นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดิอนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ​Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ทักษะ EF ปฐมวัย 9 ด้านคืออะไร ทักษะ EF ประกอบด้วยอะไรบ้าง

Enfa สรุปให้

  • ทักษะ EF ปฐมวัย 9 ด้าน เป็นกลุ่มทักษะสมองที่มีความสำคัญต่อการควบคุมตนเอง การแก้ปัญหา และการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในวัยเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญของการพัฒนาสมอง
  • ทักษะ EF ประกอบด้วย 3 กลุ่มคือ ทักษะพื้นฐาน ทักษะการกำกับตนเอง และทักษะการปฏิบัติ โดยครอบคลุมทักษะ EF ทั้ง 9 ด้าน ซึ่งเป็นทักษะที่ควรฝึกฝนในช่วงปฐมวัย
  • หลัก 5 ช EF เป็นหลักการกระตุ้นการพัฒนาทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ และกระตุ้นให้เด็กฝึกการคิดและการควบคุมตนเองอย่างเหมาะสม

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ทักษะ EF ปฐมวัย 9 ด้าน
     • ทักษะ EF ประกอบด้วย 3 กลุ่มคือ
     • หลัก 5 ช EF
     • ทำไมการพัฒนาทักษะสมอง EF จึงสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของลูก
     • MFGM สารอาหารในนมแม่เพื่อ IQ และทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า

ทักษะ EF ปฐมวัย 9 ด้าน เป็นกลุ่มทักษะสมองที่มีความสำคัญต่อการควบคุมตนเอง การแก้ปัญหา และการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในวัยเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญของการพัฒนาสมอง ทักษะ EF ไม่เพียงแต่ช่วยให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้ที่ดีขึ้น แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญของความสำเร็จในชีวิต ทั้งด้านการเรียน การทำงาน และการดำเนินชีวิตอีกด้วย

ในบทความนี้ Enfa จะพาคุณแม่มารู้จักกับ ทักษะ EF ปฐมวัย 9 ด้าน และทักษะ EF 3 กลุ่ม รวมถึงหลัก 5 ช EF ทั้งหมดนี้คืออะไร มาหาคำตอบพร้อมกันเลยค่ะ

ทักษะ EF ปฐมวัย 9 ด้าน

EF คืออะไร เรามาทำความเข้าใจเรื่องทักษะ EF กันก่อน! โดยทักษะ EF หรือ Executive Function คือ ทักษะสมองส่วนหน้าที่จำเป็นอย่างมากต่อการใช้ชีวิตในอนาคต ซึ่งทักษะนี้ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มทักษะ ครอบคลุมทักษะ EF ปฐมวัย 9 ด้าน ดังนี้

  1. การจำเพื่อใช้งานหรือสมองจำดี (Working Memory)
  2. การยั้งคิดไตร่ตรอง อดทนรอคอย หรือควบคุมตนเอง (Inhibitory Control)
  3. การยืดหยุ่นความคิด (Shift/ Cognitive Flexibility)
  4. การจดจ่อใส่ใจ (Focus/ Attention)
  5. การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)
  6. การติดตาม ประเมินตนเอง (Self-Monitoring)
  7. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)
  8. การวางแผน จัดระบบดำเนินการ (Planning/ Organizing)
  9. การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)

ทักษะ EF ประกอบด้วย 3 กลุ่มคือ

ปัจจุบันทักษะ EF ยังถือเป็นความรู้ใหม่ในบริบทของพัฒนาการเด็กที่นักวิชาการทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ จากการศึกษาวิจัยต่อเรื่องและหลายตำราและงานวิจัย อาจทำให้ความหมายและองค์ประกอบของทักษะ EF มีความแตกต่างกันออกไปบ้าง ในส่วนของประเทศไทยมีกลุ่มนักวิชาการจากองค์กรต่าง ๆ ได้รวมตัวกันเพื่อจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับทักษะ EF โดยแบ่งทักษะ EF ปฐมวัยประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มทักษะพื้นฐาน

1. การจำเพื่อใช้งานหรือสมองจำดี (Working Memory) 

การจำเพื่อใช้งานหรือสมองจำดี คือ การจำข้อมูล และจัดการกับข้อมูล คิดเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม และประมวลผลเพื่อนำไปใช้งานต่อ เป็นความสามารถในการจดจำข้อมูลระยะสั้นและนำมาใช้ในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น เด็กที่สามารถจำคำสั่งครูได้ และสามารถทำตามคำสั่งได้สำเร็จ

2. การยั้งคิดไตร่ตรอง  อดทนรอคอย หรือควบคุมตนเอง (Inhibitory Control) 

การยั้งคิดไตร่ตรอง  อดทนรอคอย หรือควบคุมตนเอง คือ สามารถหยุดคิด และไตร่ตรองก่อนทำหรือพูด พิจารณาข้อมูลต่าง ๆ และรู้จักรอ รู้จักยับยั้งความต้องการหรือลดการแสดงออกที่ไม่เหมาะสม เช่น เด็กที่อดใจไม่หยิบขนมบนโต๊ะจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากพ่อแม่

3. การยืดหยุ่นความคิด (Shift/ Cognitive Flexibility) 

การยืดหยุ่นความคิด คือ การปรับความคิดเมื่อเงื่อนไข หรือสถานการณ์เปลี่ยนไป รู้จักคิดนอกกรอบ และเห็นวิธีการรวมทั้งโอกาสใหม่ ๆ ทำให้สามารถปรับตัวทางความคิดและเปลี่ยนแปลงแนวทางเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ เช่น เด็กที่สามารถเปลี่ยนวิธีการเรียงตัวต่อแบบใหม่ตามคำแนะนำ

กลุ่มทักษะกำกับตนเอง

4. การจดจ่อใส่ใจ (Focus/ Attention) 

การจดจ่อใส่ใจ คือ การมีสมาธิต่อเนื่อง จดจ่อในสิ่งที่ทำ มีสมาธิจดจ่อกับงานหรือกิจกรรมที่ทำโดยไม่วอกแวก เช่น เด็กที่สามารถระบายสีในภาพวาดได้จนเสร็จ แม้ว่าจะมีเสียงพูดคุยรอบข้าง

5. การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) 

การควบคุมอารมณ์ คือ การจัดการกับอารมณ์ และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความสามารถในการจัดการและควบคุมอารมณ์เมื่อเผชิญกับความท้าทาย เช่น เด็กที่รู้สึกโกรธเพื่อนที่แย่งของเล่น แต่สามารถบอกครูหรือพูดคุยแทนการร้องไห้หรือผลักเพื่อน

6. การติดตามประเมินตนเอง (Self-Monitoring) 

การติดตามประเมินตนเอง คือ การรู้ว่าตัวเองทำอะไรอยู่ ทบทวนการกระทำ และสะท้อนผลการกระทำของตัวเองได้ แก้ไขเมื่อพบข้อบกพร่อง สามารถตรวจสอบและประเมินผลสิ่งที่ทำเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ เช่น เด็กที่วาดรูปแล้วสังเกตว่าลืมใส่ดวงตาให้ตัวการ์ตูน และเพิ่มเข้าไปด้วยตัวเอง

กลุ่มทักษะการปฏิบัติ

7. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) 

การริเริ่มและลงมือทำ คือ การมีความคิดริเริ่ม คิดนอกกรอบได้ ตัดสินใจลงมือทำด้วยตัวเอง ไม่ต้องให้ใครเตือน สามารถเริ่มต้นทำสิ่งใหม่และหาทางแก้ปัญหาโดยไม่ต้องรอคำสั่ง เช่น เด็กที่เห็นเพื่อนทำดินสอตกแล้วหยิบไปคืนให้โดยไม่ต้องบอก

8. การวางแผนและจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organising) 

การวางแผนและจัดระบบดำเนินการ คือ การตั้งเป้าหมาย วางแผนเป็นขั้นตอน จัดลำดับความสำคัญ ดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ สามารถคิดล่วงหน้าและจัดการสิ่งต่าง ๆ อย่างมีระบบ เช่น เด็กที่สามารถเก็บของเล่นใส่กล่องตามประเภท เช่น ตัวต่อในกล่องหนึ่ง รถของเล่นในอีกกล่อง

9. การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) 

การมุ่งเป้าหมาย คือ การมีแรงจูงใจ และความพยายามเพื่อทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้สำเร็จ มีความมุ่งมั่น อดทนต่อความยากลำบากได้ เช่น เด็กที่ตั้งใจต่อจิ๊กซอว์ให้สำเร็จ แม้ทีแรกจะหาชิ้นส่วนที่ลงตัวไม่ได้ แต่ก็พยายามจนทำได้สำเร็จ

