
Enfa สรุปให้
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่สามารถพบได้มากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีเปลือกเป็นหนามแหลม เนื้อข้างในมีสีเหลืองนวล เนื้อนิ่ม กรอบนอก นุ่มใน รสชาติคล้ายอัลมอนด์ และมีกลิ่นเฉพาะตัวที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งเป็นกลิ่นที่หากคนชอบก็จะชอบมาก แต่ถ้าคนไม่ชอบก็จะเกลียดไปเลย โดยทุเรียนสามารถแยกย่อยออกไปได้กว่า 200 สายพันธุ์
โดยมากมักมีความเชื่อว่าคนท้องห้ามกินทุเรียน แต่จริง ๆ แล้ว คนท้องสามารถกินทุเรียนได้ตามปกติ เพราะทุเรียนจัดเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูงไม่แพ้ผลไม้อื่น ๆ ทั้งยังให้พลังงานสูงด้วย และารกินทุเรียนไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของแม่และเด็กในครรภ์แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม การกินทุเรียนแค่เพียง2-3 พู หรือประมาณ 4-6 เม็ด ร่างกายจะได้รับพลังงานสูงถึง 520 – 780 กิโลแคลอรี ซึ่งพลังงานระดับนี้จะเทียบเท่ากับกินอาหารมื้อหลักถึง 2 มื้อเลยทีเดียว มากไปกว่านั้น ทุเรียนยังเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลและพลังงานสูง ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้ คนท้องจึงควรกินทุเรียนแต่พอดี
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ทุเรียน ราชาผลไม้ไทย ที่ขึ้นชื่อลือชา ว่ามีรสชาติที่หวาน หอม กรอบนอก นุ่มใน ใครกินก็ติดใจ ไม่เว้นแม้แต่คุณแม่ที่กำลังตั้งท้องหลายคนก็เป็นแฟนคลับของทุเรียน เมื่อถึงฤดูกาลของทุเรียนก็ใจจดใจจ่อแทบรอไม่ไหว แต่...ทุเรียนกับคนท้อง ปลอดภัยแน่หรือ? คนท้องกินทุเรียนได้ไหม? กินทุเรียนตอนท้องจะอันตรายหรือเปล่า? เรามาหาคำตอบกันกับบทความนี้ของ Enfa กันค่ะ
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่สามารถพบได้มากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ทุเรียนมีอยู่ด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ และสามารถแยกย่อยออกไปได้กว่า 200 สายพันธุ์
ทุเรียนมีเปลือกที่เป็นหนามแหลม เนื้อข้างในมีสีเหลืองนวล เนื้อนิ่ม กรอบนอก นุ่มใน รสชาติคล้ายอัลมอนด์ และมีกลิ่นเฉพาะตัวที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งเป็นกลิ่นที่หากคนชอบก็จะชอบมาก แต่ถ้าคนไม่ชอบก็จะเกลียดไปเลย
ซึ่งนอกจากความอร่อยที่ใครหลายคนติดใจแล้ว ทุเรียนเองก็มีคุณค่าทางสารอาหารที่น่าสนใจด้วยเช่นกัน
โดยทุเรียน 100 กรัม จะได้สารอาหารหลักที่สำคัญ ดังนี้
ไฟเบอร์ 3.8 กรัม
ไขมัน 5.33 กรัม
โปรตีน 1.47 กรัม
วิตามินเอร้อยละ 44 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน
วิตามินซี 19.7 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 6 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม
ธาตุโพแทสเซียม 436 มิลลิกรัม
จะเห็นได้ว่านอกจากความหอม หวาน และอร่อยแล้ว ทุเรียนก็ยังมีคุณค่าทางสารอาหารสูงเช่นกัน โดยเฉพาะวิตามินซีและไฟเบอร์
ทุเรียนก็เช่นเดียวกับอาหารชนิดอื่น ๆ ที่กินมากไปก็ไม่ดี หรือกินน้อยไปก็อาจจะไม่ส่งผลเสีย
ซึ่งทุเรียนก็มีข้อดีและข้อเสียที่ควรรู้ ดังนี้
ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ทุเรียนอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการต้านมะเร็ง การกินทุเรียนในปริมาณที่พอดี จึงอาจจะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้
ลดคอเลสเตอรอล แม้ว่าทุเรียนจะมีไขมัน แต่ไขมันในทุเรียนก็จัดเป็นไขมันชนิดดี มากไปกว่านั้น ทุเรียนยังอุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอล ((Pholyphenols) และมีไฟเบอร์สูง ซึ่งสารอาหารทั้งสองชนิดนี้มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดตีบหรือหลอดเลือดแดงแข็งได้
