นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดิอนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ​Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

เกมพัฒนา EF คืออะไร เกมสื่อ EF ปฐมวัย เลือกอย่างไรดี

Enfa สรุปให้

  • เกมพัฒนา EF คือ เกมที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะ EF ซึ่งเป็นชุดของความสามารถทางสมองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการตัวเอง
  • เกมสื่อ EF ปฐมวัย ควรเลือกให้เหมาะสมกับเด็กในช่วงอายุที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับระดับพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละวัย เช่น ขนาด สีสัน ความซับซ้อนของเกม
  • เกม EF ที่ดีควรเสริมสร้างและพัฒนาทักษะสมองได้ครบถ้วน ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนการควบคุมอารมณ์ การวางแผน การแก้ปัญหา และการจดจ่อกับงาน


เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • เกมพัฒนา EF ช่วยเสริมทักษะสมอง EF ของลูกได้อย่างไร
     • เกม EF เหมาะสมกับเด็กอายุเท่าไหร่
     • เกมสื่อ EF ปฐมวัย แบบไหนที่ควรเลือกให้ลูก
     • ตัวอย่างเกมพัฒนา EF ที่ Enfa แนะนำ
     • MFGM สารอาหารในนมแม่เพื่อ IQ และทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า

 

เกมพัฒนา EF คือ เกมที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) ซึ่งเป็นชุดของความสามารถทางสมองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการตัวเอง เช่น การควบคุมอารมณ์ การวางแผน การแก้ปัญหา และการจดจ่อกับงาน ทักษะเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับความสำเร็จในชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านการเรียน การทำงาน และการเข้าสังคม

เกม EF ช่วยพัฒนาลูกได้อย่างไร เกมพัฒนา EF เป็นเกมแบบไหน ในบทความนี้ Enfa จะพาคุณพ่อคุณแม่มาหาคำตอบกันค่ะ

 

เกมพัฒนา EF ช่วยเสริมทักษะสมอง EF ของลูกได้อย่างไร

ปัจจุบันมีการพูดถึง EF กันอย่างกว้างขวางมากขึ้น แล้ว EF คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกันนะ เรามาทำความเข้าใจกันก่อนค่ะ โดย EF (Executive Functions) คือการพัฒนาทักษะสมองซึ่งเป็นความสามารถในการบริหารจัดการตนเองที่สำคัญต่อความสำเร็จในอนาคต ซึ่งสามารถเสริมสร้างได้ตั้งแต่ปฐมวัย และที่สำคัญสามารถเสริมทักษะ EF ผ่านเกมได้ด้วย

เกมพัฒนา EF ไม่ใช้เกมโดยทั่วไป แต่เป็นเกมสื่อ EF ปฐมวัยที่พิสูจน์มาแล้วว่าช่วยพัฒนาทักษะสมอง EF ให้เด็กได้ เกมพัฒนา EF จึงได้รับความสนใจอย่างมากจากพ่อแม่ผู้ปกครองในปัจจุบัน เนื่องจากช่วยให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นในรูปแบบที่สนุกและสร้างสรรค์

เกมพัฒนา EF ช่วยเสริมทักษะสมอง EF ของลูกได้โดยช่วยเด็กพัฒนาทักษะการบริหารจัดการตัวเองภายใต้ 3 ทักษะหลัก คือ ความจำเพื่อใช้งาน (Working Memory) ความยืดหยุ่นทางความคิด (Cognitive Flexibility) การอดทนรอคอยหรือควบคุมตนเอง (Inhibit Control) ซึ่งเกมที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสมจะช่วยส่งเสริมทักษะเหล่านี้ได้

 

เกม EF เหมาะสมกับเด็กอายุเท่าไหร่

เกม EF สามารถปรับให้เหมาะสมกับเด็กในช่วงอายุที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับระดับพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละวัยด้วย ดังนี้

 

วัย 6 - 18 เดือน

เด็กในวัยนี้เริ่มสำรวจโลกรอบตัวและพัฒนาทักษะพื้นฐาน เช่น การมอง การหยิบจับ และการจดจำสิ่งง่าย ๆ เกมที่เหมาะควรเน้นความเรียบง่ายและกระตุ้นประสาทสัมผัส เพื่อพัฒนาทักษะความจำเพื่อใช้งาน และฝึกการควบคุมตนเอง เช่น เกมซ่อนของ เกมเรียงลำดับ

