
Enfa สรุปให้
- ทารกไม่ยอมนอน ปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ โดยสาเหตุที่ทารกไม่ยอมนั้น เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ทารกอาจจะหิว ไม่สบายตัว ไม่สบายท้อง สภาพแวดล้อมในมีสิ่งเร้ามากเกินไป รวมไปถึงการไม่คุ้นชินกับเวลาเข้านอน เป็นต้น
- การนอนหลับพักผ่อน ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทารกอย่างมาก ในขณะที่นอนหลับ สมองยังทำงานตามปกติ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานเมื่อตื่นนอนอีกครั้ง สิ่งนี้ส่งผลทั้งพัฒนาการด้านสติปัญญา ด้านการเรียนรู้ และพฤติกรรม
- คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้วิธีต่าง ๆ ในการช่วยให้ลูกนอนได้ง่าย เช่น การพยายามพาทารกเข้านอนตามตารางการนอน การนวดตัวให้ทารก หรือการห่อตัวทารก ปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของลูกน้อย
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• ทารกไม่ยอมนอน
• ลูกไม่ยอมนอน ส่งผลอะไรบ้าง
• ลูกงอแง ไม่ยอมนอนเลย รับมืออย่างไรดี
• วิธีรับมือเมื่อทารกง่วงแต่ไม่ยอมนอน
• ไขข้อข้องใจเรื่องทารกไม่ยอมนอนกับ Enfa Smart Club
อีกหนึ่งความเหนื่อยยากและลำบากใจของคุณพ่อคุณแม่ที่จะต้องพบเจอไม่มากก็น้อยในการเลี้ยงลูก ก็คือปัญหาลูกไม่ยอมนอน ไม่ยอมนอนกลางวันก็ว่าเหนื่อยแล้ว ไม่ยอมนอนตอนกลางคืนยิ่งทวีความเหนื่อยมากขึ้นไปอีก เพราะคุณพ่อคุณแม่เองก็จะพลอยอดนอน และพักผ่อนไม่เพียงพอตามไปด้วย
ทารกไม่ยอมนอน เกิดจากอะไร
ทารกไม่ยอมนอน เกิดจากอะไรนั้น โดยสาเหตุที่ลูกไม่ยอมนอนสักทีนั้น เรียกได้ว่ามีหลากหลายสาเหตุเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น
- ทารกยังไม่ง่วง ซึ่งอาจเกิดได้ 2 กรณี คือ นอนตอนกลางคืนมากเกินไป กับนอนตอนกลางวันมากเกินไป ทำให้เมื่อถึงเวลาที่จะต้องนอนอีกครั้ง ทารกจึงยังไม่รู้สึกง่วง เพราะว่านอนสะสมมาเต็มอิ่มสุด ๆ
- ห้องนอนหรือสถานที่นอนไม่เหมาะกับการนอน อาจจะมีแสงสว่างมากเกินไป เสียงรบกวนมากเกินไป อุณหภูมิร้อนหรือเย็นจนเกินไป ปัจจัยเหล่านี้บางครั้งก็ส่งผลต่อการนอนของทารกได้ค่ะ
- ทารกงีบมากหรือน้อยเกินไป ทารกแต่ละช่วงวัยจะมีช่วงเวลาในการงีบที่แตกต่างกัน หากงีบมากเกินไปหรือน้อยเกินไปโดยที่ไม่ได้เหมาะกับช่วงอายุของตัวเอง ก็อาจจะส่งผลต่อการนอนได้ โดยทารกแรกเกิด - 3 เดือน ควรงีบ 3-5 ครั้งต่อวัน อายุ 4-5 เดือน ควรงีบ 2-3 ครั้งต่อวัน และทารกอายุ 7-12 เดือน ควรงีบ 2 ครั้งต่อวัน
- ทารกไม่สบายตัว ซึ่งอาจเกิดจากการเป็นไข้ ตัวร้อน หรืออาจเกิดจากมีแมลง สัตว์ กัดต่อย หรืออาจอยู่ในช่วงที่ฟันกำลังขึ้น จึงทำให้รู้สึกนอนไม่สบายตัว คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกด้วยว่ามีสิ่งใดแปลกไปหรือไม่ เพื่อจะได้รับมืออย่างตรงจุด
- ทารกกำลังหิว ขนาดเราเป็นผู้ใหญ่เวลาหิวก็ยังนอนหลับยากเลยค่ะ นับประสาอะไรกับทารกล่ะคะ บางครั้งทารกก็ร้องไห้งอแง ไม่ยอมนอนเพราะว่าหิวนม คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลให้ทารกได้กินนมอย่างเพียงพอ เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
- ไม่ชินกับวิธีการเข้านอน คุณพ่อคุณแม่หลายคนบางครั้งก็กล่อมลูกนอนด้วยการนอนเปลบ้าง การอุ้ม หรือการพานั่งรถ ทีนี้พอทารกเริ่มชินกับการเข้านอนเช่นนั้น วันไหนที่เปลี่ยนมาพาเข้านอนเฉย ๆ โดยไม่มีกิจกรรมเหล่านั้นอีก ก็อาจจะทำให้ทารกไม่ยอมนอนได้เหมือนกัน
ลูกไม่ยอมนอนส่งผลอะไรบ้าง
การนอนหลับพักผ่อน ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทารกอย่างมาก ในขณะที่นอนหลับ สมองยังทำงานตามปกติ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานเมื่อตื่นนอนอีกครั้ง สิ่งนี้ส่งผลทั้งพัฒนาการด้านสติปัญญา ด้านการเรียนรู้ และพฤติกรรม
