ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เจ็บเต้าสองข้าง ประจําเดือนไม่มา

เจ็บเต้าสองข้าง ประจําเดือนไม่มา แปลว่าท้องหรือเปล่านะ?

Enfa สรุปให้

  • เจ็บเต้าสองข้าง ประจําเดือนไม่มา เป็นอาการคนท้องแรกสุดที่คุณแม่สามารถพบได้ โดยมากหากตรวจด้วยที่ตรวจครรภ์ก็มักจะพบว่ากำลังตั้งครรภ์จริง
  • อาการคัดเต้า ประจําเดือนไม่มา บ่อยครั้งก็ไม่ได้เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ แต่เป็นสัญญาณสุขภาพอื่น ๆ เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ มีซีสต์ในเต้านม เป็นต้น
  • อาการคัดเต้าก่อนประจําเดือนกี่วัน? โดยทั่วไปผู้หญิงมักจะมีอาการเจ็บเต้านมก่อนมีประจำเดือน 2-3 วัน และอาการจะหายไปเมื่อประจำเดือนมา หรือหมดประจำเดือน แต่ถ้ากำลังตั้งครรภ์ อาการดังกล่าวจะเจ็บไปอีกนาน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • อาการคัดเต้าก่อนประจําเดือนกี่วัน
     • เจ็บเต้าสองข้าง ประจําเดือนไม่มา แบบนี้ท้องหรือเปล่า
     • อาการคัดเต้า ประจําเดือนไม่มา บอกอะไรบ้าง
     • อาการคัดเต้า ตกขาว ท้องหรือเปล่านะ
     • ไม่คัดเต้า ประจําเดือนไม่มา มีโอกาสท้องไหม

อาการคัดตึงเต้านม เจ็บเต้านมข้างใดข้างหนึ่ง เจ็บเต้าสองข้าง ประจําเดือนไม่มา เป็นหนึ่งในสัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาการคัดเต้า ประจําเดือนไม่มา ก็อาจไม่ได้หมายถึงการตั้งครรภ์เสมอไป อาจเป็นเพียงอาการคัดเต้าก่อนประจําเดือนกี่วันก็ได้เช่นกัน บทความนี้จาก Enfa จะชวนมาพูดคุยเกี่ยวกับอาการเจ็บเต้านมค่ะ มาดูกันว่าเจ็บเต้านมแบบไหนที่แปลว่าตั้งครรภ์ และเจ็บเต้านมแบบไหน ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์

อาการคัดเต้าก่อนประจําเดือนกี่วัน


อาการคัดเต้านม เจ็บเต้านม ที่ไม่ใช่การตั้งครรภ์ มักจะเกิดขึ้นช่วง 2-3 วันก่อนมีประจำเดือน และเมื่อประจำเดือนมา หรือประจำเดือนหมดไปแล้ว อาการคัดเต้านมก็จะหายไป โดยส่วนใหญ่มักจะหายปวดเต้านมในวันแรกที่ประจำเดือนมาตามปกติ

เจ็บเต้าสองข้าง ประจําเดือนไม่มา แบบนี้ท้องหรือเปล่า


คัดเต้า ประจําเดือนไม่มา นี่เป็นสัญญาณการตั้งครรภ์จริงค่ะ แต่...จำเป็นจะต้องมีการตรวจครรภ์ให้แน่ชัดเสียก่อน จึงจะสามารถฟันธงได้ว่าตั้งครรภ์จริงเปล่า 

ดังนั้น หากมีอาการเจ็บเต้านมสองข้าง ประจำเดือนไม่มา ให้ซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจ ถ้าผลปรากฎว่าตั้งครรภ์จริง ให้คุณแม่รีบไปฝากครรภ์ทันที

แต่ในกรณีที่เจ็บเต้านมสองข้าง ประจำเดือนไม่มา แต่ตรวจแล้วไม่พบการตั้งครรภ์ Enfa ก็ขอแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ด้วยเช่นกันค่ะ  เพราะบางครั้งอาการเจ็บเต้านมอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่จำเป็นจะต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมจากแพทย์ เพื่อจะได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที

อาการคัดเต้า ประจําเดือนไม่มา บอกอะไรบ้าง


อาการคัดเต้า ประจำเดือนไม่มา หรือเจ็บเต้าสองข้าง ประจำเดือนไม่มา ไม่ได้เป็นสัญญาณของอาการตั้งครรภ์เสมอไป เพราะยังสามารถเป็นสัญญาณอื่น ๆ ได้อีกหลายกรณี ดังนี้

  • เจ็บเต้าสองข้าง ประจำเดือนไม่มา และเกินกำหนดที่ประจำเดือนจะต้องมาตามปกติไปแล้ว 1-2 วัน อาจเป็นไปได้ว่าตั้งครรภ์จริง
  • เจ็บเต้าสองข้าง ประจำเดือนไม่มา แต่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เพียงแต่ประจำเดือนอาจมาช้ากว่าปกติ
  • เจ็บเต้าสองข้าง ประจำเดือนไม่มา แต่ไม่ได้ตั้งครรภ์  อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ มีก้อนซีสต์ที่เต้านม
  • ในกรณีคุณแม่ให้นมลูกที่มีอาการเจ็บเต้าสองข้าง ประจำเดือนไม่มา อาจไม่ได้หมายถึงการตั้งครรภ์ แต่อาจเกิดจากการอุดตันของท่อน้ำนม หรือเต้านมอักเสบเพราะน้ำนมคั่งค้างในเต้านม หรือเพราะมีเลือดไหลเวียนไปยังเต้านมมากขึ้นในช่วงระยะแรกหลังคลอด

หากได้ทำการตรวจครรภ์หลังจากมีอาการคัดเต้า ประจำเดือนไม่มา และพบว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจสุขภาพหาความผิดปกติที่เกิดขึ้น และรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

อาการคัดเต้า ตกขาว ท้องหรือเปล่านะ


อาการคัดเต้า ตกขาว อาจเป็นไปได้ว่าตั้งครรภ์จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประจำเดือนไม่มา แต่อาการคัดเต้านั้นไม่หายไป และมีตกขาวปริมาณมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม อาการคัดเต้า ตกขาว แต่ไม่ประจำเดือนยังไม่มา ก็อาจไม่ได้แปลว่าท้อง แต่อาจมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น 
ประจำเดือนมาไม่ปกติ

  • ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • กรดไหลย้อน 
  • อาหารเป็นพิษ 
  • อุ้งเชิงกรานอักเสบ

ดังนั้น หากมีอาการคัดเต้านม มีตกขาว และประจำเดือนไม่มา ให้ลองซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจดูก่อน หากผลออกมาว่าตั้งครรภ์จริง ควรรีบไปฝากครรภ์ทันที แต่ถ้าไม่ได้ตั้งครรภ์ ควรหาโอกาสไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยร่างกายเพิ่มเติม

ไม่คัดเต้า ประจําเดือนไม่มา มีโอกาสท้องไหม


ไม่คัดเต้า ประจําเดือนไม่มา มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ และก็มีโอกาสที่จะไม่ตั้งครรภ์ค่ะ

ถึงแม้ว่าประจำเดือนไม่มา จะเป็นสัญญาณแรกสุดของการตั้งครรภ์ แต่บ่อยครั้งที่อาจมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

ดังนั้น หากประจำเดือนไม่มา และสงสัยว่าอาจจะตั้งครรภ์ ให้ทำการตรวจด้วยที่ตรวจครรภ์ ก็จะทราบได้ทันทีว่าตั้งครรภ์หรือเปล่า และถ้าหากตั้งครรภ์จริง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการฝากครรภ์

แต่ถ้าหากตรวจแล้วพบว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ และประจำเดือนยังไม่มา ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจร่างกายหาความผิดปกติอื่น ๆ 

อนาคตที่ดีที่สุดของลูกน้อย เริ่มต้นด้วยโภชนาการผ่านคุณแม่


ในช่วงตั้งครรภ์ โภชนาการมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างสุขภาพของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ การได้รับสารอาหารที่เพียงพอและเหมาะสมจะช่วยให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรง มีพัฒนาการที่สมวัย และลดความเสี่ยงจากภาวะต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น การดูแลโภชนาการจึงเป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

สารอาหารหลักที่คุณแม่ควรได้รับในช่วงนี้ ได้แก่:

  • โปรตีน ช่วยสร้างอวัยวะและเพิ่มความแข็งแรง พบในเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน สัตว์ปีก ไข่ และพืชตระกูลถั่ว
  • แคลเซียมและวิตามินดี สำคัญต่อกระดูกและฟัน พบในผลิตภัณฑ์นม ผักใบเขียว และอาหารเสริม
  • ธาตุเหล็ก ป้องกันโลหิตจาง พบในเนื้อแดง ตับ และผักสีเขียวเข้ม
  • โฟเลต สำคัญต่อระบบประสาทและสมอง พบในตับ ไข่ และผักใบเขียว
  • ไอโอดีน ป้องกันไทรอยด์ พบในอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์นม
  • ไฟเบอร์ ควบคุมน้ำตาลในเลือดและลดความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ พบในผักและผลไม้

ซึ่งนอกจากกลุ่มอาหารเหล่านี้แล้ว คุณแม่ยังสามารถเสริมด้วยนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ อาจเลือกดื่มนมเอนฟามาม่า เอพลัส วันละ 2 แก้ว เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมและโคลีนตามความต้องการของคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรในแต่ละวัน (THAI DRI)



บทความแนะนำสำหรับเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

ตรวจตั้งครรภ์ เร็วสุดกี่วัน
เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง
ตรวจครรภ์ 1 ขีด มีโอกาสท้องไหม
Enfa Smart Club

Leaving page banner