 

วัย 18 - 36 เดือน

เด็กในวัยนี้มีความสามารถในการจดจำและทำตามคำสั่งที่ง่ายขึ้น เริ่มเข้าใจกฎพื้นฐานและพัฒนาทักษะการควบคุมตนเองมากขึ้น จึงควรเป็นเกมที่มีการจดจำและทำตามคำสั่งหรือมีการแก้ปัญหาอย่างง่าย เพื่อฝึกความจำเพื่อใช้งานและฝึกความยืดหยุ่นทางความคิด เช่น การเรียงสิ่งของรูปแบบต่าง ๆ

 

วัย 3 - 5 ปี

วัยนี้เป็นช่วงที่ทักษะสมอง EF เริ่มพัฒนาอย่างเด่นชัด เด็กสามารถทำงานที่ซับซ้อนขึ้นได้ เช่น การวางแผนพื้นฐานหรือการทำตามลำดับขั้นตอน สามารถเล่นเกมที่ซับซ้อนขึ้นได้เพื่อฝึกความจำเพื่อใช้งาน ฝึกการควบคุมตนเอง และเสริมความยืดหยุ่นทางความคิด เช่น เกมปริศนาภาพ เกมกระดาน เกมบันไดงู ต่อเลโก้

 

วัย 5 - 7 ปี

เด็กในวัยนี้สามารถเข้าใจกฎที่ซับซ้อนมากขึ้น และมีสมาธิยาวนานขึ้น เกมที่เหมาะควรเริ่มกระตุ้นการแก้ปัญหาและการคิดเชิงวิเคราะห์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการวางแผน การแก้ปัญหา และการปรับตัว เช่น เกมเศรษฐี หมากฮอส เกมสร้างหอคอยบล็อกไม้ (Jenga)

 

วัย 7 - 12 ปี

ช่วงนี้ทักษะสมอง EF ของเด็กเริ่มก้าวหน้าไปอีกขั้น สามารถจัดการกับเกมที่ต้องคิดซับซ้อนและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เกมที่เหมาะควรเน้นการวางแผนระยะยาวและการทำงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาความยืดหยุ่นทางความคิดในการแก้ปัญหาที่เปลี่ยนแปลง เสริมสร้างทักษะการวางแผนและการทำงานร่วมกับทีม เช่น เกมสร้างเมือง เกมหมากรุก

ทั้งนี้ เพื่อให้การเสริมสร้างทักษะสมอง EF มีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้เกมพัฒนา EF สำหรับเด็ก ควรทำร่วมกับกิจกรรม EF ซึ่งมีหลากหลายกิจกรรม โดยควรเลือกให้เหมาะสมกับช่วงวัย และสามารถปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มความซับซ้อนได้ตามพัฒนาการเด็ก

 


เกมสื่อ EF ปฐมวัย แบบไหนที่ควรเลือกให้ลูก

ช่วงปฐมวัย (อายุ 3-5 ปี) เป็นช่วงเวลาที่สมองของเด็กเริ่มพัฒนาทักษะ EF การเลือกเกมที่เหมาะสมสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการ EF ปฐมวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเกมสื่อ EF ปฐมวัยที่ควรเลือกให้ลูกนั้นมีหลักในการเลือก ดังนี้  

 

1. ปลอดภัยและเหมาะสมกับวัย โดยเกมควรมีขนาดใหญ่พอที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตราย เช่น ของเล่นที่เด็กสามารถจับหรือเคลื่อนย้ายได้ง่าย และต้องไม่มีส่วนเล็ก ๆ ที่อาจทำให้สำลัก

2. กระตุ้นการเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยเลือกเกมที่ส่งเสริมความจำ การแก้ปัญหา และการคิดเชิงตรรกะ เช่น เกมที่มีการเรียงลำดับหรือการจับคู่

3. ช่วยพัฒนาทักษะสังคม โดยเป็นเกมที่ต้องเล่นร่วมกับผู้อื่น เช่น เกมผลัดกันเล่น หรือเกมที่ต้องแบ่งปัน ช่วยสร้างความสัมพันธ์และการเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น

4. ส่งเสริมการควบคุมตนเองและสมาธิ โดยเป็นเกมที่ต้องใช้การรอคอย เช่น เกมบล็อกไม้ Jenga หรือเกมบันไดงู ช่วยให้เด็กเรียนรู้การอดทนและควบคุมอารมณ์

5. สามารถปรับความยากง่ายได้ คือ เกมควรมีระดับความยากหลากหลาย ช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะไปตามความสามารถที่เพิ่มขึ้น

เกมสื่อ EF ปฐมวัยที่เหมาะสม จะช่วยพัฒนาสมองในด้านความจำ ความคิดสร้างสรรค์ และการแก้ปัญหาเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวผ่านการเล่นเกมร่วมกัน ช่วยให้เด็กเรียนรู้ทักษะการเข้าสังคมและการจัดการอารมณ์ ทั้งยังช่วยให้ลูกน้อยสนุกกับการเรียนรู้อีกด้วย

 

ตัวอย่างเกมพัฒนา EF ที่ Enfa แนะนำ

เกมพัฒนา EF ควรเลือกให้เหมาะสมกับช่วงวัยพัฒนาการของเด็ก โดยมักมีความซับซ้อนมากขึ้นตามระดับพัฒนาการ ซึ่งเกมพัฒนา EF ที่เป็นที่นิยมอย่างมากและนำไปใช้ได้ดี มีดังนี้  

 

1. เกมจับคู่ภาพ (Matching Game)

ช่วยพัฒนาความจำเพื่อใช้งาน (Working Memory) เช่น เกมจับคู่ภาพสัตว์หรือตัวการ์ตูน

 

2. เกมตัวต่อบล็อก (Building Blocks)

เช่น เลโก้หรือบล็อกไม้ ช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ การวางแผน และสมาธิ

 

3. เกมปริศนา (Puzzle)

เช่น การต่อจิ๊กซอว์ขนาดใหญ่ ช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการจดจ่อ โดยควรปรับเพิ่มจำนวนชิ้นจิ๊กซอว์และความยากของภาพให้มากขึ้นตามช่วงวัยของเด็ก

 

4. เกม Simon Says

หรือเกมที่เด็กต้องทำตามคำสั่ง เช่น Simon says ยกมือขึ้น หรือ Simon says กระโดด

 

5. เกมกระดานง่าย ๆ (Board Games)

เช่น เกมบันไดงู หรือเกมทอยลูกเต๋า ช่วยฝึกการควบคุมตนเองและการเรียนรู้กฎกติกา

 

6. เกมกระดานกลยุทธ์ (Strategic Board Games)

หรือเกมที่ต้องวางแผน เช่น หมากรุก หมากฮอส หรือ Othello เพื่อเสริมการวางแผนระยะยาว และช่วยพัฒนาการคิดเชิงตรรกะ

 

7. เกมบทบาทสมมติ (Role-Playing Games)

เช่น การเล่นเป็นหมอหรือพ่อครัว ช่วยเสริมความยืดหยุ่นทางความคิด และพัฒนาทักษะสังคม

 

8. แอปพลิเคชันฝึกสมอง (Brain Training Apps)

แอปพลิเคชันเสริมพัฒนาการสมองที่มีเกมฝึกความจำหรือเกมจับคู่ในรูปแบบดิจิทัลที่มีกราฟิกสดใส หรือการ์ดคำถามที่กระตุ้นให้เด็กคิดและตอบโต้ได้ ปรับระดับความยากง่ายได้ เพื่อส่งเสริม EF ผ่านการเล่นแบบอินเทอร์แอคทีฟ

 

โดยการเลือกเกมที่เหมาะสมกับช่วงวัยและความสนใจของเด็ก เน้นเกมที่สนุกสนาน และเด็กมีความกระตือรือร้นที่จะเล่น จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดี สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ EF ของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างพื้นฐานที่ดีสำหรับการเติบโตในอนาคต

 

MFGM สารอาหารในนมแม่เพื่อ IQ และทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า

MFGM สุดยอดสารอาหารสมองจากนมแม่ สารอาหารชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมสร้างพัฒนาการด้านสมองและการเรียนรู้ ให้ลูกได้มีทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า

 



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

Shopee TH Lazada TH Join Enfamama