Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
เกมพัฒนา EF คือ เกมที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) ซึ่งเป็นชุดของความสามารถทางสมองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการตัวเอง เช่น การควบคุมอารมณ์ การวางแผน การแก้ปัญหา และการจดจ่อกับงาน ทักษะเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับความสำเร็จในชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านการเรียน การทำงาน และการเข้าสังคม
เกม EF ช่วยพัฒนาลูกได้อย่างไร เกมพัฒนา EF เป็นเกมแบบไหน ในบทความนี้ Enfa จะพาคุณพ่อคุณแม่มาหาคำตอบกันค่ะ
ปัจจุบันมีการพูดถึง EF กันอย่างกว้างขวางมากขึ้น แล้ว EF คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกันนะ เรามาทำความเข้าใจกันก่อนค่ะ โดย EF (Executive Functions) คือการพัฒนาทักษะสมองซึ่งเป็นความสามารถในการบริหารจัดการตนเองที่สำคัญต่อความสำเร็จในอนาคต ซึ่งสามารถเสริมสร้างได้ตั้งแต่ปฐมวัย และที่สำคัญสามารถเสริมทักษะ EF ผ่านเกมได้ด้วย
เกมพัฒนา EF ไม่ใช้เกมโดยทั่วไป แต่เป็นเกมสื่อ EF ปฐมวัยที่พิสูจน์มาแล้วว่าช่วยพัฒนาทักษะสมอง EF ให้เด็กได้ เกมพัฒนา EF จึงได้รับความสนใจอย่างมากจากพ่อแม่ผู้ปกครองในปัจจุบัน เนื่องจากช่วยให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นในรูปแบบที่สนุกและสร้างสรรค์
เกมพัฒนา EF ช่วยเสริมทักษะสมอง EF ของลูกได้โดยช่วยเด็กพัฒนาทักษะการบริหารจัดการตัวเองภายใต้ 3 ทักษะหลัก คือ ความจำเพื่อใช้งาน (Working Memory) ความยืดหยุ่นทางความคิด (Cognitive Flexibility) การอดทนรอคอยหรือควบคุมตนเอง (Inhibit Control) ซึ่งเกมที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสมจะช่วยส่งเสริมทักษะเหล่านี้ได้
เกม EF สามารถปรับให้เหมาะสมกับเด็กในช่วงอายุที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับระดับพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละวัยด้วย ดังนี้
เด็กในวัยนี้เริ่มสำรวจโลกรอบตัวและพัฒนาทักษะพื้นฐาน เช่น การมอง การหยิบจับ และการจดจำสิ่งง่าย ๆ เกมที่เหมาะควรเน้นความเรียบง่ายและกระตุ้นประสาทสัมผัส เพื่อพัฒนาทักษะความจำเพื่อใช้งาน และฝึกการควบคุมตนเอง เช่น เกมซ่อนของ เกมเรียงลำดับ
เด็กในวัยนี้มีความสามารถในการจดจำและทำตามคำสั่งที่ง่ายขึ้น เริ่มเข้าใจกฎพื้นฐานและพัฒนาทักษะการควบคุมตนเองมากขึ้น จึงควรเป็นเกมที่มีการจดจำและทำตามคำสั่งหรือมีการแก้ปัญหาอย่างง่าย เพื่อฝึกความจำเพื่อใช้งานและฝึกความยืดหยุ่นทางความคิด เช่น การเรียงสิ่งของรูปแบบต่าง ๆ
วัยนี้เป็นช่วงที่ทักษะสมอง EF เริ่มพัฒนาอย่างเด่นชัด เด็กสามารถทำงานที่ซับซ้อนขึ้นได้ เช่น การวางแผนพื้นฐานหรือการทำตามลำดับขั้นตอน สามารถเล่นเกมที่ซับซ้อนขึ้นได้เพื่อฝึกความจำเพื่อใช้งาน ฝึกการควบคุมตนเอง และเสริมความยืดหยุ่นทางความคิด เช่น เกมปริศนาภาพ เกมกระดาน เกมบันไดงู ต่อเลโก้
เด็กในวัยนี้สามารถเข้าใจกฎที่ซับซ้อนมากขึ้น และมีสมาธิยาวนานขึ้น เกมที่เหมาะควรเริ่มกระตุ้นการแก้ปัญหาและการคิดเชิงวิเคราะห์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการวางแผน การแก้ปัญหา และการปรับตัว เช่น เกมเศรษฐี หมากฮอส เกมสร้างหอคอยบล็อกไม้ (Jenga)
ช่วงนี้ทักษะสมอง EF ของเด็กเริ่มก้าวหน้าไปอีกขั้น สามารถจัดการกับเกมที่ต้องคิดซับซ้อนและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เกมที่เหมาะควรเน้นการวางแผนระยะยาวและการทำงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาความยืดหยุ่นทางความคิดในการแก้ปัญหาที่เปลี่ยนแปลง เสริมสร้างทักษะการวางแผนและการทำงานร่วมกับทีม เช่น เกมสร้างเมือง เกมหมากรุก
ทั้งนี้ เพื่อให้การเสริมสร้างทักษะสมอง EF มีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้เกมพัฒนา EF สำหรับเด็ก ควรทำร่วมกับกิจกรรม EF ซึ่งมีหลากหลายกิจกรรม โดยควรเลือกให้เหมาะสมกับช่วงวัย และสามารถปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มความซับซ้อนได้ตามพัฒนาการเด็ก
