Enfa สรุปให้
- การดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับร่างกายคุณแม่ผ่าคลอด เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นตัวอย่างเต็มประสิทธิภาพ และแผลผ่าสมานตัวได้ดี ซึ่งไม่เพียงดีกับร่างกายคุณแม่เท่านั้น แต่ยังส่งผลดีกับน้ำนมของคุณแม่อีกด้วย
- โดยปกติแล้ว หลังเข้ารับการผ่าคลอด จะต้องพักฟื้นร่างกายที่โรงพยาบาลประมาณ 3 – 4 วัน ก่อนที่จะสามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้
- หลังการผ่าคลอด ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนักที่มีน้ำหนักมากกว่าตัวลูกน้อย การออกกำลังกายที่ใช้แรงจำนวนมาก รวมทั้งการขึ้น – ลง บันไดบ่อยครั้ง เพื่อป้องกันแผลฉีกขาด
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• หลังผ่าคลอดต้องดูแลตัวเองอย่างไร
• ดูแลแผลผ่าคลอดให้หายไว ไร้รอย
• ผ่าคลอดอยู่ไฟ อาบน้ำ ออกกำลังกายได้ไหม
• มีเพศสัมพันธ์หลังผ่าคลอดได้เมื่อไหร่
• ผ่าคลอดแล้วท้องไม่ยุบ ปวดแผล ทำยังไง
• เคล็ดรับดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด
ในปัจจุบัน การผ่าคลอดได้เข้ามาเป็นอีกวิธีหนึ่งในการคลอดลูก คุณแม่หลายคนที่ได้รับการประเมินว่าควรผ่าคลอด จะต้องเตรียมความพร้อมร่างกายทั้งก่อน และหลังการผ่า โดยเฉพาะการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด ซึ่งมีข้อกำหนด และข้อหลีกเลี่ยงในการฟื้นตัว คุณแม่จึงจำเป็นต้องมีความรู้ และความเข้าใจ เพื่อดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลังผ่าคลอด คุณแม่ควรดูแลร่างกายอย่างไรบ้าง
หลังผ่าคลอดในช่วงแรก ๆ คุณแม่จะพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาล โดยหลังผ่าคลอดคุณแม่จะต้องงดน้ำ และอาหารประมาณ 12 – 24 ชั่วโมงแรกหลังได้เข้ารับการผ่าตัดแล้ว ในวันถัดมาจึงสามารถดื่ม หรือรับประทานอาหารเหลว และอาหารอ่อนได้ตามลำดับ ถัดจากนั้น จึงสามารถรับประทานอาหารปกติได้
โดยหลังการผ่าคลอด คุณแม่ควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อเสริมสร้าง และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายในข่วงระหว่างการผ่าคลอด นอกจากนี้ น้ำ ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรดื่มให้เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ ซึ่งยังมีส่วนช่วยในการผลิตน้ำนมของคุณแม่อีกด้วย
เสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กผ่าคลอดอย่างไร เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดีต้องมีครบ 3
คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การผ่าคลอด (C-Section) คือ การผ่าตัดโดยนำทารกออกมาผ่าทางหน้าท้อง จึงทำให้ทารกไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (Gut Microbiome) จากบริเวณช่องคลอดของแม่ ซึ่งทำให้เด็กผ่าคลอดอาจมีพัฒนาการภูมิคุ้มกันแรกเกิด และสุขภาพลำไส้ช้ากว่าเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติ ส่งผลให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น
Cs-Biome หรือ Commensal Microbiome
คือ ดีเอ็นเอของกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่รวมกัน เช่นบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่พบในน้ำนมแม่ มีส่วนช่วยทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง พัฒนาระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลูกขับถ่ายดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้ MFGM และ DHA ในนมแม่ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองในช่วงเริ่มต้นของชีวิต
การดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดและก่อนออกจากโรงพยาบาล
หลังผ่าคลอดไม่อยากแผลหายช้า แผลอักเสบ แม่และคนใกล้ชิดควรเรียนรู้วิธีการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด เพื่อให้ร่างกายค่อย ๆ กลับคืนสู่สภาพปกติ ฟื้้นตัวได้เร็ว และพร้อมปรับตัวเข้าสู่บทบาทความเป็นแม่อย่างเต็มที่นะคะ
เอนฟามีเคล็ดลับดี ๆ ในการเตรียมความพร้อมสำหรับแม่ที่จะผ่าคลอด เพื่อลดความตื่นเต้น และป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นคุณแม่ต้องเตรียมตัวตามนี้เลยนะคะ
1. หลังจากการผ่าตัดในวันแรก ๆ คุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนอริยาบถได้ ด้วยการลุกนั่ง ลุกเดินใกล้ ๆ เพื่อช่วยให้ลำไส้กลับมาทำงานได้เร็ว ทำให้ไม่ท้องอืด และลดการเกิดพังผืดในช่องท้อง รวมทั้งป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตัน การเดินในช่วงแรก ๆ อาจจะยังไม่สามารถเดินได้ตามความเร็วปกติ และอาจจะมีอาการวิงเวียนศีรษะ หรือหายใจถี่ได้
2. สายสวนปัสสาวะจะสามารถถอดได้หลังการผ่าตัด 12 – 24 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้น คุณแม่สามารถเดินเข้าห้องน้ำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งการปัสสาวะหลังนำสายสวนออกแล้ว อาจจะทำให้เกิดอาการแสบ หรือเจ็บในบางครั้ง สามารถขอแนะนำวิธีการขับถ่ายที่ลดการเจ็บปวดจากพยาบาล หรือผู้ช่วยได้
3. ห้ามไม่ให้แผลผ่าคลอดถูกน้ำประมาณ 7 วัน หากเย็บแผลด้วยไหมละลายไม่ต้องตัดไหม แต่หากเย็บด้วยไหมธรรมดา ควรตัดไหมเมื่อครบ 7 วัน
4. การผ่าคลอดอาจจะทำให้คุณแม่มีอาการปวดแผลชั่วคราว การรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ จึงควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลไข้ ว่าสามารถรับประทานยาแก้ปวดชนิดไหนได้บ้าง รวมทั้งยาที่ต้องรับประทานระหว่าง และหลังออกจากโรงพยาบาล ในคุณแม่ที่ให้นมลูก ควรสอบถามถึงผลข้างเคียงของยา หรือการเลี่ยงใช้ยาชนิดไหนประกอบร่วมด้วย เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยที่ดื่มนมแม่
5. หลังการผ่าคลอด มดลูกจะค่อย ๆ เริ่มหดตัวลงให้มีขนาดเท่าเดิมก่อนตั้งครรภ์ นอกจากนี้มดลูกจะขับน้ำคาวปลาออกมาตามปกติประมาณ 4 – 6 สัปดาห์หลังการผ่าคลอด ซึ่งระยะเวลาขึ้นอยู่ตามแต่ละบุคคล โดยคุณแม่ควรใช้ผ้าอนามัยชนิดดูดซับพิเศษ และไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือแบบถ้วยในช่วงเวลานี้
การดูแลร่างกายเมื่อกลับมาพักฟื้นที่บ้าน
เมื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกจากโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว และแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านไปพักฟื้นได้ การดูแลสุขภาพหลังกลับมาพักฟื้นที่บ้านสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด มีข้อแนะนำ ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้แรงจำนวนมาก เช่น การยกของหนักกว่าน้ำหนักลูก หลีกเลี่ยงการทำงานบ้างบางชนิด การเดินขึ้น – ลง บันไดถี่ หรือบ่อยครั้ง
2. ดื่มน้ำให้เพียง และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่ผ่านการปรุงสุก และผ่านกรรมวิธีที่สะอาด
3. ควรจัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้ และอาหารไว้ใกล้ตัว เพื่อเลี่ยงการเดินบ่อยครั้ง
4. หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ มีน้ำ หรือเลือดออกจากแผลผ่าตัด ปวดแผลมากขึ้นกว่าปกติ แผลบวมแดง มีหนอง มีน้ำคาวปลาออกมาปริมาณมากขึ้นกว่าปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
ทำความสะอาดแผลผ่าคลอดอย่างไรให้แผลหายไว ไม่ทิ้งรอย
การดูแลรักษาแผลผ่าคลอดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด ที่ต้องใส่ใจ และหมั่นดูแลจนกว่าแผลจะสมานตัว และหายเป็นปกติ โดยในช่วงหลังผ่าคลอด 7 วันแรก ไม่ควรให้แผลโดนน้ำ และหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่อาจจะทำให้แผลฉีกขาดได้ง่าย นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ก็ช่วยให้ร่างกายนำสารอาหารไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้
