้ำได้ แต่สามารถเริ่มดื่มได้เมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่จะเริ่มให้อาหารเสริมตามวัย (Solid Foods) โดยเริ่มต้นควรให้ดื่มในปริมาณ 100 – 240 มิลลิลิตรต่อวัน สำหรับเด็กทารกอายุ 0 – 6 เดือน ยังไม่มีความจำเป็นต้องดื่มน้ำเปล่า เนื่องจากน้ำนมแม่ หรือนมผงสำหรับเด็ก มีน้ำเป็นส่วนผสมที่เพียงพออยู่แล้ว
ควรเริ่มต้นจากอาหารที่มีลักษณะเหลว หรือมีเนื้อค่อนข้างละเอียด โดยปรุงอาหารโดยใช้วิธีการบด ไม่ควรให้อาหารปั่น เพราะจะทำให้ลูกน้อย ไม่ได้ฝึกทักษะในการเคี้ยวและกลืน เลือกวัตถุดิบในการประกอบอาหารที่สดใหม่ ไม่ควรใช้อาหารกระป๋อง อาหารที่ถนอมอาหารโดยใช้เกลือ หรือปรุงแต่งรสชาติเพิ่มเติม เช่น การเพิ่มเกลือ เพิ่มน้ำตาล เน้นไปที่รสชาติธรรมชาติของวัตถุดิบ
เด็กทารกสามารถเริ่มกินกล้วยบดได้เมื่อมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป ไม่ควรป้อนกล้วยบดให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน เนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็ก ยังไม่สามารถย่อยอาหารชนิดอื่นได้ นอกเหนือจากนมแม่
เคล็ดลับการฝึกลูกกินผลไม้ วัยเตาะแตะเป็นวัยที่เหมาะสำหรับการให้ลูกได้ลิ้มลองผลไม้หลากหลายชนิด เพร...
อ่านต่อเป็นคำถามยอดฮิตที่เกิดกับคุณแม่มือใหม่ทุกคนเลยทีเดียว “เมื่อไรถึงจะเริ่มให้ลูกรับประทานอาหารหยาบ”...
อ่านต่อเด็กทารกเป็นวัยที่สมองและร่างกายมีอัตราการเจริญเติบโตมากที่สุด อาหารและโภชนาการที่ดีจึงมีความสำคั...
อ่านต่อ