หากทารกมีปัญหาเรื่องการนอน ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท นอนไม่หลับ หรือไม่ยอมนอน จนเป็นปัญหาสะสมมาตั้งแต่อายุน้อย ๆ ก็อาจจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา ด้านการเรียนรู้ และพฤติกรรมได้
ลูกไม่ยอมนอนกลางคืน ทารกไม่ยอมนอนกลางวัน รับมืออย่างไรดี
คุณพ่อคุณแม่ที่พบกับปัญหาทารกไม่ยอมนอนกลางคืน ทารกไม่ยอมนอนตอนกลางวัน กว่าจะเอาลูกเข้านอนได้แต่ละครั้ง เล่นเอาเหนื่อยแทบแย่ สามารถใช้เทคนิคง่าย ๆ ดังต่อไปนี้รับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ค่ะ
ลูกงอแง ไม่ยอมนอน ทำยังไงดีให้ลูกน้อยนอนหลับง่าย
- สร้างตารางการนอน การพาลูกเข้านอนเป็นเวลาทั้งตอนกลางวันและตอนกลางคืน จะช่วยให้นาฬิกาชีวภาพของทารกสามารถจดจำกิจวัตรการนอนได้
- สัญญาณก่อนเข้านอน เมื่อกำหนดช่วงเวลาการเข้านอนแล้ว ทีนี้ก็สามารถเสริมกิจกรรมก่อนเข้านอนเช่น ร้องเพลงกล่อมนอน อ่านนิทานก่อนนอน นวดเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ทารกจดจำสัญญาณต่าง ๆ เหล่านี้ได้ว่า เมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มทำแบบนี้ แปลว่าได้เวลาเข้านอน
- ผ่อนคลายสักนิด การอาบน้ำอุ่น การนวดตัว การเปิดเพลงที่มีทำนองช้า ๆ เนิบ ๆ การอุ้ม การกอด กิจกรรมเหล่านี้ช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลาย สามารถช่วยกระตุ้นให้ทารกเข้านอนได้ง่ายขึ้น
- จัดบรรยากาศให้เหมาะกับการนอน ไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืน คุณพ่อคุณแม่ก็ควรดูแลบรรยากาศให้เหมาะสมกับการนอน ทั้งแสงสว่างที่เหมาะสม ไม่มีเสียงรบกวน และอุณหภูมิที่ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป
- สังเกตอาการ จับตาดูว่าลูกเริ่มหาว ขยี้ตา เริ่มมีท่าทีหงุดหงิด แปลว่าทารกเริ่มที่จะง่วงนอน และอยากจะเข้านอนแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกเข้านอนได้เลย
ทารกง่วงแต่ไม่ยอมนอน จะกล่อมนอนยังไงดี?
บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าเจ้าตัวเล็กมีอาการหาว เริ่มขยี้ตา เริ่มงอแง ซึ่งเป็นสัญญาณว่ากำลังง่วงและอยากนอน แต่ครั้นพออุ้มไปเข้านอน เจ้าตัวเล็กกลับไม่ยอมนอนเสียอย่างนั้น โดยหากเจอปัญหานี้ คุณพ่อคุณแม่อาจสามารถใช้วิธีเหล่านี้ได้ อาทิ
- พยายามพาลูกเข้านอนเหมือนเดิม พาลูกเข้านอนในเวลาเดิม เริ่มกล่อมลูก นวดตัวลูก อ่านนิทานให้ลูกฟังก่อนนอน พยายามทำทุกอย่างตามเดิม เพื่อกระตุ้นให้ลูกรู้ว่า นี่คือสัญญาณว่าได้เวลานอนแล้ว
- ห่อตัวทารก การห่อตัวทารกด้วยผ้าจะช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลาย ให้บรรยากาศคล้ายกับเมื่อตอนที่ยังนอนขดตัวอยู่ในท้องของแม่
- อุ้มลูกแนบตัว หากลูกไม่ยอมนอนสักทีแม้ว่าจะหาวไปหลายรอบแล้ว ให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกขึ้นมาแนบกับอก พยายามอุ้มให้ลูกสามารถสัมผัสถึงหัวใจเต้นของคุณพ่อคุณแม่ได้ จะช่วยให้ทารกผ่อนคลายมากขึ้น
- ใช้เพลงช่วย หากคุณพ่อคุณแม่มีทักษะเพียงพอที่จะร้องเอง การร้องเพลงกล่อมเด็กที่จังหวะช้า ๆ เนิบ ๆ ก็จะช่วยให้ทารกรู้สึกผ่อนคลายได้ค่ะ หรือถ้าสะดวกจะเปิดเพลงก็ได้เช่นกัน เลือกเพลงกล่อมเด็กที่มีจังหวะช้า ๆ เนิบ ๆ หรือจะเลือกเป็นเพลงคลาสสิกที่ไม่มีเนื้อร้องก็ได้ค่ะ
- ลดความสว่างลงหน่อย ความมืด แสงสลัว ๆ ในห้องนอนสามารถช่วยลดความตื่นตัวลงได้ แถมยังให้บรรยากาศที่น่านอนมากขึ้นด้วย
ไขข้อข้องใจเรื่องทารกไม่ยอมนอนกับ Enfa Smart Club
ลูก 1-2 เดือนไม่ยอมนอน ทำยังไงดี?