ระยะเวลาที่แผลผ่าคลอดจะหาย และสมานเป็นปกติ อาจจะใช้เวลาแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ คุณแม่สามารถดูแลแผลผ่าคลอดได้ง่าย ๆ ดังนี้
• รักษาความสะอาด: ทำความสะอาดด้วยการล้างน้ำ และสบู่อ่อน ๆ บริเวณแผลเบา ๆ ในระหว่างอาบน้ำทุกวัน หลังจากนั้นซับให้แห้ง หากคุณแม่ต้องการทาผลิตภัณฑ์จำพวกครีมทาลดรอย หรือเพื่อปลอบประโลมผิวบริเวณแผลผ่าคลอด ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสำหรับคำแนะนำในการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้
• หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวบ่อยครั้ง คุณแม่ควรเลี่ยงการออกกำลังกาย และการเคลื่อนไหว เช่น การก้ม งอตัว บิดเอว พลิกตัวไปมาบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการฉีกขาดของแผลผ่าคลอด รวมทั้งจะทำให้แผลสมานตัวช้า
• สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ง่าย และไม่คับแน่นเกินไป: หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่คับแน่น และกดทับบริเวณบาดแผล รวมทั้งการสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ยาก จะทำให้บาดแผลผ่าคลอดหายได้ช้า
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง: การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรืออาหารครบ 5 หมู่ มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าคลอด รวมทั้งแผลผ่าคลอกอีกด้วย นอกจากการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดแล้ว การไปพบแพทย์ตามนัด เพื่อตรวจเช็กอาการก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่คุณแม่ไม่ควรเลี่ยง หรือผิดนัด
เพื่อให้แผลผ่าคลอดหายไว และสมานตัวได้เร็ว การดูแลตัวเองตามคำแนะนำเบื้องต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรปฏิบัติ นอกจากนี้ การติดตามผลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรเลี่ยง หรือผิดนัด เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจดูบาดแผลให้แน่ชัดว่า สมานตัวได้ดี และไม่มีปัญหาการติดเชื้อตามมา หากคุณแม่มีข้อสงสัยในการรักษารอยผ่าคลอด ก็สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เช่นกัน
ผ่าคลอดกี่วันเดินได้ และคุณแม่ผ่าคลอดควรพักฟื้นกี่วัน
หลังจากการผ่าคลอดวันแรก เมื่อได้รับการถอดสายสวนปัสสาวะแล้ว คุณแม่สามารถเดินในระยะใกล้ ๆ ได้ การเดินระยะสั้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนอิริยาบถจะช่วยให้ลำไส้ของคุณแม่กลับมาทำงานได้เร็วขึ้น ท้องไม่อืด ลดการเกิดพังผืดในช่องท้อง และป้องกันการภาวะลิ่มเลือดอุดตัน โดยเน้นการเดินช้า ๆ ไม่เปลี่ยนท่าทางแบบฉับไวเพื่อป้องกันการฉีกขาดของบาดแผล
ทั้งนี้ คุณแม่ที่เข้ารับการผ่าคลอด จะใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 3 – 4 วัน หรือหากแพทย์ตรวจดูแล้วไม่พบภาวะแทรกซ้อนก็สามารถออกจากโรงพยาบาลไปพักฟื้นที่บ้านต่อได้ ซึ่งโดยปกติแล้วแผลผ่าคลอดของคุณแม่จะหายดีประมาณ 2 – 4 สัปดาห์
วิธีลุกจากเตียงหลังผ่าคลอด ทำยังไงให้ไม่เจ็บแผล
แน่นอนว่าการผ่าคลอด จะทำให้คุณแม่มีอาการปวด หรือเจ็บแผลผ่า โดยช่วง 24 ชั่วโมงแรกคุณแม่จะได้รับยาแก้ปวดฉีดเข้าหลอดเลือด หรือกล้ามเนื้อ หลังจากนั้นจะได้รับยาแก้ปวดชนิดรับประทาน ซึ่งจะช่วยทุเลาอาการเจ็บ หรือปวดแผลได้บ้าง หากคุณแม่ต้องการลุกเดิน ลงจากเตียง ควรค่อย ๆ ปรับเปลียนอิริยบถช้า ๆ ก่อนจะลงจากเตียง จะช่วยลดอาการเจ็บแผล และป้องกันการฉีกขาดของบาดแผลได้
ท่านอนหลังผ่าคลอดที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่
การนอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ผ่าคลอดเป็นอย่างมาก เนื่องจากจำเป็นต้องพักฟื้นร่างกายให้หายจากการผ่าคลอด และยังเป็นเรื่องยากสำหรับคุณแม่ ที่ต้องหาท่านอนที่สบายตัวหลังการผ่าตัดอีกเช่นกัน แล้วคุณแม่ผ่าคลอดนอนท่าไหนดี คุณแม่ควรเลือกท่านอนที่ไม่กดทับแผลผ่า เช่น
• นอนหงายหลัง: คุณแม่สามารถนอนหงายหลังได้ โดยอาจจะใช้หมอนหนุนบริเวณขา เพื่อเพิ่มความสบายตัวยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ผ้า หรือหมอนหนุนเพิ่มบริเวณเขา และบริเวณแขนได้อีกเช่นกัน
• นอนหงายหลัง และยกช่วงบนสูงขึ้น: ระหว่างที่พักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาล คุณแม่สามารถปรับเตียงคนไข้ให้ยกสูงได้ตามความต้องการ ซึ่งยังสามารถนอนหลับในท่านี้ได้อีกเช่นกัน หรือใช้หมอนหนุนศีรษะ และหลังเพื่อให้ท่านอนของคุณแม่สบายขึ้น นอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถปรับเป็นท่านั่งได้ หากรู้สึกสบายตัวในท่านั้น
• นอนตะแคงด้านข้าง: การนอนตะแคงด้านข้าง ยังเป็นอีกท่านอนที่คุณแม่ผ่าคลอดใช้ท่านี้นอนได้ แต่ควรหาหมอนหนุนระหว่างช่วงขา เพื่อไม่ให้กดทับบาดแผลเกินไป
ผ่าคลอดอยู่ไฟได้ไหม
การอยู่ไฟ เป็นศาสตร์การแพทย์แผนไทยโบราณ โดยการอยู่ไฟจะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายคุณแม่หลังคลอด ช่วยให้มดลูกเข้าอุ่ ขับน้ำคาวปลา และยังช่วยให้คุณแม่ไม่มีอาการหนาวสะท้าน สำหรับคุณแม่ผ่าคลอดแล้ว อาจจะมีคำถาม ผ่าคลอดต้องอยู่ไฟไหม หรือสามารถอยู่ไฟได้ไหม คำตอบคือได้ค่ะ
คุณแม่สามารถอยู่ไฟหลังคลอดได้ โดยสามารถอยู่ไฟในช่วงหลังคลอดเกิน 1 เดือนไปแล้ว หรือในช่วงที่แผลผ่าคลอดหายดีแล้ว แต่ไม่เกิน 3 เดือน หลังจากการผ่าคลอด และควรอยู่ไฟทุกวันติดต่อกันไม่เกิน 1 เดือน
ผ่าคลอดออกกำลังกายได้ตอนไหน
สำหรับคุณแม่สายสปอร์ต หรือคุณแม่ที่เคยออกกำลังกายเป็นประจำในช่วงก่อนตั้งครรภ์ และขณะตั้งครรภ์ อาจจะมีคำถามตามมาว่าผ่าคลอดกี่วันออกกำลังกายได้ ในช่วงหลังการผ่าคลอดแรก ๆ คุณแม่ควรงดการออกกำลังกายไปก่อน ควรรอให้แผลสมานตัว และหายดี โดยอาจจะใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์หลังการผ่าคลอด นอกจากนี้คุณแม่ควรปรึกษากับผู้เชี่ยว ว่าช่วงไหนที่สามารถออกกำลังได้แล้ว โดยแพทย์จะประเมินสภาพร่างกายคุณแม่ว่าพร้อมสำหรับการออกกำลังกายแล้วหรือไม่
ผ่าคลอดอาบน้ำได้ไหม ผ่าคลอดกี่วันสระผมได้
คุณแม่ที่เข้ารับการผ่าคลอด สามารถอาบน้ำและสระผมได้ตามปกติ หลังจากผ่านการผ่าคลอดไปแล้วประมาณ 7 วัน เนื่องจาก 7 วันแรกหลังการผ่าคลอดนั้น ห้ามไม่ให้แผลผ่าคลอดโดนน้ำ หรือจนกว่าแพทย์จะอนุญาตให้แผลโดนน้ำได้
อยากรู้ว่าวันไหนฤกษ์ดีสำหรับการผ่าคลอด เราได้รวบรวมฤกษ์ผ่าคลอด 2567 พยากรณ์โดย การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์พยากรณ์) มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรีได้ที่นี่ ฤกษ์ผ่าคลอด 2567
หลังจากผ่าคลอดน้ำคาวปลาหมดกี่วัน และประจำเดือนจะมาตอนไหน
หลังจากการคลอดลูก มดลูกจะเริ่มหดตัวกลับเข้าสู่ขนาดปกติก่อนการตั้งครรภ์ และจะขับสิ่งที่เรียกว่า “น้ำคาวปลา” ออกมา โดยจะใช้เวลาประมาณ 4 – 6 สัปดาห์หลังการผ่าคลอด ทั้งนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน ในบางรายอาจจะหมดเร็ว หรือบางรายอาจจะหมดช้า
สำหรับการมีประจำเดือนหลังการคลอดนั้น เป็นเรื่องที่ระบุแน่ชัดได้ยาก เนื่องจากขึ้นอยู่กับร่างกายของคุณแม่ละคน โดยคุณแม่ที่ให้นมจากเต้า สลับกับการให้นมจากขวดประจำเดือนคุณแม่จะกลับมาอย่างเร็วที่สุดประมาณ 5 – 6 สัปดาห์หลังการคลอด
แต่หากคุณแม่ให้นมแม่จากเต้าเพียงอย่างเดียว ไม่ใช้ขวดนม หรือจุก รวมทั้งให้ลูกเข้าเต้าในมื้อดึกเป็นประจำ ประจำเดือนของคุณแม่จะกลับมาก็ต่อเมื่อ คุณแม่หยุดให้ลูกเข้าเต้ามื้อดึก เนื่องจากฮอร์โมนที่ใช้ในการผลิตน้ำนมไปหยุดการทำงานของฮอร์โมนที่ใช้ในการควบคุมประจำเดือน
เพศสัมพันธ์หลังผ่าคลอดเริ่มมีได้เมื่อไหร่
สำหรับการมีเพศสัมพันธ์หลังผ่าคลอด จะต้องรอให้ผ่านพ้นไปประมาณ 4 – 6 สัปดาห์หลังการผ่าคลอด ถึงจะสามารถทำกิจกรรมนี้ได้ เนื่องจากจะต้องรอให้แผลผ่าคลอดสมานตัวดีกันเสียก่อน นอกจากนี้ อาจจะต้องรอให้น้ำคาวปลาขับหมดก่อนอีกด้วย ซึ่งระยะเวลาในการฟื้นตัว และการขับน้ำคาวปลาของคุณแม่แต่ละคนมีความแตกต่างกันไป คุณแม่ยังสามารถปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำในการมีเพศสัมพันธ์หลังการผ่าคลอดได้อีกเช่นกัน
ผ่าท้องไม่ยุบเกิดจากอะไร มีวิธีทำให้หน้าท้องยุบหลังผ่าคลอดไหม
ภายหลังการผ่าคลอด ขนาดหน้าท้องของคุณแม่ อาจจะยังไม่กลับไปเท่าขนาดหน้าท้องเดิมในช่วงก่อนตั้งครรภ์โดยทันที ทั้งนี้ คุณแม่ก็อย่างพึ่งกังวลไป หน้าท้องของคุณแม่จะค่อย ๆ ยุบลงหลังจากการผ่าคลอด ซึ่งอาจจะใช้เวลา 6 สัปดาห์ขึ้นไป หรือในบางรายอาจจะใช้เวลามากกว่านั้น
นอกจากนี้ การออกกำลังกาย ก็ยังสามารถช่วยให้หน้าท้องหลังคลอดยุบลงได้เช่นกัน แต่คุณแม่ควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะเริ่มออกกำลังกาย ว่าร่างกายของคุณแม่พร้อมสำหรับการออกกำลังกายแล้วหรือยัง อีกทั้งการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และมีประโยชน์ก็มีส่วนช่วยเช่นกัน
ท้องอืดหลังผ่าคลอดเกิดจากอะไร และอันตรายไหม
อาการท้องอืดหลังผ่าคลอด เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน โดยอาการท้องอืดหลังการคลอดลูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ผลข้างเคียงจากอาการท้องผูกหลังผ่าคลอด การรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ ภาวะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน นอกจากนี้ การผ่าคลอดยังสามารถทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ เนื่องจากการผ่าตัดจะทำให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนตัวช้า
อย่างไรด็ตาม ถึงแม้อาการท้องอืดหลังผ่าคลอด จะเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่หากมีอาการร่วม เช่น ปวดท้องมากกว่าปกติ ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ หรือมีอาการท้องอืดเป็นเวลานาน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยอาการ และรักษาต่อไป
ปวดหลังผ่าคลอดเกิดจากอะไร อาการปวดหลังหลังผ่าคลอดอันตรายไหม
อาการปวดหลัง นอกจากจะเกิดขึ้นในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว ยังสามารถเกิดขึ้นได้หลังการผ่าคลอดอีกด้วย โดยอาการปวดหลังมักเกิดขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังเข้ารับการผ่าคลอด และอาการปวดอาจจะต่อเนื่องยาวไปเป็นวัน ยาวเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน ซึ่งอาการปวดหลังนี้ เกิดได้ขึ้นจากสาเหตุเหล่านี้ ได้แก่
• ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง: ในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอย่าง “แลกซิน” ออกมา โดยฮอร์โมนชนิดนี้ จะทำให้ข้อต่อ หรือเอ็น บริเวณกระดูกเชิงกรานคลายตัว เพื่อให้ง่ายต่อการเบ่งลูก ซึ่งเมื่อข้อต่อ หรือเอ็นเกิดการคลายตัว และหลวม ก็ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังได้
• น้ำหนักตัว: หากคุณแม่มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในช่วงการตั้งครรภ์ ทำให้กระดูสันหลังต้องรองรับน้ำที่มากขึ้น จนนำไปสู่อาการปวดหลัง ซึ่งอาจจะมีอาการยาวไปจนถึงหลังคลอด
• อุ้มลูก และยกของ: บางครั้งอาการปวดหลังหลังการผ่าคลอดอาจจะเกิดจากกิจวัตรประจำวันอย่าง การอุ้มลูก และการยกของ คุณแม่ควรปรับเปลี่ยนท่าในการยกของ หรืออุ้มลูก โดยให้ตั้งหลังตรง และเน้นใช้ขารับน้ำหนักแทนหลัง เพื่อให้หลังเลี่ยงการรับน้ำหนักจากการยก หรืออุ้มที่จะเกิดขึ้น
• ท่าให้นม: สำหรับคุณแม่ที่ให้นมจากเต้า การให้นมด้วยท่าเดิม เป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ คุณแม่ควรปรับเปลี่ยนท่าให้นม โดยอาจจะใช้หมอนหนุนหลัง รวมทั้งหนุนช่วงแขนเพื่อซัพพอร์ตสรีระแม่ให้สบายมากขึ้น
