Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายของผู้หญิงต้องปรับตัวให้พร้อมสำหรับการเจริญเติบโตของลูกน้อยในท้อง โดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ หนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยในระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์คือ “อาการเบื่ออาหาร” ทำให้คุณแม่รับประทานอาหารได้ยากขึ้น แต่เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารครบถ้วนคุณแม่จึงต้องฝืนรับประทานอาหารอย่างยากลำบาก ในบทความนี้ Enfa จะพาคุณแม่มาหาสาเหตุที่คนท้องเบื่ออาหาร และวิธีแก้กันค่ะ
คนท้องเบื่ออาหารเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของร่างกายซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ คนท้องไม่อยากอาหารยังเป็นเพราะอาการคลื่นไส้ที่เกิดจากการตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก ทำให้คุณแม่ท้องเบื่ออาหารได้ด้วย
โดยในระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องจะต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อทางเดินอาหาร คือ
โดยเฉพาะในไตรมาสแรก ฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจน จะมีการเปลี่ยนแปลงสูง ทำให้ระบบทางเดินอาหารของคุณแม่มีการตอบสนองที่แตกต่างไปจากปกติ เช่น การชะลอการย่อยอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารได้าการคลื่นไส้และอาเจียน หรือที่เรียกว่า "Morning Sickness" ทำให้คนท้องไม่อยากอาหาร หรือกินได้น้อยลง
ขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะทำให้มดลูกขยายตัว อวัยวะภายในร่างกายจะถูกกดทับ ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดหรือท้องอืดได้ง่าย ทำให้คุณแม่ท้องเบื่ออาหารได้ง่าย
ระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์มักมีความวิตกกังวลและความเครียดที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์หลายด้าน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและความอยากอาหารของคุณแม่ ทำให้คุณแม่ท้องเบื่ออาหาร กินได้น้อย แม้กระทั่งอาหารที่เคยชอบก็กินไม่ลง
อาการคนเบื่ออาหารของคนท้องนอกจากเกิดได้จากหลายสาเหตุแล้ว ยังอาจมีความรุนแรงตามระยะเวลาที่แตกต่างกันในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์อีกด้วย โดยส่วนมากอาการคนท้องเบื่ออาหารมักเกิดการคลื่นไส้ในช่วงเช้าหรือ “Morning Sickness” ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนท้อง ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่อยากรับประทานอาหารหรือไม่สามารถทานได้ในบางมื้อ
คนท้องในช่วงไตรมาส 1 (1-12 สัปดาห์) มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงเช้า ซึ่งทำให้ทานอาหารได้ยาก รวมถึงมีประสาทสัมผัสไวต่อกลิ่นที่แรง เช่น กลิ่นอาหาร กลิ่นน้ำหอม ทำให้คนท้องเบื่ออาหาร ทั้งยังรับรู้รสชาติอาหารเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ของที่เคยชอบกินก็กินไม่อร่อยเหมือนเดิม ทำให้คนท้องไม่อยากกินอาหารเพราะไม่อยากคลื่นไส้อาเจียน จึงดูเหมือนว่าคนท้องอ่อน ๆ ไม่หิวข้าว
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่ 2 (13-26 สัปดาห์) คุณแม่จะมีอาการคลื่นไส้ลดลง ทำให้คุณแม่ท้องทานอาหารได้มากขึ้น แต่บางคนอาจยังคงรู้สึกเบื่ออาหารอยู่เนื่องจากการตั้งครรภ์ในช่วงนี้ทำให้มดลูกขยายตัวมากขึ้น ทำให้คุณแม่ท้องรู้สึกอึดอัดและไม่อยากอาหาร โดยอาการไม่สบายตัวนี้ยังทำให้คุณแม่ท้องเกิดความเครียดและอารมณ์แปรปรวนได้ง่ายด้วย
คุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 (27 สัปดาห์จนถึงคลอด) จะยิ่งมีความอึดอัดจากการขยายตัวของมดลูกมากขึ้น มดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นนี้เริ่มกดทับกระเพาะอาหาร ทำให้คุณแม่ท้องอิ่มเร็วและไม่อยากอาหาร อีกทั้งยังมีอาการท้องอืดได้ง่าย เนื่องการกดทับอวัยวะภายใน คนท้อง 7 เดือนขึ้นไปจึงไม่ค่อยกินข้าวเพราะรู้สึกอึดอัดกว่าช่วง 2 ไตรมาสแรก
คุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่า ถ้าเราไม่กินข้าว ลูกในท้องจะเป็นไรไหม ? หรือเวลาที่แม่หิว ลูกในท้องหิวไหม ? ความจริงแล้วลูกน้อยในครรภ์จะได้รับสารอาหารผ่านคุณแม่ ดังนั้น หากคุณแม่ท้องไม่กินข้าวหรือขาดสารอาหารที่สำคัญ ลูกในท้องอาจได้รับผลกระทบด้วย
การที่คนท้องเบื่ออาหาร ทำให้ลูกขาดสารอาหารในระหว่างการตั้งครรภ์ อาจส่งผลเสียต่อการพัฒนาและการเจริญเติบโตของลูกน้อยหลายด้าน เช่น
ลูกในท้องจะได้รับสารอาหารและออกซิเจนจากแม่ผ่านทางรก โดยการ “หิว” ของลูกในท้องนั้นต่างจากการหิวของคุณแม่ เพราะทารกไม่มีระบบย่อยอาหาร แต่คุณแม่จะรับรู้การหิวชองลูกได้ และรู้ว่าลูกในท้องกินอาหารตอนไหน
โดยคุณแม่จะรู้ว่าลูกในท้องกินอาหารตอนไหน หรือหิวตอนไหน จากอาการของคุณแม่เอง หากคุณแม่มีความรู้สึกเหนื่อยล้า เวียนหัวหรืออ่อนเพลีย และอาจรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของทารกมากขึ้น เพราะหากคุณแม่ได้รับอาหารไม่เพียงพอ กินน้อย ข้ามมื้ออาหาร หรือกินอาหารไม่ตรงเวลา ลูกน้อยในครรภ์จะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอไปด้วย และหากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเนื่องจากคุณแม่กินอาหารไม่เพียงพอ ทารกอาจมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติด้วย
การที่แม่ท้องกินข้าวไม่ตรงเวลาหรือทานอาหารไม่สม่ำเสมอจะส่งผลต่อทั้งสุขภาพของคุณแม่และลูกในท้องได้ เนื่องจากการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ นอกจากส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตของลูกน้อยแล้ว การที่คนท้องกินข้าวไม่ตรงเวลา หรือกินอาหารไม่เพียงพอบ่อย ๆ จะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้มีผลกระทบต่ออารมณ์คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ด้วย
หากคุณแม่ท้องเบื่ออาหาร ไม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติในบางมื้อ คุณแม่สามารถแบ่งรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ แล้วกินบ่อย ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ หรือปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์
คนท้องตื่นสายไม่ได้กินข้าวเช้าย่อมส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ เพราะมื้อเช้าเป็นมื้อร่างกายคุณแม่ต้องการสารอาหารเป็นพิเศษ เพื่อให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของทารก การไม่ได้กินข้าวเช้าจึงส่งผลต่อทั้งสุขภาพของแม่และทารก
มื้อเช้าของคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นมื้อสำคัญ โดยคุณแม่สามารถเลือกกินมื้อเช้าที่กินง่าย ให้พลังงานสูง และมีสารอาหารครบ คนท้องควรกินอาหารที่มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรตที่ย่อยช้า และวิตามินที่สำคัญ เช่น ผลไม้ โจ๊ก ข้าวกล้อง ไข่ หรือเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
คนท้องควรกินข้าวให้ครบ 3 มื้อ ห่างกัน 4-5 ชั่วโมง โดยมีอาหารว่างระหว่างมื้ออาหารร่วมด้วย เช่น ผลไม้ โยเกิร์ต เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ หากคุณแม่หิวก่อนนอนสามารถเบา ๆ เช่น นม หรือขนมปังโฮลวีต
นอกจากนี้ หากคุณแม่ไม่อยากอาหารหรือเบื่ออาหาร ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ หลาย ๆ มื้อ เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นโดยไม่ทำให้รู้สึกอิ่มเกินไป และควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยมีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันที่ดี และวิตามินต่างๆ เช่น ผักและผลไม้ครบถ้วน