ช่วงปฐมวัย (อายุ 3-5 ปี) เป็นช่วงเวลาที่สมองของเด็กเริ่มพัฒนาทักษะ EF การเลือกเกมที่เหมาะสมสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการ EF ปฐมวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเกมสื่อ EF ปฐมวัยที่ควรเลือกให้ลูกนั้นมีหลักในการเลือก ดังนี้
1. ปลอดภัยและเหมาะสมกับวัย โดยเกมควรมีขนาดใหญ่พอที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตราย เช่น ของเล่นที่เด็กสามารถจับหรือเคลื่อนย้ายได้ง่าย และต้องไม่มีส่วนเล็ก ๆ ที่อาจทำให้สำลัก
2. กระตุ้นการเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยเลือกเกมที่ส่งเสริมความจำ การแก้ปัญหา และการคิดเชิงตรรกะ เช่น เกมที่มีการเรียงลำดับหรือการจับคู่
3. ช่วยพัฒนาทักษะสังคม โดยเป็นเกมที่ต้องเล่นร่วมกับผู้อื่น เช่น เกมผลัดกันเล่น หรือเกมที่ต้องแบ่งปัน ช่วยสร้างความสัมพันธ์และการเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
4. ส่งเสริมการควบคุมตนเองและสมาธิ โดยเป็นเกมที่ต้องใช้การรอคอย เช่น เกมบล็อกไม้ Jenga หรือเกมบันไดงู ช่วยให้เด็กเรียนรู้การอดทนและควบคุมอารมณ์
5. สามารถปรับความยากง่ายได้ คือ เกมควรมีระดับความยากหลากหลาย ช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะไปตามความสามารถที่เพิ่มขึ้น
เกมสื่อ EF ปฐมวัยที่เหมาะสม จะช่วยพัฒนาสมองในด้านความจำ ความคิดสร้างสรรค์ และการแก้ปัญหาเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวผ่านการเล่นเกมร่วมกัน ช่วยให้เด็กเรียนรู้ทักษะการเข้าสังคมและการจัดการอารมณ์ ทั้งยังช่วยให้ลูกน้อยสนุกกับการเรียนรู้อีกด้วย
เกมพัฒนา EF ควรเลือกให้เหมาะสมกับช่วงวัยพัฒนาการของเด็ก โดยมักมีความซับซ้อนมากขึ้นตามระดับพัฒนาการ ซึ่งเกมพัฒนา EF ที่เป็นที่นิยมอย่างมากและนำไปใช้ได้ดี มีดังนี้
ช่วยพัฒนาความจำเพื่อใช้งาน (Working Memory) เช่น เกมจับคู่ภาพสัตว์หรือตัวการ์ตูน
เช่น เลโก้หรือบล็อกไม้ ช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ การวางแผน และสมาธิ
เช่น การต่อจิ๊กซอว์ขนาดใหญ่ ช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการจดจ่อ โดยควรปรับเพิ่มจำนวนชิ้นจิ๊กซอว์และความยากของภาพให้มากขึ้นตามช่วงวัยของเด็ก
หรือเกมที่เด็กต้องทำตามคำสั่ง เช่น Simon says ยกมือขึ้น หรือ Simon says กระโดด
เช่น เกมบันไดงู หรือเกมทอยลูกเต๋า ช่วยฝึกการควบคุมตนเองและการเรียนรู้กฎกติกา
หรือเกมที่ต้องวางแผน เช่น หมากรุก หมากฮอส หรือ Othello เพื่อเสริมการวางแผนระยะยาว และช่วยพัฒนาการคิดเชิงตรรกะ
เช่น การเล่นเป็นหมอหรือพ่อครัว ช่วยเสริมความยืดหยุ่นทางความคิด และพัฒนาทักษะสังคม
แอปพลิเคชันเสริมพัฒนาการสมองที่มีเกมฝึกความจำหรือเกมจับคู่ในรูปแบบดิจิทัลที่มีกราฟิกสดใส หรือการ์ดคำถามที่กระตุ้นให้เด็กคิดและตอบโต้ได้ ปรับระดับความยากง่ายได้ เพื่อส่งเสริม EF ผ่านการเล่นแบบอินเทอร์แอคทีฟ
โดยการเลือกเกมที่เหมาะสมกับช่วงวัยและความสนใจของเด็ก เน้นเกมที่สนุกสนาน และเด็กมีความกระตือรือร้นที่จะเล่น จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดี สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ EF ของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างพื้นฐานที่ดีสำหรับการเติบโตในอนาคต
MFGM สุดยอดสารอาหารสมองจากนมแม่ สารอาหารชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมสร้างพัฒนาการด้านสมองและการเรียนรู้ ให้ลูกได้มีทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า
Enfa สรุปให้: ทักษะ EF คือ ทักษะของสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ควบคุม ความคิด อารมณ์ และการกระทำ กล...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ กิจกรรม EF เป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ทักษะ EF ปฐมวัย 9 ด้าน เป็นกลุ่มทักษะสมองที่มีความสำคัญต่อการควบคุมตนเอง การแก้ปัญห...
อ่านต่อ