เส้นเลือดขอดกับคุณแม่ตั้งครรภ์มักคู่กัน นั่นเป็นเพราะระหว่างอายุตั้งครรภ์ 3-4 เดือนขึ้นไป ทารกในครรภ์จะมีร่างกายโตขึ้น เป็นผลให้ทารกไปกดทับเส้นเลือดบริเวณหน้าท้อง หลัง และต้นขา จึงทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี เลือดที่จะถูกส่งไปยังหัวใจไหลเวียนได้ยาก ทำให้เลือดคั่งค้างอยู่ในเส้นเลือดฝอยบริเวณขา เมื่อสะสมมากๆ เข้าก็จะกลายเป็นเส้นเลือดขอด โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องยืนนานๆ จะทำให้อาการเส้นเลือดฝอยขอดเป็นมากขึ้นค่ะ
ปัญหาเส้นเลือดขอดจะยิ่งเป็นมากขึ้นในครรภ์หลังๆ หรือเมื่ออายุมากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์อาจพบว่ามีหลอดเลือดฝอยเล็กๆที่ขยายตัวเห็นชัดขึ้น โดยมักพบบริเวณข้อเท้า ขา หรือแม้แต่ที่ใบหน้าเพราะหลอดเลือดฝอยแบบนี้จะแตกสาขาย่อยออกจากจุดศูนย์กลาง ทำให้มีลักษณะคล้ายกับแมงมุม แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ส่งผลอันตรายใดๆและมักหายไปได้เองหลังคลอด
คุณแม่ไม่ควรยืนเป็นเวลานานๆ หากไม่สามารถเลี่ยงได้ก็ควรเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น การสลับพักเท้าไปมา และควรดูแลกล้ามเนื้อบริเวณขาและเท้า โดยการใส่ถุงน่องหรือผ้าพันยืด เพื่อช่วยพยุงกล้ามเนื้อขา
ควรนั่งในท่าปกติ ไม่ไขว่ห้างหรือนั่งพับขา เพราะจะทำให้การไหลเวียนของระบบเลือดที่จะไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายทำได้ไม่ดี
ขณะนอนให้ใช้หมอนหนุนบริเวณข้อเท้า เพื่อให้ขาสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ถ้าคุณแม่มีอาการของเส้นเลือดขอดเกิดขึ้นแล้ว และมีขนาดใหญ่ อาจหาผ้ายืดที่ใช้สำหรับรัดขา และเท้าโดยเฉพาะ มารัดตรงบริเวณขาให้แน่น เพื่อกดเส้นเลือดให้แบนราบกว่าเดิม ช่วยลดอาการปวดจากเส้นเลือดขอดได้ค่ะ
การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26: เล่นกับท้องพัฒนาการรับรู้ทางประสาทสัมผัส การสัมผัสหน้าท้องก็เป็นการเล่...
อ่านต่อช่วงคุณแม่ตั้งครรภ์ตลอด 9 เดือน อาจจะทำให้กิจวัตรที่เราทำเป็นประจำบางอย่างต้องเลี่ยงไป บางครั้งเร...
อ่านต่อกินขนมหวานได้แค่ไหน จริงๆ แล้ว แม่ตั้งครรภ์ไม่ควรทานขนมหวาน เพราะมักตามมาด้วยความอ้วนเสมอ แ...
อ่านต่อ