• การฉีดยาบริเวณไขสันหลัง: สำหรับคุณแม่ที่ใช้ยาระงับความรู้สึกในระหว่างการผ่าคลอด ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาทางช่องเหนือไขสันหลัง (Epidural Block) หรือทางช่องน้ำไขสันหลัง (Spinal Block) อาจจะมีอาการปวดหลังชั่วคราวบริเวณที่เข็มฉีดเข้าไป โดยอาการจะหายไปเองไม่กี่วัน สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการประคบร้อน - เย็น รวมทั้งการพักผ่อนให้เพียงพอก็สามารถช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน
อาการปวดหลังหลังผ่าคลอด เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน ไม่เป็นอันตราย และอาการไม่ได้คงอยู่ระยะยาว หากพบว่าอาการปวดหลังไม่ได้ดีขึ้น หรือแย่ลง คุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดหลังได้เช่นกัน
อาการหลังผ่าคลอดลักษณะนี้ คุณแม่ควรไปพบแพทย์
หากคุณแม่พบอาการเหล่านี้หลังการผ่าคลอด เช่น มีไข้ มีน้ำ หรือเลือดออกจากบริเวณแผลผ่าตัด มีอาการปวดแผลมากขึ้นกว่าเดิม หรือแผลมีอาการบวมแดง มีน้ำคาวปลาออกมาในปริมาณที่มากขึ้นจากเดิม หรือยาวนานมากกว่า 2 สัปดาห์ คุณแม่ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ และทำการรักษาต่อไป
อยากรู้ว่าวันไหนฤกษ์ดีสำหรับการผ่าคลอด เราได้รวบรวมฤกษ์ผ่าคลอด 2567 ฤกษ์ดีปีมังกรทอง วันไหนดี วันไหนมงคล มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรี 2567 พยากรณ์โดย การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์พยากรณ์) มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรีได้ที่นี่
- ฤกษ์ผ่าคลอด พฤษภาคม 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด มิถุนายน 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด กรกฎาคม 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด สิงหาคม 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด กันยายน 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด ตุลาคม 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด พฤศจิกายน 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด ธันวาคม 2567
เคล็ดลับน่ารู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด ทำแบบนี้หายเร็วแน่นอน
นอกจากการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าคลอดจะเป็นสิ่งที่ดีกับคุณแม่แล้ว การดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน เรามีเคล็ดลับดี ๆ สำหรับคุณแม่ผ่าคลอดในการดูแลตัวเองมากฝากกัน
• พักผ่อนให้เพียงพอ: ไม่ว่าจะก่อนการผ่าคลอด หรือหลังการผ่าคลอดก็ตาม การนอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับร่างกายของคุณแม่อย่างมาก
• หลีกเลี่ยงการยกของหนัก: ในช่วงแรกหลังการผ่าคลอด คุณแม่ไม่ควรยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากกว่าตัวลูกน้อย เพื่อป้องกันแผลผ่าคลอดฉีกขาด รวมไปถึงอาการปวดหลังหลังผ่าคลอดอีกด้วย
• เคลื่อนไหวร่างกาย: ถึงแม้ว่าคุณแม่จะยังไม่สามารถออกกำลังกายหลังผ่าคลอดได้ จนกว่าแผลผ่าจะหาย หรือแพทย์อนุญาตเห็นควรแล้ว การเดินในระยะใกล้ ๆ เคลื่อนไหวร่างกายเบา ๆ ก็มีส่วนช่วยในการฟื้นตัวร่างกาย
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์: การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และครบ 5 หมู่ จะช่วยให้ร่างกายได้รับการซ่อมแซม และฟื้นฟูร่างกายได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ สารอาหารต่าง ๆ ยังมีส่วนช่วยในการผลิตน้ำนมให้กับคุณแม่อีกด้วย ซึ่งน้ำนมแม่ มีสารอาหารสำคัญอย่าง Lactoferrin และ MFGM มีส่วนช่วยในการเสริมภูมิคุ้มกันของลูก
• สังเกตอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์: หมั่นสังเกตอาการต่าง ๆ ในแต่ละวันหลังการผ่าคลอด ไม่ว่าจะเป็น อาการปวด ไข้ รวมไปถึงอาการอื่น ๆ ว่าผิดปกติหรือไม่ หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ไขข้อข้องใจเรื่องการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดกับ Enfa Smart Club
1. หลังผ่าคลอดช่วยเหลือตัวเองได้ไหม?