คนท้องเบื่ออาหารทำไงดี ? อาการเบื่ออาหารเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในคนท้อง คุณแม่จึงไม่ต้องกังวลกับอาการดังกล่าว โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ไตรมาสแรกที่มักมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน รับกลิ่นและรสผิดเพี้ยน ทำให้คนท้องเบื่ออาหารได้ง่าย แต่เพื่อไม่ให้ลูกน้อยในครรภ์ขาดสารอาหารและกระทบต่อพัฒนาการด้านการเจริญเติบโต คุณแม่จึงไม่ควรอดอาหารและพยายามกินอาการให้ได้
หากคุณแม่มีอาการเบื่ออาหารรุนแรงมาก อาจเริ่มจากการกินอาหารที่เคยชอบหรือกินแล้วรู้สึกดีเพื่อกระตุ้นความอยากอาหาร หรือลองเปลี่ยนรสชาติอาหารใหม่ แต่ไม่ควรป็นอาหารรสจัดเกินไป
การเริ่มต้นอนาคตที่ดีที่สุดของลูกน้อยนั้นเริ่มต้นจากโภชนาการที่ดีในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งโภชนาการที่ดีของคุณแม่ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพที่แข็งแรง แต่ยังช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในท้องด้วย โดยโภชนาการที่ดีจะมีผลต่อสุขภาพของทารกในระยะยาว ทั้งด้านร่างกายและสมอง
คุณแม่สามารถเริ่มต้นโภชนาการที่ดีสำหรับลูกน้อยในครรภ์ได้โดยการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรตที่ย่อยช้า ไขมันที่ดี และวิตามินที่จำเป็น เช่น กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก และแคลเซียม คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดสารอาหารหรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น คาเฟอีน แอลกอฮอล์ พร้อมทั้งดื่มน้ำสะอาดและพักผ่อนให้เพียงพอ
นอกจากนี้ ยังสามารถเสริมด้วยนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ดีเอชเอ โฟเลต โคลีน และแคลเซียม เพียงดื่มนมเอนฟามาม่า เอพลัส วันละ 2 แก้ว เพื่อให้ได้แคลเซียมและโคลีนตามความต้องการของคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรในแต่ละวัน (THAI DRI)
ควรกินภายใน 1 ชั่วโมงหลังตื่นนอน เพื่อเติมเต็มพลังงานหลังจากที่ร่างกายไม่ได้รับอาหารมาตลอดคืน และช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ แนะนำให้กินอาหารที่มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรตที่ย่อยช้า เช่น ข้าวต้ม ขนมปังโฮลวีต ไข่ หรือโยเกิร์ต
คนท้องไม่ควรปล่อยให้หิวหรือปล่อยให้ท้องว่างนาน เพราะจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้เกิดความเครียด ส่งผลต่ออารมณ์ของคุณแม่และทารก
คนท้องมักจะหิวบ่อยเพราะต้องกินอาหารแต่ละมื้อให้เพียงพอที่จะส่งต่อสารอาหารให้ลูกในครรภ์ ดังนั้นจึงไม่ควรข้ามมื้ออาหารหรืออดอาหารโดยเฉพาะมื้อเย็นและมื้อเช้า ทั้งนี้ยังควรมีอาหารว่างระหว่างมื้ออาหารด้วย
คนท้องส่วนใหญ่มักมีอาการเบื่ออาหารเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจหลายด้าน ซึ่งส่งผลต่อความอยากอาหาร คุณแม่จึงไม่ต้องกังวล และสามารถปรับการกินแต่ละมื้อได้ด้วยตนเอง โดยแบ่งกินเป็นมื้อเล็ก ๆ หลายๆ มื้อได้เพื่อให้ได้รับอาหารครบถ้วน
Enfa สรุปให้ อาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์ เป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ และไม่ส่งผลเสียต่อการต...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ไม่ควรกินโฟลิคพร้อมยาลดกรด (Antacids) เพราะอาจจะขัดขวางการดูดซึมโฟลิคได้ หากจำเป็นต...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ คนท้องเบื่ออาหารเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่หากกินอาหารไม่เพียงพอ จะส่งผลกระทบต...
อ่านต่อ