Enfa สรุปให้:
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ในแง่ของการใช้ชีวิต เด็กคนหนึ่งจะเก่งแค่วิชาการไม่ได้ แต่จำเป็นจะต้องเรียนรู้ที่จะมีการควบคุมความคิด อารมณ์ ความรู้สึก รู้จักการใช้เหตุและผล เพื่อที่เด็กจะได้เติบโตมาเป็นคนที่มีคุณภาพ มีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิต
ซึ่งหนึ่งในทักษะสำคัญที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของลูกน้อยนั่นก็คือ ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF อันเป็นหนึ่งในทักษะจำเป็นที่จะต้องได้รับการปลูกฝังตั้งแต่ยังเด็ก ๆ แต่ทักษะ EF คืออะไร และจำเป็นต่อการใช้ชีวิตอย่างไร บทความนี้จาก Enfa มีคำตอบรออยู่แล้วค่ะ
Executive Function หรือ EF คือ ทักษะสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระทำ ซึ่งจะส่งผลต่อวางแผน การจัดระเบียบ การริเริ่ม การควบคุม ไปจนถึงการประเมินความคิด อารมณ์ และการกระทำของตนเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้
หรืออาจจะกล่าวง่าย ๆ ก็คือ ก็คือเป็นทักษะสมองที่ช่วยให้ชีวิตประสบความสำเร็จ เพราะคนเราจะทำอะไรให้สำเร็จได้ก็จะต้องผ่านกระบวนการคิด การตัดสินใจ การวางแผน การควบคุมอารมณ์ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
ดังนั้น หากเด็กได้รับการส่งเสริมและกระตุ้นการใช้งานสมองส่วนหน้า ก็จะช่วยปูพื้นฐานให้เด็กโตมาเป็นเด็กที่มีความคิดและการใช้ชีวิตที่เป็นระบบมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต
ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ Harvard Center on the Developing Child ที่พบว่าความสามารถของสมองส่วนหน้านี้จะมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น
แต่หนึ่งในช่วงที่สำคัญที่สุดคือช่วง 2 - 3 ปีแรกของชีวิต ซึ่งจะเป็นก้าวแรกของการพัฒนาสมองลูกน้อยให้พร้อมต่อกระบวนการคิด การลงมือทำ และการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ก้าวแรกที่สำคัญในการปูพื้นฐานให้ลูกมีทักษะสมองที่สมวัยนั้น คือการพัฒนาทักษะผ่านการเลี้ยงดู และการเอาใจใส่กับโภชนาการของลูกน้อยโดยหนึ่งในสารอาหารสำคัญต่อสมองของลูกน้อยก็คือ Milk Fat Globule Membrane (MFGM) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนมแม่
MFGM อุดมไปด้วยไขมันและโปรตีนหลายชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน แกงกลิโอไซด์ และฟอสโฟลิปิด เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมพัฒนาการรับรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านสติปัญญาและความจำ
จากงานวิจัยทางคลินิก พบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับ DHA ทั้งจากนมแม่และนมสูตรที่มี MFGM พบว่าเด็กกลุ่มนี้มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับ DHA เพียงอย่างเดียว
นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหารใน MFGM ทำงานร่วมกับ DHA ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ DHA เพียงอย่างเดียว เมื่อเซลล์สมองมีการเชื่อมต่อมาก ก็จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็ก
ทักษะสมอง EF นั้น เริ่มเข้าสู่กระบวนการพัฒนาหลังจากที่ทารกคลอดออกมาได้ไม่นานค่ะ ซึ่งช่วงแรกเกิด - 5 ปีแรกของชีวิตนี้ ถือว่าเป็นช่วงนาทีทองที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาด เพราะเป็นห้วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถส่งเสริม กระตุ้น ช่วยเหลือ และชี้แนะให้เด็กได้พัฒนาทักษะ EF ได้มากขึ้น
ทักษะทางสมองของเด็กจะพัฒนาต่อเนื่องไปยังช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ดังนั้น หากเริ่มสร้างพื้นฐานที่ดีด้วยการเสริมสร้างผ่านกิจกรรมต่างๆ ในช่วง 5 ขวบปีแรก ควบคู่ไปกับการให้นมแม่ที่มี MFGM เด็กก็จะเติบโตมาพร้อมกับทักษะทางสมองที่สมวัย พร้อมสำหรับการเรียนรู้และการพัฒนาในอนาคต
3 ทักษะ EF ที่สำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรปลูกฝังให้แก่ลูกน้อย ได้แก่