หลังการผ่าคลอด คุณแม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ควรระวังไม่ให้แผลผ่าคลอดเกิดการฉีกขาด หรืออักเสบ ทั้งนี้ หลังการผ่าคลอดในวันแรก คุณแม่อาจจะยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากนัก เนื่องจากแผลยังไม่สมานตัวดี รวมทั้งยังมีสายสวนปัสสาวะติดอยู่ ควรรอให้ถอดออกเสียก่อน โดยในช่วงแรก ๆ คุณแม่สามารถเดินในระยะใกล้ หรือเข้าห้องน้ำได้
2. วิธีทําให้มดลูกเข้าอู่เร็วหลังผ่าคลอด
หลังจาการผ่าคลอด มดลูกจะค่อย ๆ เริ่มปรับสภาพให้กลับไปอยู่ในขนาดเดิม หรือมดลูกเข้าอู่ ซึ่งอาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกปวดมดลูกได้ในบางครั้ง โดยมดลูกจะใช้เวลาในการเข้าอู่ หรือหดตัวกลับสู่สภาพเดิมประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ การที่จะทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว คุณแม่ควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกายตามปกติ เช่น การพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดความเครียด เคลื่อนไหวร่างกาย ก็จะช่วยให้มดลูกคุณแม่เข้าอู่ได้เร็วขึ้น
3. วิธีดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด และทำหมัน ต่างจากการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดทั่วไปไหม?
ในคุณแม่บางรายที่ทำการผ่าคลอด อาจจะตัดสินใจที่จะทำหมันร่วมด้วยไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด และทำหมัน ไม่ได้มีความแตกต่างกัน คุณแม่สามารถดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด และทำหมันด้วยวิธีเดียวกันได้ ไม่ว่าจะเป็น การพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลและสังเกตุแผลผ่าคลอด จนไปถึงการเคลื่อนไหวร่างกาย เหล่านี้จะช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวจากการผ่าตัดทั้งสองได้อย่างปกติ
ทั้งนี้ ในคุณแม่บางราย อาจจะมีภาวะรู้สึกผิด หรือเสียใจหลังจากการทำหมัน หากความรู้สึกเหล่านี้ไม่ได้หายจากไป ควรเข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา เพื่อหาทางออกจากความรู้สึก หรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพจิตใจที่กำลังประสบอยู่
4. หลังผ่าคลอดมีอะไรกับแฟนได้ตอนไหน
หลังการผ่าคลอด จะสามารถกลับไปมีเพศสัมพันธ์ได้ในช่วงที่ผ่านพ้นไปแล้วประมาณ 4 – 6 สัปดาห์หลังการผ่าคลอด เนื่องจากจะต้องรอให้แผลผ่าคลอดหายดี และน้ำคาวปลาหมดเสียก่อน ทั้งนี้คุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสำหรับคำแนะนำในเรื่องนี้ได้เช่นกัน
5. ผ่าคลอด ยกของหนักได้ไหม? มีผลเสียอย่างไร?
หลังการผ่าคลอด คุณแม่ไม่ควรยกของหนัก หรือของที่มีน้ำหนักมากกว่าตัวลูก เนื่องจากอาจจะทำให้แผลผ่าคลอดเกิดการฉีกขาด หรือสมานตัวได้ช้า นอกจากนี้ อาจจะทำให้คุณแม่มีอาการปวดหลังได้อีกด้วย
6. ผ่าคลอด กินยาขับน้ำคาวปลาได้ไหม?
โดยปกติแล้ว ร่างกายมีการขับน้ำคาวปลาหลังการคลอดลูกตามธรรมชาติ และกลไลของร่างกายอยู่แล้ว การกินยาขับน้ำคาวปลา อาจจะสร้างความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด จนทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย นอกจากนี้ยาขับน้ำคาวปลา ยังมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ซึ่งไม่ดีสำหรับน้ำนมคุณแม่ หากลูกน้ำได้รับแอลกอฮอล์ผ่านทางน้ำนมแม่ไป จะส่งผลให้ลูกน้อยมีอาการซึม หลับใหล และไม่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่ดีพอ
7. ผ่าคลอดไหมละลายไม่หมด ควรทำอย่างไร?
หากคุณแม่พบว่า ไหมผ่าคลอดละลายไม่หมด ควรกลับไปพบแพทย์เพื่อทำการคีบออก
8. ผ่าคลอดกี่เดือนท้องใหม่ได้?
คุณแม่ผ่าคลอดสามารถตั้งท้องใหม่ได้อีกครั้ง โดยควรรอหลังจากการผ่าคลอดไปแล้วอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป ในผู้เชี่ยวชาญบางรายแนะนำให้รอประมาณ 12 – 24 เดือน ทั้งนี้ คุณแม่ควรปรึกษาสูตินารีแพทย์ หากต้องการตั้งท้องหลังการผ่าคลอด เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ที่เหมาะสม และปลอดภัย
- American Pregnancy Association. Cesarean After Care. [Online] Accessed https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/labor-and-birth/cesarean-aftercare/. [10 June 2022]
- Cleveland Clinic. C-Section Recovery Timeline and Aftercare. [Online] Accessed https://health.clevelandclinic.org/c-section-recovery/. [10 June 2022]
- Healthline. 6 Tips for a Fast C-Section Recovery. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/pregnancy/c-section-tips-for-fast-recovery. [10 June 2022]
- Healthline. Tips and Tricks for High Quality Sleep After a C-Section. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/healthy-sleep/how-to-sleep-after-c-section. [10 June 2022]
- Parents. C-Section Scar Care: Your Guide to Helping It Heal. [Online] Accessed https://www.parents.com/pregnancy/giving-birth/cesarean/c-section-scar-care/. [10 June 2022]
- NHS. Recovery. [Online] Accessed https://www.nhs.uk/conditions/caesarean-section/recovery/. [10 June 2022]
- What to Expect. C-Section Scars: Care Basics During and After Healing. [Online] Accessed https://www.whattoexpect.com/pregnancy/c-section-scars. [10 June 2022]
- NHS. When will my periods start again after pregnancy?. [Online] Accessed https://www.nhs.uk/common-health-questions/pregnancy/when-will-my-periods-start-again-after-pregnancy/. [10 June 2022]
- Healthline. How to Enjoy Sex After a C-Section. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/pregnancy/sex-after-c-section. [10 June 2022]
- What to Expect. Sex After C-Section. [Online] Accessed https://www.whattoexpect.com/first-year/postpartum-health-and-care/sex-after-c-section/. [10 June 2022]
- WebMD. When Does Postpartum Belly Go Away?. [Online] Accessed https://www.webmd.com/parenting/when-does-postpartum-belly-go-away. [10 June 2022]
- Today's Parent. When will my postpartum belly go away?. [Online] Accessed https://www.todaysparent.com/baby/postpartum-care/postpartum-belly/. [10 June 2022]
- What to Expect. Your Postpartum Belly: What Will Your Stomach Look Like After Giving Birth?. [Online] Accessed https://www.whattoexpect.com/first-year/week-23/tummy-toning.aspx. [10 June 2022]
- Healthline. Postpartum Gas: Causes and Remedies. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/parenting/postpartum-gas. [10 June 2022]
- Medical News Today. Is postpartum gas normal?. [Online] Accessed https://www.medicalnewstoday.com/articles/322683. [10 June 2022]
- Verywell Family. Tips and Tricks for Postpartum Gas and De-Bloating. [Online] Accessed https://www.verywellfamily.com/tips-and-tricks-for-postpartum-gas-and-de-bloating-5218628. [10 June 2022]
- Healthline. Is It Normal to Have Back Pain After a C-Section?. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/pregnancy/back-pain-after-c-section. [10 June 2022]
- Healthline. Can an Epidural Cause Back Pain? Plus, How to Get Relief. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/back-pain-from-epidural. [10 June 2022]
- Healthline. All About Getting Pregnant After You’ve Had a Cesarean Delivery. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/pregnancy/pregnancy-after-c-section. [10 June 2022]
- ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. ความรู้เรื่องการผ่าท้องทำคลอด. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.rtcog.or.th/home/wp-content/uploads/2017/05/IC-005_ความรู้เรื่องการผ่าท้องทำคลอด.pdf. [10 มิถุนายน 2022]
- ภาควิชาสูติศาตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การทำหมันหญิง (Female sterilization). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/4468/. [10 มิถุนายน 2022]
- ภาควิชาสูติศาตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การดูแลสตรีระยะหลังคลอด (puerperium care). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/medical-student-5/1684/. [10 มิถุนายน 2022]
- โรงพยาบาลพญาไท. ปวดมดลูกหลังคลอด...อันตรายไหม อาการแบบไหนควรรีบพบแพทย์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.phyathai.com/article_detail/3297/th/.[14. [10 มิถุนายน 2022]
- โรงพยาบาลสินแพทย์. ทำไม… ต้องพบจิตแพทย์?. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.synphaet.co.th/ทำไม-ต้องพบจิตแพทย์/. [10 มิถุนายน 2022]
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด
- เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดี เตรียมความพร้อมคุณแม่ผ่าคลอด และทุกเรื่องที่ควรรู้!
- แผลผ่าคลอด ดูแลอย่างไร ให้หายเร็ว และลดรอย
- จริงหรือไม่? ที่เด็กผ่าคลอดต้องกินนมสำหรับเด็กผ่าคลอด
- ผ่าคลอดห้ามกินอะไรบ้าง และข้อห้ามหลังผ่าคลอดที่ต้องรู้!
- ภูมิแพ้ในเด็ก อาการและปัจจัยเสี่ยง คุณแม่ควรรับมืออย่างไรเมื่อลูกเป็นภูมิแพ้
- ฤกษ์ผ่าคลอด 2567 โดย การะเกต์พยากรณ์
- ทำหมันหญิงหลังผ่าคลอด เจ็บไหม? ควรเตรียมตัวอย่างไรดี?
- ผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม? แม่ผ่าคลอดห้ามกินไข่ จริงหรือ?
- ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ต้องพักฟื้นนานแค่ไหน
- ผ่าคลอดห้ามกินอะไรบ้าง อะไรควรระวัง
- ผ่าคลอดกี่ชั่วโมงเดินได้ พักฟื้นหลังผ่าคลอดใช้เวลานานไหม