Enfa สรุปให้
- ท้องแข็งแบบไหนควรไปหาหมอ? หากพบว่ามีอาการท้องแข็งทั่วท้องจนรู้สึกเจ็บนานประมาณ 10 นาที/ครั้ง ติดต่อกันเป็นชุด ๆ และมีความถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ร่วมกับมีอาการน้ำเดิน ลูกดิ้นน้อยลง ควรไปพบแพทย์ทันที
- อาการท้องแข็งเป็นอาการปวดหรือเจ็บที่บริเวณท้องหรือท้องน้อย เมื่อสัมผัสที่บริเวณท้องจะรู้สึกว่ามีอาการท้องตึง ๆ เหมือนมีก้อนแข็ง ๆ อยู่ภายในท้อง มักพบได้บ่อยเป็นปกติในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์
- อาการอาการท้องแข็งที่ไม่มีอาการปวดท้อง หรือปวดท้องแต่หายเองได้ หรือกินยาแก้ปวดก็หาย ถือเป็นสัญญาณของอาการเจ็บครรภ์หลอก
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• อาการท้องแข็งเป็นยังไง
• ท้องแข็งเกิดจากอะไร
• อาการท้องแข็งมีกี่แบบ
• ท้องแข็งบ่อยอันตรายไหม
• ท้องแข็งบ่อยแต่ไม่ปวดท้อง
• ท้องแข็ง กดแล้วเจ็บ
• อาการท้องแข็งเป็นก้อน
• ท้องแข็งแบบไหนควรไปหาหมอ
• บรรเทาอาการท้องแข็ง
• ไขข้องใจเรื่องอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์กับ Enfa Smart Club
ท้องแข็งแบบไหนควรไปหาหมอ? คำถามที่พบบ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ก่อนเราจะไปตอบคำถามนั้น มาทำความรู้จักกับอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์กันให้มากขึ้นกัน
ท้องแข็ง ท้องตึง จับท้องแล้วเป็นก้อนแข็ง เป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ เพราะถือเป็นหนึ่งในสัญญาณของอาการใกล้คลอด
แต่อาการท้องแข็งแบบไหนที่เกิดขึ้นบ่อยแล้วปกติ อาการท้องแข็งแบบไหนที่เกิดบ่อยแล้วเสี่ยงอันตราย ท้องแข็งแบบไหนควรไปหาหมอ เรามาหาคำตอบกันเลย
อาการท้องแข็งเป็นอย่างไร
อาการท้องแข็ง คือ อาการปวด เจ็บ ที่บริเวณท้องหรือท้องน้อย เมื่อสัมผัสที่บริเวณท้องจะรู้สึกว่ามีอาการท้องตึง ๆ เหมือนมีก้อนแข็ง ๆ อยู่ภายในท้อง มักพบได้บ่อยเป็นปกติในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ และอาการจะเป็น ๆ หาย ๆ
อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บท้องแข็งนี้มีหลายกรณีที่ต้องพิจารณาคือ ท้องแข็งแบบใกล้จะคลอดจริง ๆ อาการเจ็บท้องคลอด หรือเป็นเพียงอาการเจ็บครรภ์หลอกหรือเจ็บท้องเตือนเท่านั้น
รู้จักสาเหตุของอาการท้องแข็งในคนท้อง
อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
- มดลูกบีบตัว
- ทารกในครรภ์ดิ้นแรง พลิกตัวแรง หรือโก่งตัว
- กินอาหารอิ่มจนเกินไป
- กลั้นปัสสาวะ
อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์แบ่งเป็นกี่แบบ
อาการท้องแข็งเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวตามปกติ (Braxton Hick Contraction)
อาการท้องแข็งเนื่องจากมดลูกหดรัดตัว (Braxton Hick Contraction) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อาการเจ็บหลอก หรือเจ็บครรภ์หลอก พบในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ เกิดจากการหดตัวของมดลูก ทำให้คุณแม่รู้สึกตึงหรือแน่นที่บริเวณท้อง มีอาการปวดท้องเป็นระยะ ๆ ไม่สม่ำเสมอ แต่จะไม่ใช่อาการปวดจนทรมาน
และอาการเหล่านี้สามารถหายเองได้โดยไม่ต้องกินยาบรรเทาอาการปวด ซึ่งการหดตัวของมดลูกในระยะนี้จะทำให้ปากมดลูกเริ่มอ่อนตัวลงเพื่อพร้อมสำหรับการคลอด แต่ปากมดลูกจะยังไม่ขยาย ไม่มีของเหลวไหลออกจากช่องคลอด และจะยังไม่มีการคลอดเกิดขึ้นในระยะนี้
อาการท้องแข็งใกล้คลอด (Labor Contractions)
อาการท้องแข็งเนื่องจากใกล้คลอด มักจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 38 - 40 ของการตั้งครรภ์ หรือช่วงใกล้กำหนดวันคลอด โดยคุณแม่จะสัมผัสได้ว่าหน้าท้องมีก้อนแข็ง ๆ และมีอาการปวด โดยจะปวดทุก ๆ 5-15 นาที และแต่ละครั้งที่มีอาการปวด จะปวดอยู่ประมาณ 5-50 วินาที อาการปวดนี้จะไม่หายไปเอง มีแต่จะปวดหนักขึ้นเรื่อย ๆ ปากมดลูกเริ่มขยาย และมีมูกหรือของเหลวที่มีเลือดปนไหลออกจากช่องคลอด เป็นสัญญาณว่าทารกกำลังจะคลอดในเร็ว ๆ นี้
ท้องแข็งบ่อยถือเป็นเรื่องปกติไหมนะ? คนท้องท้องแข็งบ่อยอันตรายไหม
อาการท้องแข็งสามารถพบได้บ่อยในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีอาการเจ็บท้องแข็งประมาณ 3-4 คร้งต่อวัน แต่จะไม่ถึงขนาดกับว่ามีอาการท้องแข็งทุกวันหรือทั้งวัน ดังนั้น หากมีอาการท้องแข็งมากกว่าปกติ หรือท้องแข็งบ่อยและสม่ำเสมอจนผิดสังเกต ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย
แม่ใกล้คลอด ท้องแข็งบ่อยแต่ไม่ปวด ควรกังวลไหม
หากมีอาการท้องแข็งแต่ไม่มีอาการปวดร่วมด้วย อาจเป็นอาการเจ็บครรภ์หลอก เพียงนั่งพักหรือกินยา อาการก็สามารถจะทุเลาลงและหายไปเองได้ ไม่ถือว่าเป็นอาการที่น่ากังวลแต่อย่างใด
ท้องแข็ง กดแล้วเจ็บ แบบนี้อันตรายหรือเปล่า
อาการท้องแข็ง กดแล้วเจ็บ หากมีอาการปากมดลูกเปิด และมีของเหลวไหลออกจากช่องคลอด ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจจะเป็นอาการเตือนทารกใกล้จะคลอดออกมาเร็ว ๆ นี้
แต่...ถ้ามีอาการท้องแข็ง กดแล้วเจ็บ แต่ปากมดลูกไม่เปิด และไม่มีของเหลวไหลออกจากช่องคลอด หรืออาการปวดนั้นไม่หายไปแม้ว่าจะกินยาบรรเทาอาการปวดแล้วก็ตาม ก็ควรไปพบแพทย์ในทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพของแม่และเด็ก
อาการท้องแข็งเป็นก้อน หรือท้องปั้นแข็ง เป็นอาการผิดปกติหรือไม่
อาการท้องแข็งเป็นก้อน หรือท้องปั้นแข็งเป็นก้อนกลม ๆ หรือมีอาการท้องปั้นบ่อย โดยทั่วไปแล้วไม่ถือว่าเป็นอาการผิดปกติเสียทีเดียว
แต่...ถ้าหากมีอาการท้องแข็งเป็นก้อน หรือท้องปั้นแข็ง โดยที่ยังไม่ใกล้กำหนดคลอด และมีอาการปวดรุนแรงร่วมด้วย ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากแม่ท้องมีการกลั้นปัสสาวะบ่อย ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา
ท้องแข็งแบบไหนควรไปหาหมอ
ท้องแข็งแบบไหนควรไปหาหมอ? หากมีอาการท้องแข็ง ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที
- มีอาการท้องแข็ง แต่ไม่มีอาการปวด และท้องแข็งบ่อยและสม่ำเสมอ
- มีอาการท้องแข็ง และมีอาการปวด แต่อาการปวดไม่ทุเลาลง แม้ว่าจะพักผ่อนหรือกินยาบรรเทาอาการปวดแล้ว
- มีอาการท้องแข็งก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์
- มีอาการท้องแข็ง น้ำใสไหลออกจากช่องคลอด
- มีอาการท้องแข็ง และมีเลือดไหลออกทางช่องคลอด
- ปกติอาการท้องแข็งจะปวดทุก ๆ 5 - 10 นาที แต่ถ้ามีอาการท้องแข็ง และมีอาการปวดเกิดขึ้นในแต่ละรอบ โดยที่ยังไม่ถึง 5 นาทีก็ปวดขึ้นมาอีก ควรไปพบแพทย์ทันที
วิธีแก้อาการท้องแข็งที่คุณแม่ควรรู้
หากเริ่มมีอาการท้องแข็ง คุณแม่สามารถดูแลตัวเองง่าย ๆ ได้ ดังนี้
- ลดการทำงานหนัก โดยเฉพาะงานที่ต้องมีการยก แบก หรือใช้แรง
- ไม่กลั้นปัสสาวะโดยเด็ดขาด เพราะการกลั้นปัสสาวะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องแข็ง
- งดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไตรมาส 3 หรือช่วงที่เริ่มมีอาการท้องแข็ง
- หากิจกรรมผ่อนคลาย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เพื่อไม่ให้ตัวเองเครียด เพราะความเครียดก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องแข็ง
- เมื่อมีอาการท้องแข็งเกิดขึ้น ลองลุกขึ้นเดิน หรือเปลี่ยนอริยาบทบ่อย ๆ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- กินอาหารเอาแค่พออิ่ม ไม่กินจนอิ่มมากเกินไป
- อาบน้ำอุ่น หรือประคบเย็น ที่บริเวณหน้าท้อง หรือบริเวณหลัง ซึ่งจะช่วยในการผ่อนคลาย
ไขข้องใจเรื่องอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์กับ Enfa Smart Club
อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือน ปกติหรือไม่?
อาการท้องแข็งสามารถพบได้บ่อยในช่วงช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ดังนั้น อาการท้องแข็งในเดือนที่ 8 จึงสามารถเกิดขึ้นได้และไม่ถือว่าผิดปกติ
แต่ถ้ามีอาการท้องแข็งอย่างสม่ำเสมอ และมีอาการปวดท้อง ปากมดลูกเปิด น้ำคร่ำไหล อาจเป็นสัญญาณของการคลอด ควรไปพบแพทย์ทันที
อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 5 เดือน ปกติหรือไม่?
อาการท้องแข็งบางครั้งก็สามารถพบได้ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ แต่จะไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ส่วนมากจะพบได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 เสียมากกว่า ดังนั้น หากมีอาการท้องแข็งในเดือนที่ 5 ก็ไม่ถือว่าผิดปกติ
แต่ถ้าในเดือนที่ 5 มีอาการท้องแข็ง และมีอาการปวดท้อง ปากมดลูกเปิด น้ำคร่ำไหล อาจเป็นสัญญาณของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งถือว่าผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที
อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 4 เดือน ปกติหรือไม่?
อาการท้องแข็งบางครั้งก็สามารถพบได้ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ แต่จะไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ส่วนมากจะพบได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 เสียมากกว่า ดังนั้น หากมีอาการท้องแข็งในเดือนที่ 4 ก็ไม่ถือว่าผิดปกติ
แต่ถ้าในเดือนที่ 4 มีอาการท้องแข็ง และมีอาการปวดท้อง ปากมดลูกเปิด น้ำคร่ำไหล อาจเป็นสัญญาณของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งถือว่าผิดดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที
ท้องแข็งถี่แต่ไม่ปวดท้อง ควรไปพบแพทย์ไหม?
อาการท้องแข็งถี่ และไม่มีอาการปวดท้องร่วมด้วย โดยมากแล้วเราจะสันนิษฐานว่าเป็นอาการเจ็บครรภ์หลอก เพียงพักผ่อนหรือปรับอริยาบถก็จะรู้สึกดีขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์
อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตอาการอื่นร่วมด้วยว่ามีอาการท้องแข็งสม่ำเสมอ มีของเหลวใสไหลออกจากช่องคลอด หรือมีมูกเลือดออกหรือไม่ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของการคลอด ควรไปพบแพทย์ทันที
ท้องน้อยแข็ง ประจำเดือนไม่มา แบบนี้เป็นอาการคนท้องหรือเปล่า?
หากประจำเดือนไม่มา และตรวจการตั้งครรภ์แล้วพบว่าท้อง ก็เป็นคำตอบที่ชัดเจนว่ากำลังมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ส่วนอาการท้องน้อยแข็งนั้น โดยมากมักไม่พบในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ดังนั้น หากตรวจพบว่ามีการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก และมีอาการท้องน้อยแข็งร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือการแท้ง
ท้องแข็งบ่อยตอนอายุครรภ์ 38 สัปดาห์ เป็นอาการเตือนใกล้คลอดหรือเปล่า?
ท้อง 38 สัปดาห์ ท้อง 37 สัปดาห์ ท้องแข็งบ่อยแต่ไม่ปวดท้องเกิดขึ้นได้ อาการท้องแข็งมักพบได้บ่อยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 สัปดาห์สุดท้ายก่อนคลอด และจะมีอาการใกล้คลอดต่าง ๆ เกิดขึ้นตามมาด้วย เป็นสัญญาณให้รู้ว่าใกล้คลอดแล้ว เช่น ทารกเริ่มกลับหัว มีมูกเลือด หรือน้ำใสไหลออกจากช่องคลอด ท้องแข็ง เป็นต้น
ท้อง 7 เดือนท้องแข็งบ่อย ต้องกังวลเรื่องคลอดก่อนกำหนดไหม?
ช่วงเดือนที่ 7 อาจพบกับอาการท้องแข็งได้บ้าง หรืออาจจะเกิดขึ้นบ่อยแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลก็ได้
แต่ถ้าในเดือนที่ 7 มีอาการท้องแข็งบ่อย ร่วมกับอาการปวดท้อง น้ำคร่ำไหล อาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งถือว่าผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที
ท้อง 1 เดือน ท้องแข็งไหม?
ท้อง 1 เดือน โดยทั่วไปแล้วจะไม่มีอาการท้องแข็งร่วม เพราะมดลูกยังไม่ขยายพอที่จะเกิดการบีบตัวหรือหดตัว
แต่ถ้ามีอาการท้องแข็งเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนแรกหรือไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
ตั้งครรภ์ 3 เดือน ท้องแข็งเป็นก้อน อันตรายไหม?
อาการท้องแข็งนั้น โดยมากมักไม่พบในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ดังนั้น หากพบว่ามีอาการท้องแข็งเกิดขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรก ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 7 เดือน ปกติไหม?
อาการท้องแข็งสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 แต่จะพบได้บ่อยในช่วงช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ดังนั้น อาการท้องแข็งในเดือนที่ 7 จึงสามารถเกิดขึ้นได้และไม่ถือว่าผิดปกติ
แต่ถ้าในเดือนที่ 7 มีอาการท้องแข็ง และมีอาการปวดท้อง น้ำคร่ำไหล อาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ควรไปพบแพทย์ทันที
อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 6 เดือน ปกติไหม?
อาการท้องแข็งสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 แต่จะพบได้บ่อยในช่วงช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ดังนั้น อาการท้องแข็งในเดือนที่ 6 จึงสามารถเกิดขึ้นได้และไม่ถือว่าผิดปกติ
แต่ถ้าในเดือนที่ 6 มีอาการท้องแข็ง และมีอาการปวด น้ำคร่ำไหล อาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ควรไปพบแพทย์ทันที
ตั้งครรภ์ นอนหงาย แล้วท้องแข็ง แบบนี้ปกติหรือไม่?
หากนอนหงายแล้วรู้สึกว่าท้องแข็ง ไม่ถือว่าเป็นอาการผิดปกติแต่อย่างใด ซึ่งท้องแข็งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น คุณแม่กินอิ่มจนเกินไป หรือลูกน้อยกำลังดิ้น การเปลี่ยนอริยาบทจากการนอนหงายเป็นนอนตะแคง นั่ง หรือเดิน ก็อาจจะช่วยบรรเทาอาการท้องแข็งได้
ท้องแข็ง หายใจไม่สะดวก เป็นอาการปกติระหว่างตั้งครรภ์ไหม?
หากมีอาการท้องแข็งติดกันถี่ ๆ 4-5 ครั้งต่อวัน โดยท้องแข็งแต่ละครั้งจะนานตั้งแต่ 10-15 นาที มีอาการปวดท้องร่วมด้วย และอาการปวดนั้นไม่ทุเลาลง จนรู้สึกหายใจไม่ออก หรือหายใจไม่สะดวก ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของอาการคลอดได้
ท้อง 2 เดือน ท้องแข็งไหม?
อาการท้องแข็งนั้น โดยมากมักไม่พบในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ดังนั้น หากพบว่ามีอาการท้องแข็งเกิดขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรก ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
ท้องแข็งใกล้คลอดอันตรายไหม? ควรรีบไปโรงพยาบาลเลยหรือเปล่า?
อาการท้องแข็งนั้น แบ่งเป็น ท้องแข็งแบบเจ็บครรภ์หลอก และท้องแข็งแบบใกล้คลอด ซึ่งทั้งสองอาการนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสัญญาณใกล้คลอดทั้งสิ้น สิ่งสำคัญคือควรเช็กดูว่ามีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยไหม เช่น มีอาการปวดท้อง ตั้งครรภ์ปวดหลัง ปากมดลูกเปิด น้ำคร่ำไหล มีมูกเลือด ซึ่งอาการเช่นนี้ถือว่าเป็นสัญญาณปกติของอาการใกล้คลอด และควรไปพบแพทย์ทันที
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
• แม่ ๆ เช็กให้พร้อม ดูซิ! ของเตรียมคลอดที่จำเป็นมีอะไรบ้าง
• บล็อกหลังผ่าคลอดปลอดภัยไหม เสี่ยงอันตรายหรือเปล่า
• ผ่าคลอด 101 คุณแม่ควรรู้อะไรเกี่ยวกับการผ่าคลอดบ้าง
• เข้าใจการคลอดธรรมชาติ ปลอดภัยและไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
• คลอดลูกในน้ำ วิธีคลอดแบบใหม่ เจ็บน้อยลง ฟื้นตัวเร็วขึ้น
• อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม? ไม่อยู่ไฟหลังคลอดได้หรือเปล่า?
• รู้จักกับน้ำคาวปลาหลังคลอด ที่แสนจะกวนใจคุณแม่
• แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่ติดเชื้อ
• แผลผ่าคลอด ดูแลอย่างไร ให้หายเร็ว และลดรอย
• ลดน้ำหนัก ลดหน้าท้องหลังคลอด ลดยังไงให้ปลอดภัย และได้ผล
• เริ่มเลย! ออกกำลังกายหลังคลอด ทวงหุ่นฟิต พิชิตความเฟิร์ม
• ภูมิแพ้ในเด็ก คุณแม่ควรรับมืออย่างไรเมื่อลูกน้อยเป็นภูมิแพ้
• สะดือคนท้อง แต่ละไตรมาสเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
• อาการท้องผูก ตั้งครรภ์อ่อน ๆ ปกติไหม
• ท่าการมี Sex ท้อง 2 เดือน มีเพศสัมพันได้ไหม
• คนท้องควรนอนท่าไหน หลับสบาย ปลอดภัย
• ตรวจครรภ์ตอนเย็นไม่ท้อง ตอนเช้าท้อง เอ๊ะ ตรวจตอนไหนแม่นสุด
• ไขข้อสงสัย ลูกไม่ดิ้นกี่ชั่วโมงต้องไปหาหมอ
- Michigan Medicine: University of Michigan. Contractions During Pregnancy: What to Expect. [Online] Accessed https://www.uofmhealth.org/health-library/tm6618. [21 February 2022]
- March of Dimes. CONTRACTIONS AND SIGNS OF LABOR. [Online] Accessed https://www.marchofdimes.org/pregnancy/contractions-and-signs-of-labor…. [21 February 2022]
- Healthline. What Do Different Types of Labor Contractions Feel Like?. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/pregnancy/types-of-contractions. [21 February 2022]
- Verywell Health. What Are Contractions?. [Online] Accessed https://www.verywellhealth.com/contractions-5116154. [21 February 2022]
- American Pregnancy Association. Braxton Hicks Contractions. [Online] Accessed https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/labor-and-birth/braxton…. [21 February 2022]
- โรงพยาบาลนครธน. สัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด เตรียมพร้อมได้ทันเวลา. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.nakornthon.com/article/detail/. [21 กุมภาพันธ์ 2022]
- โรงพยาบาลสมิติเวช. 5 สัญญาณอันตรายระหว่างตั้งครรภ์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/. [21 กุมภาพันธ์ 2022]
- โรงพยาบาลพญาไท. ท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงอันตรายแค่ไหน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.phyathai.com/article_detail/2688/th/. [21 กุมภาพันธ์ 2022]
- โรงพยาบาลพญาไท. อาการท้องแข็ง อันตรายของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเครียด. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.phyathai.com/article_detail/2689/th/. [21 กุมภาพันธ์ 2022]
- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ตั้งครรภ์ ท้องแข็ง คืออะไร ต้องทำเช่นไร?. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/. [21 กุมภาพันธ์ 2022]
- คม ชัด ลึก ออนไลน์. แม่ท้องต้องรู้ ท้องแข็งแบบไหนไม่ปกติ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/382036. [21 กุมภาพันธ์ 2022]
- โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต. ท้องแข็งขณะตั้งครรภ์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://ch9airport.com/th/ท้องแข็งขณะตั้งครรภ์/. [23 กรกฎาคม 2024]