ช่วยในการขับถ่าย ทุเรียนมีไฟเบอร์สูง การกินผักและผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง จึงมีส่วนช่วยในการขับถ่าย ทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของอาการท้องผูก
เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน เนื่องจากทุเรียนมีน้ำตาลสูง นอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานก็ไม่ควรกินทุเรียนทีละมาก ๆ เพราะเสี่ยงที่จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้
อันตรายหากกินคู่กับการดื่มแอลกอฮอล์ ทุเรียนไม่ควรกินพร้อมกับการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะในทุเรียนมีกำมะถันอยู่มาก ซึ่งกรดกำมะถันในทุเรียนอาจจะทำให้เอนไซม์ซึ่งทำหน้าที่ในการกำจัดสารพิษในร่างกายลดปริมาณลง ส่งผลให้มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูง อาจนำไปสู่อาการต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และใจสั่น
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานและแคลอรีสูง โดยการกินทุเรียนแค่เพียง2-3 พู หรือประมาณ 4-6 เม็ด ร่างกายจะได้รับพลังงานสูงถึง 520 – 780 กิโลแคลอรี ซึ่งพลังงานระดับนี้จะเทียบเท่ากับกินอาหารมื้อหลักถึง 2 มื้อเลยทีเดียว การกินทุเรียนในปริมาณมาก ๆ หรือกินทุกวัน จึงเสี่ยงที่จะทำให้น้ำหนักขึ้นได้
สำหรับคุณแม่ที่เป็นแฟนคลับตัวยงของทุเรียน ไม่เคยพลาดแม้สักปี เมื่อตั้งครรภ์แล้วก็อาจจะสงสัยว่า แล้วแบบนี้แม่ท้องกินทุเรียนได้ไหม? หรือควรเลิกกินไปก่อน?
จริง ๆ แล้วความเชื่อว่าที่คนท้องห้ามกินทุเรียนนั้น ไม่ถูกเสียทีเดียว จริง ๆ แล้วคนท้องสามารถกินทุเรียนได้ตามปกติ เพราะทุเรียนจัดเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูงไม่แพ้ผลไม้อื่น ๆ ทั้งยังให้พลังงานสูงด้วย ซึ่งทุเรียนไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของแม่และเด็กในครรภ์แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีพลังงานสูง และมีน้ำตาลในปริมาณมาก คนท้องจึงควรกินแต่พอดี และไม่ควรกินเกิน2-3 พู หรือประมาณ 4-6 เม็ด เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้
ดังนั้น สำหรับคุณแม่ที่สงสัยว่า คนท้องกินทุเรียนได้ไหม? ท้องอ่อน ๆ กินทุเรียนได้ไหม? หรือท้องไตรมาส 3 กินทุเรียนได้ไหม?
ก็สามารถสบายใจและกินทุเรียนได้ตามปกติ เพียงแต่ไม่ควรกินมากเกิน2-3 พู หรือประมาณ 4-6 เม็ด และไม่ควรกินบ่อย ๆ ทางที่ดีควรจะกินผลไม้ที่หลากหลาย ผลัดเปลี่ยนสลับกันทุกวัน เพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารที่หลากหลาย
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ควรจะระมัดระวังการกินทุเรียนมากเป็นพิเศษ เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีพลังงานสูง และมีน้ำตาลในปริมาณมาก การกินทุเรียนจึงอาจเสี่ยงที่จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้ ซึ่งจะทำให้อาการทางสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์แย่ลง
ทางที่ดีควรกินทุเรียนแต่น้อย หรือดีที่สุดคืองดการกินทุเรียน และกินผลไม้อื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแทน
เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลและพลังงานสูง ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้ คนท้องจึงควรกินแต่พอดี
มากไปกว่านั้น การกินทุเรียนแค่เพียง2-3 พู หรือประมาณ 4-6 เม็ด ร่างกายจะได้รับพลังงานสูงถึง 520 – 780 กิโลแคลอรี ซึ่งพลังงานระดับนี้จะเทียบเท่ากับกินอาหารมื้อหลักถึง 2 มื้อเลยทีเดียว และถึงแม้ว่าแม่ตั้งครรภ์ควรจะได้กินอาหารให้มากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อทารกในครรภ์ แต่การกินทุเรียนในปริมาณมาก ๆ หรือกินทุกวัน จึงเสี่ยงที่จะทำให้น้ำหนักขึ้นได้