ทักษะ EF ปฐมวัย 9 ด้านนี้ ผู้ปกครองและครูสามารถส่งเสริมทักษะ EF ผ่านกิจกรรมได้หลากหลาย เช่น การเล่นเกมที่ต้องใช้การวางแผน การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิด และการสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้การจัดการตนเอง โดยสามารถเสริมทักษะได้ทั้งในและนอกโรงเรียน

หลัก 5 ช EF

หลัก 5 ช EF เป็นแนวทางที่ช่วยส่งเสริมทักษะ EF ปฐมวัยได้โดยสร้างสภาพแวดล้อมและกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กได้ฝึกการคิด ฝึกการควบคุมตนเอง ช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทักษะ EF ปฐมวัย 9 ด้านอย่างเหมาะสม ประกอบด้วย

ชวนคิด

เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เช่น ตั้งคำถามปลายเปิด หรือสถานการณ์สมมติ แล้วกระตุ้นให้เด็กลองแก้ปัญหาด้วยตนเอง

ชวนคุย

เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเรียนรู้ สร้างบทสนทนาที่ส่งเสริมการสื่อสาร กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และกระตุ้นให้เกิดการแสดงความคิดเห็น เช่น การพูดคุยเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน การถามความรู้สึกหลังทำกิจกรรม

ชวนทำ

เพื่อให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง กระตุ้นการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ ผ่านการลงมือทำ เช่น ให้เด็กช่วยเตรียมอาหาร ให้เด็กเก็บของเล่นให้เป็นระเบียบด้วยตนเอง

ชวนเล่น

เพื่อกระตุ้นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ใช้ของเล่นหรือการเล่นด้วยกันเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะ โดยเน้นกิจกรรมที่สนุกและเสริมสร้างความคิด เช่น เกมที่ต้องมีการวางแผน เกมตัวต่อ บอร์ดเกม หรือการเล่นบทบาทสมมติ

ชวนชม

เพื่อชมเชยและกำลังใจ ทำให้เด็กมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ใช้ได้ทั้งกับความพยายามในการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง หรือการมีพฤติกรรมที่ดี โดยไม่ชมเกินความจำเป็นหรือเกินความเป็นจริง เช่น ทำได้ดีมากเลย พยายามได้ดีมาก

ทำไมการพัฒนาทักษะสมอง EF จึงสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของลูก

การพัฒนาทักษะสมอง EF มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของลูก เพราะเป็นรากฐานของความสามารถในการจัดการตนเอง การเรียนรู้ และการปรับตัวในชีวิต ทักษะ EF เป็นเหมือน "กลไกการบริหารสมอง" ที่ช่วยให้เด็กสามารถวางแผน ควบคุมอารมณ์ ตัดสินใจแก้ปัญหา และดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความสำคัญ 5 ด้าน ดังนี้

1. ส่งเสริมความสำเร็จทางการเรียน

เมื่อเด็กมีความสามารถในการจดจ่อ ใส่ใจ และจัดการเวลาได้ดี ทำให้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดลำดับความสำคัญของงาน การทำงานเสร็จตามเป้าหมาย และการสอบผ่านได้ดี

2. พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ

เมื่อเด็กมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ พวกเขาจะสามารถเผชิญกับสถานการณ์ที่ซับซ้อนได้อย่างมั่นใจเมื่อโตขึ้น เช่น การเลือกอาชีพ การจัดการการเงิน และการเผชิญหน้ากับปัญหาในชีวิตประจำวัน

3. สร้างความมั่นคงทางอารมณ์และการเข้าสังคม

การควบคุมอารมณ์และความยืดหยุ่นทางความคิดช่วยให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่น และแก้ไขความขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้พวกเขามีความสัมพันธ์ที่ดีและเป็นที่ยอมรับในสังคม

4. เตรียมพร้อมสำหรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต

โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต้องการบุคคลที่สามารถปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ ทักษะ EF ช่วยให้เด็กพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง เช่น การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ หรือการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน

5. ลดความเสี่ยงต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

ทักษะ EF ช่วยให้เด็กสามารถยับยั้งความต้องการที่ไม่เหมาะสม และตัดสินใจเลือกทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ในระยะยาว หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การขาดความรับผิดชอบ หรือการเกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย

MFGM สารอาหารในนมแม่เพื่อ IQ และทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า

MFGM สุดยอดสารอาหารสมองจากนมแม่ สารอาหารชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมสร้างพัฒนาการด้านสมองและการเรียนรู้ ให้ลูกได้มีทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

Shopee TH Lazada TH Join Enfamama