ทักษะสมอง EF เป็นเรื่องที่สามารถฝึกฝนกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 5 ขวบปีแรก คุณพ่อคุณแม่ควรจะพาลูกทำกิจกรรมเสริมทักษะสมอง เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานการพัฒนาของสมอง กระตุ้นการใช้ความจำ ฝึกการควบคุมตนเอง การวางแผน การแก้ไขปัญหา ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ตามช่วงวัย ลองทำสื่อ EF ปฐมวัย หรือจะใช้เป็น นิทาน EF นิทานพัฒนาสมอง ก็ได้เช่นกัน โดยกิจกรรมต่างๆที่เหมาะแต่ละช่วงวัย มีดังนี้
กิจกรรมที่เหมาะสำหรับเด็กในวัยนี้ สามารถทำได้ผ่านกิจกรรมง่าย ๆ ที่แทบไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ เลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการอุ้มลูกนั่งตัก แล้วพากันร้องเพลง พากันพูดคุยเรื่องต่าง ๆ การเล่นจ๊ะเอ๋ การเล่นซ่อนแอบ การฝึกนับนิ้วด้วยกัน หรือการเลียนแบบท่าทางต่าง ๆ เช่น ร้องไห้ หัวเราะ เสียใจ การเลียนแบบเสียงสัตว์ต่าง ๆ
กิจกรรมเหล่านี้จะเน้นช่วยกระตุ้นให้ทารกฝึกสมาธิ มีการจดจ่อ การใช้ความจำ และฝึกทักษะการควบคุมตนเองขั้นพื้นฐาน ทั้งยังช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์และความใกล้ชิดให้เพิ่มขึ้นด้วย
ในช่วงพัฒนาการเด็กวัย 18 - 36 เดือนนี้ ถือเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการทักษะทางภาษาอย่างรวดเร็ว ซึ่งภาษาและการสื่อสารนั้นจะช่วยให้เด็กเข้าใจภาษาและมีส่วนร่วมในบทสนทนาและการเล่าเรื่องได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริมทักษะผ่านกิจกรรมง่าย ๆ เช่น การวาดรูป การเขียน หรือการอ่านนิทาน EF / นิทานพัฒนาสมองร่วมกัน ก็สามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น จดจ่อมากขึ้น และเสริมทักษะความจำด้วย
มากไปกว่านั้น เด็กในช่วงวัยเตาะแตะนี้ ยังเหมาะสำหรับกิจกรรมจำพวกการใช้แรงกาย ที่แฝงความท้าทายเอาไว้ด้วย เช่น การขว้างปาและจับลูกบอล การเดินบนคานทรงตัว เกมเลียนแบบ เกมเพลง เกมเต้นแบบมีสัญญาณให้เริ่มและหยุด เกมเหล่านี้จะกระตุ้นความสนใจของเด็ก เสริมความจำ และการควบคุมการยับยั้งชั่งใจ ไม่ให้เล่นนอกกติกา
เด็กเล็กในวัยนี้ เหมาะอย่างยิง่ที่จะเสริมทักษะด้านการควบคุมตนเอง เนื่องจากเด็กเริ่มโตขึ้น เริ่มมีสังคมเพื่อร่วมชั้นอนุบาล การฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมตนเอง รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมใหม่ ๆ และเสริมสร้างจินตนาการตั้งแต่วัยเยาว์ จึงถือเป็นเรื่องที่จำเป็นผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เกมที่ต้องเล่นเป็นกลุ่มหรือเป็นคู่ กิจกรรมที่ต้องให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์ อย่างเช่น การทำอุปกรณ์ประกอบฉาก การประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุง่าย ๆ เป็นต้น
เด็กอายุ 5 ถึง 7 ปี เป็นช่วงวัยที่เหมาะสำหรับการส่งเสริมทักษะด้านความจำ ความยืดหยุ่นทางความคิด การปรับตัว การยับยั้งชั่งใจ และเสริมสมาธิ ผ่านเกมต่าง ๆ เช่น เกมไพ่ เกมกระดาน หรือกิจกรรมที่ต้องมีการวางแผนกลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมาย เกมไขปริศนาต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม เด็กในวัยนี้แม้จะเข้าใจความซับซ้อนของเกมได้ แต่เกมนั้นก็ไม่ควรจะยากเกินไปจนทำให้เด็กเล่นเกมไม่สนุกเพราะไม่เข้าใจกติกาที่ยุ่งยากก
เด็กวัย 7-12 ปี ถือว่าเป็นช่วงวัยที่สามารถเข้าใจความซับซ้อนต่าง ๆ ของกิจกรรมได้เป็นอย่างดี และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเสริมทักษะสมอง Executive Function เช่น เกมปริศนาอักษรไขว้ เกมซูโดกุ รูบิก เกมคอมพิวเตอร์
มากไปกว่านั้น เด็กในวัยนี้ยังเป็นวัยที่เริ่มมีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ ตามความต้องการและทักษะของตนเอง เช่น เด็กบางคนอยากเรียนว่ายน้ำ เด็กบางคนสนใจเรียนดนตรี ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะมีส่วนช่วยเสริมทั้งทักษะความสามารถ และการใช้งานสมองได้เป็นอย่างดี
หรือถ้าหากเด็กยังไม่มีท่าทีว่าจะสนใจสิ่งใดเป็นพิเศษ คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตและให้คำแนะนำ เพื่อช่วยส่งเสริมให้ลูกได้แสดงความสามารถออกมาได้อย่างเหมาะสมม
MFGM สุดยอดสารอาหารสมองจากนมแม่ สารอาหารชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมสร้างพัฒนาการด้านสมองและการเรียนรู้ ให้ลูกได้มีทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า
เด็กที่ไอคิวสูง ตามความเข้าใจพื้นฐานของคุณพ่อคุณแม่ก็คือเด็กที่เก่ง ฉลาด รอบรู้ แต่... การเป็นคนเก่งในด้านวิชาการ ไม่ได้หมายความว่าจะมาพร้อมกับความสามารถในการควบคุมตนเอง รู้จักคิดยืดหยุ่น รู้จักการวางแผนและจัดการกับชีวิตได้ดีไปด้วย
ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF เป็นอีกทักษะหนึ่งที่จำเป็นจะต้องได้รับการฝึกฝน ดังนั้น เด็กที่ไอคิวสูงจึงไม่ได้หมายความว่าจะมีทักษะ Executive Function สูงตามไปด้วย หากไม่ได้รับการฝึกฝนและส่งเสริมทักษะทั้งสองด้านไปพร้อม ๆ กัน
เด็กอายุที่มากขึ้น ทักษะนี้ก็จะพัฒนาได้มากขึ้นไปตามความซับซ้อนของกิจกรรม การเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ตราบเท่าที่การพัฒนานั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เด็กก็มีแนวโน้มที่จะมีทักษะ EF ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่ออายุมากขึ้น หรือเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ทักษะ EF มีแนวโน้มที่จะลดลงไปตามปัจจัยด้านสภาพร่างกายและสภาพแวดล้อม เช่น มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับสมอง ก็อาจจะส่งผลต่อทักษะความจำที่ลดลง หรือมีผลต่อคว่ามสามารถในการตัดสินใจได้
สมองส่วนหน้า เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิด การวางแผน ตัดสินใจ การมีเหตุมีผล รวมถึงทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ซึ่งสอดคล้องกับ Executive Function หรือ EF ที่พูดถึงทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ หรือก็คือทักษะที่ว่าด้วยความสามารถของสมองส่วนหน้านี่เองค่ะ
ทักษะ EF ของเด็กจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็วในช่วง 5 ขวบปีแรก ส่วนจะพัฒนาเต็มที่ในช่วงอายุเท่าไหร่นั้น เป็นเรื่องที่เจาะจงได้ยากค่ะ อย่าลืมว่าเด็กแต่ละคนได้รับการปูพื้นทักษะไม่เหมือนกัน ความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรในการใช้ชีวิตก็ต่างกัน ดังนั้น ทักษะ Executive Function ของเด็กแต่ละคนจึงมีจุดสูงสุดของพัฒนาการที่แตกต่างกันค่ะ
ทักษะ EF เป็นทักษะที่สามารถส่งทอดผ่านพันธุกรรมได้จริง แต่...จำเป็นจะต้องได้รับการส่งเสริม การกระตุ้น การเรียนรู้ ผ่านกิจกรรม ประสบการณ์ ระยะเวลา และสภาพแวดล้อมร่วมด้วย ปัจจัยด้านพันธุกรรมอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะหล่อหลอมหรือส่งเสริมให้เด็กมีทักษะ EF ที่มีประสิทธิภาพได้เสมอไปค่ะ
แม้วัยผู้ใหญ่อาจจะมีปัญหาเรื่องของสุขภาพที่อาจส่งผลต่อทักษะ EF ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะหยุดนิ่งไปเมื่อเราโตขึ้นนะคะ ทักษะนี้สามารถพัฒนาได้ตลอดและต่อเนื่อง ยิ่งฝึกฝนและเสริมทักษะอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยให้ทักษะสมอง EF พัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าอายุจะมากขึ้นแล้วก็ตาม
ทักษะสมอง EF เป็นทักษะที่ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง หากไม่ได้รับการฝึกฝน หรือไม่ได้รับการส่งเสริมที่เพียงพอ อาจมีผลทำให้กลายเป็นคนมีทักษะ EF ต่ำได้ ซึ่งอาการแบบนี้จะแสดงออกผ่านพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น
ทักษะ EF ที่มีประสิทธิภาพนั้น เป็นทักษะที่จำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาและฝึกฝนอย่างต่อเนื่องค่ะ ดังน้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมช่วงที่ลูกยังเล็กคุณพ่อคุณแม่ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ และพัฒนาการที่สมวัย
ทั้งการกิน การนอน การเล่น การอ่าน การวาดภาพ และอีกมากมาย ยิ่งเด็กได้ทำกิจกรรมเสริมมากเท่าไหร่ ก็จะช่วยเสริมสร้างทักษะ EF ให้เด็ก ๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น
นมแม่ ที่มีสุดยอดสารอาหารอย่าง MFGM ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) ส่งเสร...
อ่านต่อแนะนำ 60 กิจกรรมพัฒนา EF ซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมทักษะสมอง EF บนฐานพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สามารถทำได้...
อ่านต่อทักษะ EF ปฐมวัย 9 ด้านเป็นทักษะ EF ประกอบด้วย 3 กลุ่มคือ ทักษะพื้นฐาน ทักษะการกำกับตนเอง และทักษะ...
อ่านต่อ