สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่เมื่อรู้ว่ากำลังมีลูกน้อยมาอยู่ในท้องแล้วก็มักจะทำตัวไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะต้องไป ฝากครรภ์ ที่ไหน ? ควรฝากครรภ์ตอนไหน ? ขั้นตอนฝากครรภ์ นั้นเป็นอย่างไร ? และต้องเตรียมอะไรไปบ้าง ? ทั้งนี้แนะนำให้เลือกโรงพยาบาลที่ใกล้กับที่พักของคุณแม่นะคะ เพื่อสะดวกต่อการเดินทางไปตรวจเช็คเวลาหมอนัด และที่สำคัญที่สุดต้องเดินทางสะดวกตอนที่คุณแม่จะคลอดค่ะ…
1. ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง เพื่อให้ทราบว่าคุณแม่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ และส่วนสูงของคุณแม่สัมพันธ์กับขนาดของเชิงกรานหรือไม่ เพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องการคลอดธรรมชาติ
2. วัดความดันโลหิต เพื่อให้ทราบ ระดับความดันโลหิตของคุณแม่ เช่น สูงหรือต่ำเกินไปจะได้แนะนำแนวทางการดูแลอย่างถูกต้อง
3. ตรวจเลือด โดยตรวจคัดกรองภาวะซีด โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ตรวจการทำงานของตับและไต ตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยหากมีความผิดปกติจะได้รักษาคุณแม่ได้ทันท่วงที และป้องกันโรคที่อาจส่งต่อไปยังลูกได้
4. ตรวจปัสสาวะ ตรวจน้ำตาลและโปรตีนที่อาจรั่วออกมาทางปัสสาวะ หากมีโปรตีนมากเกินไปอาจจะมีความเสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษ และตรวจดูว่ามีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือไม่
5. ตรวจสุขภาพช่องปาก ตรวจฟันผุ เหงือกอักเสบ หินปูน เพราะหากมีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันอาจส่งผลต่อสุขภาพครรภ์ได้
6. ฟังเสียงหัวใจและปอด เพื่อตรวจการทำงานของหัวใจ ลิ้นหัวใจ และปอดขณะตั้งครรภ์ให้เป็นปกติ
7. ตรวจเต้านม ตรวจทรงเต้า และลักษณะหัวนม ให้พร้อมสำหรับการผลิตนมและการให้นม
8. ตรวจหน้าท้อง ขนาดมดลูก ระดับของมดลูกว่าสัมพันธ์กับอายุครรภ์หรือไม่ โดยหากผิดปกติ อาจหมายถึงภาวะผิดปกติ เช่น ครรภ์แฝด ก้อนเนื้องอกมดลูก เป็นต้น
9. ตรวจขา เพื่อดูว่าเส้นเลือดขอดหรือไม่ ขาบวมผิดปกติหรือไม่
การฝากครรภ์ คือ การดูแลสุขภาพของแม่และลูกในท้องตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์ไปจนถึงก่อนคลอดโดยแพทย์ เพื่อให้แม่และลูกในท้องมีสุขภาพที่แข็งแรงและปลอดภัย โดยแพทย์จะให้คำแนะนำและตรวจสุขภาพครรภ์ของคุณแม่ รวมถึงการตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพ และรักษาอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์รวมถึงการจัดยาที่เหมาะสม เช่น การจ่ายวิตามินเพื่อบำรุงครรภ์ จ่ายยารักษาอาการแพ้ท้องหรืออาการอื่น ๆ เป็นต้น
การฝากครรภ์ ถือว่าสำคัญมาก คุณแม่ที่ไม่ได้ฝากครรภ์ เสี่ยงต่อการให้กำเนิดบุตรที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าผู้ที่ฝากครรภ์มากถึง 3 เท่า อีกทั้งเด็กที่คลอดออกมานั้นก็เสี่ยงเสียชีวิตมากกว่าทารกที่มารดาเข้ารับ การฝากครรภ์ มากถึง 5 เท่า หากผู้ตั้งครรภ์เข้ารับ การฝากครรภ์ และไปตรวจตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ แพทย์มีโอกาสตรวจเจอความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเด็ก และทำการรักษาหรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพื่อให้แม่คลอดลูกออกมาได้อย่างปลอดภัยทั้งสองคน
สำหรับคำถามที่คุณแม่หลายคนอาจสงสัยคือ ฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี ? คำตอบที่เราแนะนำคือ.. เมื่อคุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ควรไป ฝากครรภ์ ทันที อย่าปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปเป็นอันขาด ซึ่งการตรวจครรภ์ครั้งแรก ควรเกิดขึ้นก่อนครรภ์จะมีอายุครบ 3 เดือน และหลังจากนั้นควรตรวจทุก ๆ 1-2 เดือนจนกว่าจะคลอดหรือตามที่แพทย์พิจารณา เพราะตลอดช่วงของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่สำคัญ
ดังนั้น คุณแม่จะต้องไปฝากครรภ์ตามเกณฑ์ที่กำหนด แพทย์จะนัดตรวจเป็นระยะตามความเหมาะสมจนกระทั่งคลอด โดยองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่า หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้ง ตลอดระยะการตั้งครรภ์
คุณแม่หากไม่ ฝากครรภ์ หรือฝากครรภ์หลังจากอายุครรภ์มากกว่า 4 เดือนขึ้นไป อาจจะส่งผลกระทบกับลูกน้อยในครรภ์นะคะ เพราะในระหว่างนั้น หากเด็กมีอาการผิดปกติ มีพันธุกรรมที่ผิดปกติ จะทำให้แพทย์ไม่สามารถดูแลและแก้ไขได้ทัน ทางด้านคุณแม่ หากมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว หรือรับประทานยาบางอย่างอยู่ การตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อคุณแม่หรือลูกน้อยได้โดยตรง
นอกจากนี้ หากคุณแม่ไม่ได้รับยาบำรุงที่จำเป็น เช่น ยาเสริมธาตุเหล็ก ยาเสริมแคลเซียม ซึ่งล้วนแต่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูก อาจนำไปสู่การเจ็บป่วยของคุณแม่ ที่อาจจะส่งผลทันที หรือส่งผลต่อเนื่องไปยังอนาคตได้
คุณแม่สามารถไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกก็ได้ โดยเลือกโรงพยาบาลหรือคลินิกที่อยู่ใกล้บ้านหรือเดินทางได้สะดวก เพราะเมื่อคุณแม่เริ่มท้องแก่ คุณหมอจะเริ่มนัดให้มาตรวจดูครรภ์บ่อยขึ้น ทำให้อาจจะมีปัญหาในการเดินทางได้
สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่อาจยังไม่ทราบค่าใช้จ่ายใน การฝากครรภ์ สามารถตรวจสอบค่าใช้จ่ายโดยประมาณ จากทางโรงพยาบาลก่อนเข้ารับการดูแลได้ สำหรับโรงพยาบาลรัฐ คุณแม่สามารถใช้สิทธิ 30 บาท สิทธิประกันสังคม และสิทธิอื่น ๆ ได้ และสำหรับโรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับการตรวจรักษาในวันนั้น ๆ
การฝากครรภ์ เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ที่คุณแม่มือใหม่ต้องใส่ใจ เพราะหากคุณแม่ดูแลสุขภาพตัวเองพร้อมรับคำแนะนำและพบแพทย์ตามนัด รับรองว่าลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรงมีพัฒนาการที่ดีตามวัยอย่างแน่นอนค่ะ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Enfa Smart Club วันนี้ เราพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการเตรียมความพร้อมสำหรับคุณแม่มือใหม่โดยผู้เชี่ยวชาญ พร้อมด้วยสิทธิพิเศษมากมาย และตัวช่วยดี ๆ อย่าง โปรแกรมตั้งชื่อลูกจากEnfaที่พร้อมแบ่งปันไอเดียในการตั้งชื่อลูกน้อยของคุณ
การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26: เล่นกับท้องพัฒนาการรับรู้ทางประสาทสัมผัส การสัมผัสหน้าท้องก็เป็นการเล่...
อ่านต่อช่วงคุณแม่ตั้งครรภ์ตลอด 9 เดือน อาจจะทำให้กิจวัตรที่เราทำเป็นประจำบางอย่างต้องเลี่ยงไป บางครั้งเร...
อ่านต่อกินขนมหวานได้แค่ไหน จริงๆ แล้ว แม่ตั้งครรภ์ไม่ควรทานขนมหวาน เพราะมักตามมาด้วยความอ้วนเสมอ แ...
อ่านต่อi Fetal development: The 1st trimester. (n.d.). Retrieved March 21, 2017, from
ii Fetal development: The 1st trimester. (n.d.). Retrieved March 21, 2017, from
Share information about your brand with your customers.