และคุณแม่ตั้งครรภ์ ไม่ควรจะมีน้ำหนักตั้งครรภ์เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เพราะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของแม่และทารก โดยเฉพาะโรคอ้วนและโรคเบาหวาน
มากไปกว่านั้น การกินทุเรียนมาก ๆ ยังเสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายของแม่และทารกในครรภ์ขาดสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นด้วย
หากแม่ท้องชอบกินทุเรียน ก็สามารถกินได้ แต่ไม่ควรกินมากเกินไป ทางที่ดีไม่ควรกินทุเรียนเกิน2-3 พู หรือประมาณ 4-6 เม็ด เพราะเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับน้ำตาลและพลังงานสูง เสี่ยงต่อโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และระดับน้ำตาลสูง
มากไปกว่านั้น ยังควรสลับกินทุเรียนกับผลไม้ชนิดอื่น ๆ บ้าง เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่หลากหลายและดีต่อสุขภาพ
ท้องไตรมาส 3 สามารถกินทุเรียนได้ แต่ไม่ควรกินมากเกิน 2-3 พู หรือประมาณ 4-6 เม็ด และไม่ควรกินบ่อย ๆ
เพราะการกินทุเรียนแค่เพียง 2-3 พู หรือประมาณ 4-6 เม็ด ร่างกายจะได้รับพลังงานสูงถึง 520 – 780 กิโลแคลอรี ซึ่งพลังงานระดับนี้จะเทียบเท่ากับกินอาหารมื้อหลักถึง 2 มื้อเลยทีเดียว การกินทุเรียนในปริมาณมาก ๆ หรือกินทุกวัน จึงเสี่ยงที่จะทำให้น้ำหนักขึ้นได้ ทั้งยังเสี่ยงต่อโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และระดับน้ำตาลสูง
ท้อง 8 เดือน สามารถกินทุเรียนได้ แต่ไม่ควรกินมากเกิน 2-3 พู หรือประมาณ 4-6 เม็ด และไม่ควรกินบ่อย ๆ
เพราะการกินทุเรียนแค่เพียง 2-3 พู หรือประมาณ 4-6 เม็ด ร่างกายจะได้รับพลังงานสูงถึง 520 – 780 กิโลแคลอรี ซึ่งพลังงานระดับนี้จะเทียบเท่ากับกินอาหารมื้อหลักถึง 2 มื้อเลยทีเดียว การกินทุเรียนในปริมาณมาก ๆ หรือกินทุกวัน จึงเสี่ยงที่จะทำให้น้ำหนักขึ้นได้ ทั้งยังเสี่ยงต่อโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และระดับน้ำตาลสูง
ไม่มีผลการศึกษาและผลการวิจัยที่มากเพียงพอจะรองรับความเชื่อมโยงของการกินทุเรียนกับการที่ลูกมีผมดกได้
เรื่องดังกล่าวจึงเป็นเพียงความเชื่อที่ส่งต่อกันมาเท่านั้น
ไม่มีผลการศึกษาและผลการวิจัยที่มากเพียงพอจะรองรับความเชื่อมโยงของการกินทุเรียนกับการที่ลูกผิวสวยได้
เรื่องดังกล่าวจึงเป็นเพียงความเชื่อที่ส่งต่อกันมาเท่านั้น
คนท้องสามารถกินทุเรียนทอดเป็นของว่างได้ แต่ควรระวังไม่กินมากจนเกินไป เพราะลำพังแต่ทุเรียนเองก็มีพลังงานสูงมากอยู่แล้ว ทั้งยังมีน้ำตาลสูงอีกด้วย ยิ่งเป็นทุเรียนทอดก็จะยิ่งได้รับไขมันจากน้ำมันที่ใช้ในการทอด และโซเดียมจากเกลือปรุงรสอีก
หากกินเยอะ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และระดับน้ำตาลสูง
มีความเชื่อกันว่าทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ออกร้อน แต่ในความจริงแล้วไม่มีผลการศึกษาและผลการวิจัยที่มากเพียงพอจะรองรับความเชื่อนั้น
แต่ก็มีข้อสันนิษฐานว่าสารกำมะถันในทุเรียนอาจเป็นตัวทำปฏิกิริยาให้รู้สึกร้อน การกินทุเรียนมาก ๆ จึงอาจทำให้ร่างกายมีกำมะถันสูง หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากินทุเรียนพร้อมกับการดื่มแอลกอฮอล์ สารกำมะถันก็จะทำปฏิกิริยาต่อแอลกอฮอล์ จนทำให้รู้สึกร้อนได้
แม่ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1 อย่าได้ขาดโฟเลต โฟเลต หรือ กรดโฟลิก (Folic Acid) จัดเป็นวิตามิ...
อ่านต่อมาดูกันว่าวิตามินดีมีความดีงามต่อสุขภาพของคุณแม่ และพัฒนาการของลูกน้อยอย่างไร วิตามินดีจะช่ว...
อ่านต่อโปรตีนจำเป็นสำหรับการเสริมสร้างร่างกาย อวัยวะ และเนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ทั้งนี้ ...
อ่านต่อ