
Enfa สรุปให้
- EF ปฐมวัย คือ การเสริมทักษะสมองส่วนหน้าที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในอนาคตของเด็ก โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถพัฒนาทักษะ EF ปฐมวัยให้ลูกได้ในช่วง 3-5 ปีแรกของชีวิต
- การเสริมทักษะ EF ปฐมวัย เป็นการเสริมทักษะสำหรับจัดการชีวิตและการควบคุมตนเองทั้งด้านความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะทางสังคมในอนาคต
- การเสริมทักษะ EF ปฐมวัย สามารถทำได้โดยใช้กิจกรรม EF ปฐมวัย หรือแผนการสอนแบบ EF ปฐมวัย ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในและนอกโรงเรียน
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• EF ปฐมวัยคืออะไร
• ทำไมจึงควรสร้างเสริมทักษะ EF ให้เด็กปฐมวัย
• การสอนแบบ EF ปฐมวัย
• กิจกรรม EF ปฐมวัย
• รู้จักโครงการ EF ปฐมวัย ทั้งในและนอกโรงเรียน
• MFGM สารอาหารในนมแม่เพื่อ IQ และทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า
ทักษะ EF หรือ Executive Function คือ ทักษะสมองส่วนหน้าที่จำเป็นอย่างมากต่อการใช้ชีวิตในอนาคต โดยลูกน้อยสามารถพัฒนาทักษะ EF ปฐมวัยได้อย่างรวดเร็วในช่วง 3-5 ปีแรกของชีวิต คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรพลาดโอกาสทองในช่วงนี้
บทความนี้ Enfa จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จัก “EF ปฐมวัย” กันว่า EF ปฐมวัยคืออะไร? ทำไมต้องเสริมกิจกรรม EF ปฐมวัย? การสอนแบบ EF ปฐมวัยเป็นอย่างไรกันนะ? มาหาคำตอบพร้อมกันเลยค่ะ
EF ปฐมวัยคืออะไร
คุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่า EF คืออะไร ทำไมต้องให้ความสำคัญกับ EF ปฐมวัยด้วย ซึ่งความจริงแล้ว EF เป็นเรื่องใกล้ตัวและมีความสำคัญอย่างมากเลยค่ะ
EF ปฐมวัย คือ การพัฒนาทักษะสำหรับจัดการชีวิต ควบคุมตนเอง ควบคุมอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม เช่น การจดจำข้อมูล (Working Memory) การควบคุมการตอบสนอง (Inhibition) และการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดอย่างยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility) ให้ลูกรักตั้งแต่ในช่วงปฐมวัย หรือวัย 3-5 ขวบปีแรกซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญของชีวิตที่ทักษะ EF สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
ทำไมจึงควรสร้างเสริมทักษะ EF ให้เด็กปฐมวัย
การเสริมทักษะ EF ปฐมวัย เป็นการเสริมทักษะสำหรับจัดการชีวิตและการควบคุมตนเองทั้งด้านความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมให้ลูกรักตั้งแต่เด็ก ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะทางสังคมในอนาคต ตัวอย่างประโยชน์ของการเสริมทักษะ EF ให้เด็กปฐมวัย มีดังนี้
- รู้จักปรับตัว: EF จะช่วยเสริมให้มีความยืดหยุ่นทางความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดได้ เมื่อเงื่อนไขหรือสถานการณ์เปลี่ยนไป ไม่ยึดติดกับแนวคิดใด ๆ อย่างตายตัว
- ควบคุมตนเองได้: EF ช่วยให้เด็กรู้จักยับยั้งและควบคุมตนเองเพื่อไม่ให้ทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม แม้ว่าจะถูกชักชวนหรือมีสิ่งกระตุ้นมาล่อ
- จดจำได้ดี นำไปใช้ได้: เด็กที่ EF พัฒนาดี จะมีความจำดี มีสมาธิ สามารถทำสิ่งต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องให้สำเร็จตามเป้าหมายได้
- มีความคิดสร้างสรรค์: สามารถคิดนอกกรอบได้ นำประสบการณ์หรือสิ่งที่เคยเรียนรู้ มาปรับใช้ในการเรียน การทำงาน หรือกิจกรรมใหม่ได้
- มีทักษะเข้าสังคม: เด็กที่มี EF ดีจะเข้าสังคมได้ดีทั้งในครอบครัว ห้องเรียน เพื่อนฝูง และในสังคมได้อย่างเหมาะสม ทำให้สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้
- รู้จักประเมินตนเอง: เพราะ EF ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในสิ่งดี ๆ ที่ทำ รวมทั้งสามารถนำจุดบกพร่องมาปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้นได้
- การคิดวิเคราะห์เป็น: ทักษะสมอง EF ทำให้รู้จักการวางแผนการเรียนและการทำงานอย่างมีระบบ ลงมือทำจนสำเร็จ ตามเป้าหมายและเวลาที่กำหนดได้
- มีความอดทน: การเสริมทักษะ EF ปฐมวัยตั้งแต่ยังเล็ก ทำให้เด็กสามารถอดทนรอได้ มีความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค
การเสริมทักษะ EF ปฐมวัย สามารถทำได้หลายวิธี เช่น เสริมกิจกรรม EF ปฐมวัย หรือใช้แผนการสอนแบบ EF ปฐมวัย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเสริมทักษะ EF ให้ลูกได้ภายในครอบครัวผ่านกิจกรรมกระตุ้นความคิด การแก้ปัญหา การเล่นของเล่นที่มีโครสร้าง เกมที่มีการวางแผน ตลอดจนการเล่านิทาน หรือกิจกรรมดนตรี รวมทั้งสามารถเลือกโรงเรียนที่มีแผนการเรียนช่วยเสริมทักษะ EF ให้ลูกน้อยได้เช่นกัน
การสอนแบบ EF ปฐมวัย
การสอนแบบ EF ปฐมวัย ควรเน้นการส่งเสริมทักษะที่ช่วยให้เด็กสามารถควบคุมตนเอง จดจำข้อมูล ปรับตัวกับสถานการณ์ใหม่ และตัดสินใจได้ดีขึ้น แผนการสอนแบบ EF ปฐมวัยที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
- ใช้กิจกรรมที่กระตุ้นการควบคุมตนเอง โดยให้เด็กฝึกหยุดรอหรือยับยั้งการตอบสนองตามคำสั่ง เช่น เกมหยุด-เดิน หรือเกมที่ฝึกให้ทำตามคำสั่ง
- ใช้เกมและกิจกรรมที่มีการคิดเชิงยืดหยุ่น โดยให้เด็กฝึกทำกิจกรรมที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการคิดตามสถานการณ์ เช่น การเปลี่ยนกฎของเกมหรือการสลับบทบาทในเกม กระตุ้นการคิดที่ยืดหยุ่น และการปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
- ใช้การฝึกทักษะการจดจำและการทำงานหลายขั้นตอน โดยให้เด็กทำกิจกรรมที่ต้องจำคำสั่งหลายขั้นตอนหรือจัดลำดับขั้นตอน เช่น การสร้างสิ่งของจากวัสดุที่มีอยู่ หรือการเล่นบทบาทสมมติที่เด็กต้องทำงานหลาย ๆ ขั้นตอนร่วมกัน
- ใช้การเล่นสร้างสรรค์และบทบาทสมมติ โดยฝึกการเล่นบทบาทสมมติ เช่น การแสดงเป็นตัวละครในนิทานหรือการจำลองสถานการณ์ในชีวิตจริง เช่น ร้านค้า โรงเรียน หรือโรงพยาบาล ช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะการคิดวางแผน การแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ใช้การประเมินผลและการสะท้อนผล โดยผู้สอนควรสังเกตและประเมินผลจากพฤติกรรมของเด็กระหว่างทำกิจกรรม ควรให้เด็กสะท้อนผลการเรียนรู้ เช่น ถามคำถามเพื่อให้เด็กคิดและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ เช่น วันนี้เราเรียนรู้อะไรบ้าง? เราทำได้ดีหรือไม่และทำอย่างไร? เป็นต้น
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสอน EF ปฐมวัยที่บ้านหรือโรงเรียน ควรมีการจัดห้องเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย เช่น มีมุมเรียนรู้หลายรูปแบบที่ช่วยกระตุ้นการคิด เช่น มุมศิลปะ มุมการเล่นทักษะแก้ปัญหา โดยแผนการสอน EF ปฐมวัยควรใช้กิจกรรมที่ผสมผสานระหว่างการฝึกทักษะทางสมอง การเล่น และกิจกรรมที่กระตุ้นความคิดและการทำงานร่วมกัน เพื่อให้เด็กสามารถพัฒนาทักษะ EF ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้และการเข้าสังคมในอนาคต
กิจกรรม EF ปฐมวัย
กิจกรรม EF ปฐมวัยควรเน้นการออกแบบกิจกรรมที่พัฒนาทักษะสมองด้านการคิดวิเคราะห์ การควบคุมตนเอง และการวางแผนอย่างสร้างสรรค์ โดยผสมผสานกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในบริบทที่เหมาะสมกับวัยเด็ก และเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
ตัวอย่างกิจกรรม EF ปฐมวัย
- กิจกรรมที่ส่งเสริมการควบคุมตนเอง เช่น เกมหยุด-เดิน ช่วยให้เด็กรู้จักรอคอย เรียนรู้การควบคุมการกระทำของตัวเอง
- กิจกรรมที่ส่งเสริมการจดจำและการทำงานหลายขั้นตอน เช่น การเล่านิทานแล้วให้เด็กเล่าซ้ำหรือตอบคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
- กิจกรรมที่กระตุ้นความยืดหยุ่นทางความคิด เช่น การจับคู่ภาพ การจับคู่สี
- กิจกรรมที่ใช้การวางแผนและแก้ปัญหา เช่น การสร้างสิ่งของจากบล็อกไม้ การแก้ปัญหาในสถานการณ์จำลอง
- กิจกรรมที่ใช้การเล่นสร้างสรรค์ เช่น การเล่นบทบาทสมมติในสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นครู เป็นหมอ เป็นพ่อครัว กระตุ้นการคิดเชิงระบบ การวางแผน และการตัดสินใจ
- กิจกรรมที่สนับสนุนการเรียนรู้ผ่านดนตรีและการเคลื่อนไหว เช่น การใช้เพลงและจังหวะร่วมกับการเคลื่อนไหว
รู้จักโครงการ EF ปฐมวัย ทั้งในและนอกโรงเรียน
จากความสำคัญของการพัฒนาทักษะ EF ปฐมวัย จะเห็นได้ว่าปัจจุบันในประเทศไทยมีหลายโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาและเสริมทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัย ทั้งในและนอกโรงเรียน ตัวอย่างโครงการที่น่าสนใจ ได้แก่
- โครงการพัฒนาพื้นที่บูรณาการการส่งเสริม EF โดยมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์ฯ
- โครงการ “ภาคี ดาว-อีเอฟ พัฒนาเด็ก กทม.”
- แพลตฟอร์ม EF ปี 2567 : ร่วมด้วยช่วยกันสร้างทักษะสมอง EF เด็กไทย
- โครงการพัฒนาทักษะ EF ไปกับศิลปะและงานประดิษฐ์ จาก twinkl
- โครงการ EF ของ สสส.
- โครงการ EF ในสถาบันราชภัฏ
- โครงการ EF ในชุมชนต้นแบบ
MFGM สารอาหารในนมแม่เพื่อ IQ และทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า
MFGM สุดยอดสารอาหารสมองจากนมแม่ สารอาหารชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมสร้างพัฒนาการด้านสมองและการเรียนรู้ ให้ลูกได้มีทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า
- Center on the Developing Child. Harvard University. What Is Executive Function? And How Does It Relate to Child Development?. [Online]. Accessed https://developingchild.harvard.edu/resources/what-is-executive-functio…. [4 December 2024].
- Center on the Developing Child. Harvard University. Executive Function & Self-Regulation. [Online]. Accessed https://developingchild.harvard.edu/science/key-concepts/executive-func…. [4 December 2024].
- Harvard Health Publishing. Executive function in children: Why it matters and how to help. [Online]. Accessed https://www.health.harvard.edu/blog/executive-function-in-children-why-…. [4 December 2024].
- โรงพยาบาลมนารมย์. EF Executive Function สำคัญต่อพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยอย่างไร ?. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.manarom.com/blog/EF_Executive_Function.html. [4 ธันวาคม 2567].
- สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. การพัฒนาทักษะทางสมอง EF (Executive functions). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://ops.moe.go.th/wp-content/uploads/2023/05/7.-การพัฒนาทักษะทางสมอ…. [4 ธันวาคม 2567].
- สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). EF Guideline. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/wp-content/uploads/2020/02/616.pdf. [4 ธันวาคม 2567].
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย