
Enfa สรุปให้
- การพัฒนาทักษะสมอง EF คือการเสริมสร้างทักษะสมองทั้งความคิด การควบคุมอารมณ์ การวางแผน และการแก้ปัญหา ผ่านกิจกรรมและการเลี้ยงดูอย่างตั้งใจ
- พ่อแม่เป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนร่วมในการการพัฒนาทักษะสมอง EF ให้ลูกน้อย โดยสามารถกระตุ้นการพัฒนา EF ผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
- เด็กควรได้รับการพัฒนา EF ตั้งแต่ช่วงปฐมวัย หรือช่วงอายุ 3-5 ปีแรก เนื่องจากเป็นวัยที่สมองพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการพัฒนา EF ให้ลูกสามารถเริ่มได้จากครอบครัว
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• พัฒนาทักษะสมอง EF ทำได้ยังไงบ้าง
• คุณพ่อคุณแม่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา EF ของลูกอย่างไร
• การพัฒนาทักษะสมอง EF สำคัญอย่างไรต่อลูกน้อย
• MFGM สารอาหารในนมแม่เพื่อ IQ และทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า
ทักษะสมอง EF คือความสามารถในการบริหารจัดการตนเอง เช่น การควบคุมอารมณ์ การวางแผน การแก้ปัญหา และการยับยั้งชั่งใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินชีวิตและการเรียนรู้ของเด็ก หากพัฒนาทักษะสมอง EF ได้อย่างเหมาะสม จะช่วยให้เด็กสามารถจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
บทความนี้ Enfa จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะสมอง EF พร้อมแนะนำวิธีการที่คุณพ่อคุณแม่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา EF ของลูกอย่างไรบ้าง มาอ่านพร้อมกันเลยค่ะ
พัฒนาทักษะสมอง EF ทำได้ยังไงบ้าง
คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจกำลังสงสัยว่า EF คืออะไร แล้วสำคัญต่อลูกเราอย่างไร จริง ๆ แล้ว EF คือ ทักษะทางสมองที่มีหน้าที่ควบคุมและจัดการพฤติกรรม ความคิด และอารมณ์ จะช่วยให้เราสามารถคิด วางแผน ตัดสินใจ และควบคุมตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะนี้สามารถพัฒนาได้ตั้งแต่เด็กผ่านการส่งเสริมจากครอบครัว
แล้วการพัฒนาทักษะสมอง EF ทำได้ยังไงบ้าง? ไม่ยากเลยค่ะ! การพัฒนาทักษะสมอง EF ทำได้ผ่านกิจกรรมในชีวิตประจำวันและการเลี้ยงดูอย่างตั้งใจ ซึ่งเน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ และการจัดการอารมณ์ของเด็ก โดยสามารถเริ่มได้จากที่บ้านผ่านกิจกรรมหรือกิจวัตรประจำวันที่ Enfa แนะนำดังนี้
1. กิจกรรมเล่นที่ใช้การคิดและวางแผน
ควรชวนเด็กเล่นเกมที่มีเป้าหมายชัดเจน มีการวางแผนและแก้ปัญหา เช่น เกมต่อจิ๊กซอว์ เกมกระดาน หรือเกมสร้างเมือง หรือเล่นเกมที่ได้ฝึกการคิดเชิงเหตุผลและการควบคุมอารมณ์ เช่น การเล่นบทบาทสมมติ เป็นหมอ แม่ค้า หรือคุณครู เป็นต้น โดยสามารถปรับระดับความยากได้ตามช่วงวัยของเด็ก
2. ส่งเสริมการทำงานที่ต้องใช้ความรับผิดชอบ
ควรฝึกให้เด็กช่วยงานบ้านง่าย ๆ หรือมีความรับผิดชอบในบ้านเล็กน้อย เช่น การจัดเก็บของเล่นด้วยตนเอง ช่วยจัดโต๊ะอาหาร ช่วยแยกผ้าใส่ตะกร้า เพื่อฝึกการจัดการงานและการยับยั้งชั่งใจ
3. สร้างกิจวัตรประจำวัน
ควรจัดตารางเวลาที่มีความสม่ำเสมอและปฏิบัติอย่างจริงจัง เช่น เวลาเข้านอน เวลาทำการบ้าน และเวลาเล่น เพื่อให้เด็กเรียนรู้การจัดการเวลาและสร้างวินัยในตนเอง ซึ่งข้อนี้สำคัญมากตรงที่ผู้ดูแลก็ควรเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยเช่นกัน
4. การอ่านหนังสือและเล่านิทาน
การอ่านหนังสือไม่เพียงพัฒนาทักษะสมอง EF ได้เท่านั้น แต่ยังปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้ลูกได้อีกด้วย โดยควรเลือกหนังสือที่มีเรื่องราวชวนติดตาม และตั้งคำถามให้เด็กช่วยวิเคราะห์โดยเป็นคำถามปลายเปิด เช่น ตัวละครนี้ควรจะทำยังไงต่อ เพื่อฝึกทักษะการคิดเชิงเหตุผล
5. การฝึกให้แก้ปัญหาด้วยตัวเอง
เมื่อเด็กเจอปัญหา คุณพ่อคุณแม่ควรรับฟังอย่างเข้าใจ ไม่รีบตัดสิน และไม่ควรรีบแก้ปัญหาให้ แต่ควรให้คำแนะนำ เช่น ลองคิดดูว่าเราจะแก้ปัญหานี้ได้ยังไงบ้าง? เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และความมั่นใจ
6. ฝึกการควบคุมอารมณ์
อารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ เป็นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ การแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาไม่ใช่เรื่องผิด แต่จำเป็นต้องรู้จักการจัดการอารมณ์ตนเองให้ได้ ดังนั้น ควรสอนให้เด็กหายใจลึก ๆ เมื่อรู้สึกโกรธหรือหงุดหงิด และพูดคุยถึงวิธีการแสดงออกอารมณ์ในเชิงบวก
7. การทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ
นอกจากการฝึกควบคุมอารมณ์และจัดการอารมณ์แล้ว การเสริมสร้างความอดทน สร้างสมาธิ สร้างความสามารถในการจดจ่อก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากเช่นกัน โดยสามารถเสริมได้ด้วยหลายกิจกรรม เช่น การวาดภาพ การเล่นดนตรี การต่อเลโก้
8. สร้างสถานการณ์ที่กระตุ้น EF
การเล่นบทบาทสมมติเป็นรูปแบบของสถานการณ์จำลองที่ดี เช่น เล่นเกมร้านค้า หรือเกมที่ต้องตัดสินใจในเวลาจำกัด สถานการณ์จำลองเหล่านี้หากทำอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ในด้านการคิดและการจัดการอารมณ์ และมีความพร้อมรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้และการดำรงชีวิตในอนาคต
กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะสมอง EF เหล่านี้ สามารถเริ่มฝึกได้จากที่บ้าน โดยเฉพาะช่วง 3-5 ปีแรกซึ่งสมองเด็กสามารถพัฒนาได้ดีที่สุด
คุณพ่อคุณแม่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา EF ของลูกอย่างไร
พ่อแม่เป็นบุคคลสำคัญในการพัฒนาทักษะสมอง EF ของลูก เพราะเป็นผู้ใกล้ชิดลูกที่สุดและมีบทบาทในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้และฝึกฝน EF ได้ในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมทักษะสมอง EF ให้ลูกนั้นสามารถเริ่มได้ตั้งแต่แรกเกิดและดีที่สุดในช่วงปฐมวัยอายุ 3-5 ปี โดยควรพัฒนาทักษะ EF ปฐมวัย 9 ด้าน ไปพร้อม ๆ กันทุกด้าน ผ่านกิจกรรม EF ที่ทำอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF แล้ว สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา EF ของลูกได้เป็นอย่างดี คือ
- เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก เพื่อให้ลูกเรียนรู้พฤติกรรมและนำไปปฏิบัติตาม
- ส่งเสริมการตั้งเป้าหมายและการวางแผน เพื่อช่วยให้ลูกวางแผนและติดตามผลงานในการคิดและการจัดลำดับความสำคัญได้
- กระตุ้นการแก้ปัญหาด้วยคำถาม ไม่รีบเข้าไปช่วยหรือแก้ปัญหาให้ในทันที ควรตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ลูกคิดเอง
- สร้างกฎและความคาดหวังที่ชัดเจน ควรเป็นกฎแบบเดียวกันที่ปฏิบัติร่วมกันทั้งครอบครัว เช่น เวลาเข้านอน การรักษาความสะอาด
- สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับการเรียนรู้ ให้เด็กมีโอกาสได้ลองผิดลองถูก เพื่อรู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง
- ส่งเสริมการจัดการอารมณ์ เพื่อให้เด็กมีความมั่นคงทางอารมณ์มากขึ้น เข้าใจตนเอง และควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น
- ให้กำลังใจและคำชมเชย เพื่อเป็นการชื่นชมความพยายามของลูก ซึ่งจะสร้างความมั่นใจให้ลูกมากขึ้น
- ส่งเสริมการมีวินัยในตัวเอง โดยช่วยลูกสร้างตารางเวลา เช่น เวลาอ่านหนังสือ เวลาเล่นเกม รวมทั้งสอนให้รับผิดชอบหน้าที่ เช่น การเก็บของเล่น การทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ
การพัฒนาทักษะสมอง EF สำคัญอย่างไรต่อลูกน้อย
ทักษะสมอง EF มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก ทั้งในด้านการเรียนรู้ การปรับตัว และการดำเนินชีวิต การพัฒนาทักษะสมอง EF สำคัญต่อลูกน้อยอย่างมาก คือ
- สมองจำดี เรียนรู้ได้ดีขึ้น จดจ่อและตั้งใจเรียนมากขึ้น มีสมาธิกับการเรียนมากขึ้น
- ยืดหยุ่นทางความคิด สามารถแก้ปัญหาเชิงเหตุผล สามารถวิเคราะห์และหาทางแก้โจทย์หรือสถานการณ์ที่ซับซ้อนได้
- รู้จักอดทนรอคอย มีความยับยั้งชั่งใจ
- วางแผนและจัดการงานได้เป็นระบบขึ้น เช่น แบ่งเวลา ทำการบ้าน เตรียมตัวสอบ
- ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น และจัดการอารมณ์ได้ดีขึ้น
- สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้จักตั้งเป้าหมาย และทำให้สำเร็จ
- สามารถเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรคได้อย่างยืดหยุ่นและมั่นใจ
MFGM สารอาหารในนมแม่เพื่อ IQ และทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า
MFGM สุดยอดสารอาหารสมองจากนมแม่ สารอาหารชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมสร้างพัฒนาการด้านสมองและการเรียนรู้ ให้ลูกได้มีทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า
- National Library of Medicine. Executive Functions. [Online]. Accessed https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC4084861/. [7 December 2024].
- Cleveland Clinic. Executive Function. [Online]. Accessed https://my.clevelandclinic.org/health/articles/executive-function. [7 December 2024].
- Center on the Developing Child at Harvard University. Executive Function & Self-Regulation. [Online]. Accessed https://developingchild.harvard.edu/science/key-concepts/executive-func…. [7 December 2024].
- Center on the Developing Child at Harvard University. What Is Executive Function? And How Does It Relate to Child Development?. [Online]. Accessed https://developingchild.harvard.edu/resources/what-is-executive-functio…. [7 December 2024].
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://eledu.ssru.ac.th/duangkamol_ch/pluginfile.php/119/mod_resource/…. [7 ธันวาคม 2567].
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). คู่มือพ่อแม่ พัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions ตั้งแต่ปฏิสนธิ – 3 ปี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/wp-content/uploads/2020/02/617.pdf. [7 ธันวาคม 2567].
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย