ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ภูมิคุ้มกัน

เด็กกับภูมิคุ้มกัน เรื่องสำคัญที่พ่อแม่จะต้องรู้

Enfa สรุปให้:

  • ภูมิคุ้มกัน หรือ Immune คือ ระบบการทำงานของร่างกายซึ่งทำหน้าที่ในการปกป้องเซลล์ทุกส่วนของร่างกายให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ การอักเสบ และการถูกทำลาย
  • เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันก็จะทำหน้าที่ดักจับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายถูกทำลายจาะสิ่งแปลกปลอมที่เป็นผลเสียต่อเซลล์ในร่างกาย
  • ทารกแรกเกิดจะได้รับภูมิคุ้มกันแรกจากน้ำนมเหลือง (Colostrum) หรือก็คือนมแม่ระยะแรกซึ่งประกอบไปด้วยสารอาหาร เช่น โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และสารที่จำเป็นต่อการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างแลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin)

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ภูมิคุ้มกันคืออะไรทำงานยังไง
     • ประเภทของระบบภูมิคุ้มกัน
     • การสร้างภูมิคุ้มกัน
     • เข้าใจภูมิคุ้มกันเด็ก
     • น้ำนมเหลืองสำคัญกับภูมิคุ้มกัน
     • การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
     • แลคโตเฟอร์รินสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
     • ตรวจภูมิคุ้มกันอย่างไร
     • ไขข้อข้องใจเรื่องภูมิคุ้มกันกับ Enfa Smart Club

เด็กบางคนอาจป่วยง่าย อะไรนิดอะไรหน่อยก็ไม่สบาย เจ็บป่วย ต้องรับการรักษา แต่เด็กบางคนก็แข็งแรงกว่า เจ็บป่วยน้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน นั่นเป็นเพราะภูมิคุ้มกันของเด็กแต่ละคนแตกต่างกันค่ะ

เมื่อความแข็งแรงของภูมิคุ้มกันแตกต่างกัน จึงมีผลต่อสุขภาพและความแข็งแรงที่แตกต่างกันไปด้วย วันนี้ Enfa จะชวนคุณพ่อคุณแม่มาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของ ภูมิคุ้มกันเด็กกันค่ะ

ภูมิคุ้มกัน คืออะไร ทำงานยังไง


ภูมิคุ้มกัน หรือภูมิต้านทาน หรือ Immune คือ ระบบการทำงานของร่างกายซึ่งทำหน้าที่ในการปกป้องเซลล์ทุกส่วนของร่างกายให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ การอักเสบ และการถูกทำลาย เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันก็จะทำหน้าที่ดักจับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายถูกทำลายจากสิ่งแปลกปลอม

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนจะมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงนะคะ เพราะบางคนก็มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน หรือมีการติดเชื้อบ่อยจนกระทั่งระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดไปจากเดิม ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจึงมักจะเจ็บป่วยได้ง่าย ติดเชื้อได้ง่าย และก็ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะรักษาให้หายขาดได้

ประเภทของระบบภูมิคุ้มกัน


ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด และ ภูมิคุ้มกันจำเพาะ

         ระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate หรือ Natural immunity) คือ ระบบภูมิคุ้มกันที่ได้มาแต่กำเนิด และไม่ได้ป้องกันแบบเฉพาะเจาะจง สามารถป้องกันโรคได้ การไอ จาม หรือน้ำมูกไหล เพื่อขับเอาสารแปลกปลอมออกจากร่างกาย ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปเจริญเติบโตในร่างกาย โดยไม่ได้จำเพาะว่าต้องเป็นสิ่งแปลกปลอมชนิดนี้เท่านั้น

         ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Adaptive หรือ Acquired Immunity) ระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังจากที่ร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้ามา หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเชื้อโรคหรือแบคทีเรียได้เข้าสู่ร่างกายไปแล้ว จากนั้นระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว ตับ ไต เป็นต้น ก็จะทำหน้าที่ในการดักจับสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้เพื่อลดความรุนแรงลง ครั้งต่อไป

หากมีสิ่งแปลกปลอมชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายอีก ร่างกายก็จะทำการขับออกและทำให้เสื่อมฤทธิ์ด้วยรูปแบบที่เคยปฏิบัติต่อสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคจำพวกนี้มาก่อน

การสร้างภูมิคุ้มกัน


การสร้างภูมิคุ้มกันนั้นจะต้องควบคู่ไปกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เหมาะสม ทั้งการกินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนอย่างเพียงพอ การออกกำลังกาย การทำจิตใจให้ผ่อนคลายอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม ร่างกายยังจำเป็นจะต้องเสริมภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากาการติดเชื้อ หรือป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงในกรณีที่เกิดการติดเชื้อ

ซึ่งอีกหนึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างภูมิคุ้มกันก็คือการฉีดวัคซีน และการได้รับน้ำนมแม่นั่นเองค่ะ โดยเฉพาะเด็ก ๆ จำเป็นจะต้องได้รับวัคซีนที่จำเป็นจนครบ เพื่อให้ร่างกายของเด็กมีภูมิคุ้มกันสำหรับต่อต้านโรคร้ายที่มักจะพบได้บ่อยในเด็ก และยังช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงในกรณีที่ติดเชื้อบางชนิดอีกด้วย

เข้าใจภูมิคุ้มกันเด็ก


จริง ๆ แล้วกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันของเด็กนั้น จะเริ่มต้นขึ้นในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด หรือช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกจะได้รับแอนติบอดีจากแม่ แอนติบอดีเหล่านี้ก็จะช่วยปกป้องทารกจากการติดเชื้อต่าง ๆ

โดยชนิดของแอนติบอดีที่ทารกจะได้รับนั้นขึ้นอยู่กับระดับภูมิคุ้มกันของคุณแม่ด้วย หากภูมิคุ้มกันของแม่แข็งแรงมาก ทารกก็จะได้รับแอนติบอดีที่แข็งแรง ช่วยให้ทารกปลอดภัยจากสิ่งแปลกปลอม

ภูมิคุ้มกันที่ทารกได้จากแม่

ทารกมีภูมิคุ้มกันก็จริง แต่ทารกแรกเกิดจะมีภูมิคุ้มกันโรคแบบใดกันนะ? ภูมิคุ้มกันของทารกแรกเกิดนั้นจะเป็นภูมิคุ้มกันธรรมชาติที่ได้รับผ่านทางรก โดยทารกจะได้รับแอนติบอดีจากแม่เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ทั้งยังได้รับสารภูมิคุ้มกันและแบคทีเรียชั้นดีจากการคลอดธรรมชาติอีกด้วย

น้ำนมเหลืองสำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน

แน่นอนว่าทารกมีภูมิคุ้มกันมาตั้งแต่ในครรภ์แล้ว แต่เมื่อคลอดออกมาโภชนาการแรกสุดที่ทารกควรได้รับคือ น้ำนมแม่ระยะแรก หรือก็คือ น้ำนมเหลือง (Colostrum) ที่จะไหลออกมาภายใน 1-3 วันแรกเท่านั้น ซึ่งในน้ำนมเหลืองนั้นมีปริมาณสารภูมิคุ้มกันสูง เพราะมีเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่แอนติบอดีต่อต้านเชื้อ เป็นส่วนประกอบถึง 2 ใน 3 ส่วน และมีโปรตีนหลากชนิดซึ่งหนึ่งในนั้นประกอบด้วยโปรตีนสำคัญอย่าง แลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin)

น้ำนมเหลือง

การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย


การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายนั้น สามารถทำได้หลายวิธีค่ะ ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง ห่างไกลจากความเครียด ก็ถือว่ามีส่วนช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงได้

สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยด้วยแลคโตเฟอร์ริน

การได้รับนมแม่ และสารอาหารอย่างเพียงพอจะช่วยให้ลูกน้อยมีภูมิคุ้มกันที่ดี โดยเฉพาะการได้รับแลคโตเฟอร์รินในน้ำนมเหลืองของแม่ เพราะจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ในระบบทางเดินอาหาร หรืออาการท้องเสียของทารก 

อย่างไรก็ตาม ด้านการเสริมภูมิคุ้มกัน ทุกคนอาจเริ่มทำกันมาตั้งแต่ แล้ว โดยการกินนมแม่อย่างต่อเนื่อง อาจเรียกได้ว่าเป็นวัคซีนธรรมชาติที่ดีที่สุดครั้งแรกของทารกเลยก็ว่าได้ จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าในนมแม่นั้นมีสารอาหารที่สำคัญต่อทารก เพราะมีโปรตีน ไขมัน สารอาหารต่าง ๆ ทั้งยังมีพรีไบโอติกที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

หรือแม้แต่การคลอด ก็มีผลต่อภูมิคุ้มกัน การคลอดวิธีธรรมชาติช่วยให้ทารกแรกเกิดมีร่างกายแข็งแรง เนื่องจากมีผลการศึกษาพบว่าในช่องคลอดของแม่นั้นมีจุลินทรีย์และแบคทีเรียชนิดดีที่มีประโยชน์ต่อการสร้างภูมิคุ้มกันทารก ดังนั้น จึงแนะนำให้แม่คลอดธรรมชาติ เพราะทารกที่คลอดธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะแข็งแรงกว่าทารกที่คลอดโดยการผ่าคลอด

มากไปกว่านั้น ร่างกายเราก็ยังจำเป็นที่จะต้องได้รับภูมิคุ้มกันผ่านทางวัคซีน เพราะปัจจุบันนี้ก็ยังมีโรคชนิดใหม่ ๆ หรือโรคเดิมที่มีการพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ การเข้ารับวัคซีนก็จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรค และช่วยลดอาการรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ติดเชื้อโรค

รวมถึงการป้องกันตนเอง ก็เป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเป็นเช่นกันค่ะ ไม่ใช่ว่าแข็งแรงแล้ว ได้รับวัคซีนแล้วเราจะสามารถละเลยการดูแลตัวเอง เพราะการปล่อยให้ตัวเองติดเชื้อบ่อย ๆ ก็มีผลให้การทำงานของภูมิคุ้มกันผิดเพี้ยนไป และทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้เช่นกันค่ะ

ตรวจภูมิคุ้มกันอย่างไร


อีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้ ก็คือการตรวจภูมิคุ้มกัน เพื่อให้เทราบว่าในขณะนี้ร่างกายอ่อนภูมิคุ้มกันหรือไม่ และจำเป็นต้องเพิ่มการดูแลอย่างไรบ้าง โดยการตรวจภูมิคุ้มกันนั้นสามารถทำได้หลายวิธีค่ะ เช่น

     • การตรวจเลือด
     • การตรวจวัดระดับฮอร์โมน
     • การตรวจวัดฮอร์โมนความเครียดและโกรธ
     • การตรวจระดับวิตามินและแร่ธาตุ
     • การตรวจแบคทีเรียภายในลำไส้
     • การตรวจสารสื่อประสาท

ซึ่งจริง ๆ แล้วยังมีรูปแบบการตรวจอีกหลายวิธีที่จะช่วยให้ทราบว่าขณะนี้ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรายังทำงานเป็นปกติอยู่หรือไม่

หากพบว่าขณะนี้ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลง แพทย์ก็จะแนะนำให้เสริมภูมิต้านทาน ซึ่งก็จะทำแตกต่างกันไป โดยอาจเป็นการฉีดวัคซีน การให้วิตามินเสริม ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสุขภาพของแต่ละคน และมากไปกว่านั้นแพทย์ก็จะแนะนำให้ทำการปรับปรุงพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้นด้วยค่ะ

ไขข้อข้องใจเรื่องภูมิคุ้มกันกับ Enfa Smart Club


ภูมิคุ้มกันปกติเท่าไหร่?

ในระบบภูมิคุ้มกันจะมี ลิมโฟไซต์ (Lymphocytes) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันและต่อสู้กับเชื้อโรค แบคทีเรีย และสิ่งแปลกปลอม โดยประมาณ 20 – 40% ของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะเป็นลิมโฟไซต์

ดังนั้น เวลาตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันก็มักจะตรวจหาระดับของลิมโฟไซต์ ซึ่งระดับปกติจะอยู่ที่ 1,000 - 4,800 ลิมโฟไซต์ ต่อปริมาณเลือดทุก ๆ 1 ไมโครลิตร ส่วนในเด็กนั้นจะมีลิมโฟไซต์อยู่ระหว่าง 3,000 ถึง 9,500 ลิมโฟไซต์ ต่อปริมาณเลือดทุกๆ 1 ไมโครลิตร

ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีอาการอย่างไร?

หากภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ร่างกายก็จะเริ่มเจ็บป่วยได้ง่าย เป็นหวัดบ่อย ท้องเสียง่าย มีอาการแพ้ง่าย ติดเชื้อง่าย หากมีการติดเชื้อก็มักจะมีอาการที่รุนแรง ทั้งยังติดเชื้อซ้ำได้บ่อย และรักษาให้หายขาดได้ยากกว่าปกติ

ภูมิคุ้มกันต่ำกินวิตามินอะไร?

เราจะรู้ได้แน่ชัดว่าเรามีภูมิคุ้มกันต่ำจริงหรือไม่ก็ต่อเมื่อได้รับการตรวจจากแพทย์ค่ะ และถ้าหากผลการตรวจออกมาว่ามีระดับภูมิคุ้มกันต่ำจริง ๆ แพทย์ก็จะวินิจฉัยสาเหตุและแนะนำการเสริมวิตามินให้เอง สิ่งสำคัญคือควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์นะคะ เพื่อที่จะได้เสริมภูมิคุ้มกันอย่างถูกต้อง ไม่ควรเข้าใจผิดหรือหลงเชื่อคำโฆษณาไปเอง เพราะอาจส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกัน มากกว่าที่จะได้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงค่ะ



บทความแนะนำเรื่องภูมิคุ้มกัน

บทความที่แนะนำ

How to พาลูกไปข้างนอกอย่างไร ให้ห่างไกล ไวรัสโคโรน่า
MFGM ในนมแม่ ช่วยพัฒนาสมองและภูมิคุ้มกัน
Enfa Smart Club

Leaving page banner

 

Leaving page banner