ปกติแล้วทารกแรกเกิดจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการงีบและการนอน ดังนั้น หากทารก 1 เดือนไม่ยอมนอน แม้ว่าจะพยายามกล่อม พยายามอุ้มเท่าไหร่ก็ยังไม่เห็นผล ควรพาลูกไปพบแพทย์ค่ะ เพราะอาจเป็นไปได้ว่าลูกกำลังมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ค่ะ
ลูก 2-3 เดือนไม่ยอมนอนกลางวัน ทำยังไงดี?
หากลูกไม่ยอมนอน คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีดังต่อไปนี้เพื่อกระตุ้นให้ทารกเข้านอนได้ง่ายขึ้น
- สร้างตารางการนอน การพาลูกเข้านอนเป็นเวลาทั้งตอนกลางวันและตอนกลางคืน จะช่วยให้นาฬิกาชีวภาพของทารกสามารถจดจำกิจวัตรการนอนได้
- สัญญาณก่อนเข้านอน เมื่อกำหนดช่วงเวลาการเข้านอนแล้ว ทีนี้ก็สามารถเสริมกิจกรรมก่อนเข้านอนเช่น ร้องเพลงกล่อมนอน อ่านนิทานก่อนนอน นวดเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ทารกจดจำสัญญาณต่าง ๆ เหล่านี้ได้ว่า เมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มทำแบบนี้ แปลว่าได้เวลาเข้านอน
- ผ่อนคลายสักนิด การอาบน้ำอุ่น การนวดตัว การเปิดเพลงที่มีทำนองช้า ๆ เนิบ ๆ การอุ้ม การกอด กิจกรรมเหล่านี้ช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลาย สามารถช่วยกระตุ้นให้ทารกเข้านอนได้ง่ายขึ้น
- ห่อตัวทารก การห่อตัวทารกด้วยผ้าจะช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลาย ให้บรรยากาศคล้ายกับเมื่อตอนที่ยังนอนขดตัวอยู่ในท้องของแม่
- อุ้มลูกแนบตัว หากลูกไม่ยอมนอนสักทีแม้ว่าจะหาวไปหลายรอบแล้ว ให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกขึ้นมาแนบกับอก พยายามอุ้มให้ลูกสามารถสัมผัสถึงหัวใจเต้นของคุณพ่อคุณแม่ได้ จะช่วยให้ทารกผ่อนคลายมากขึ้น
- จัดบรรยากาศให้เหมาะกับการนอน ไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืน คุณพ่อคุณแม่ก็ควรดูแลบรรยากาศให้เหมาะสมกับการนอน ทั้งแสงสว่างที่เหมาะสม ไม่มีเสียงรบกวน และอุณหภูมิที่ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป
- สังเกตอาการ จับตาดูว่าลูกเริ่มหาว ขยี้ตา เริ่มมีท่าทีหงุดหงิด แปลว่าทารกเริ่มที่จะง่วงนอน และอยากจะเข้านอนแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกเข้านอนได้เลย
ทารกร้องไห้ไม่ยอมนอน เกิดจากอะไร?
ทารกร้องไห้งอแงไม่ยอมนอน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุมากค่ะ โดยอาจเกิดจาก
- ทารกหิวเพราะกินนมไม่พอ
- ทารกอาจมีปัญหาสุขภาพ ไม่สบาย ตัวร้อน
- ทารกถูกแมลงสัตว์ กัดต่อย ในขณะที่กำลังนอน
หากพยายามกล่อมให้ลูกหยุดร้องไห้และเข้านอนแล้ว แต่ก็ยังไม่หยุดร้องไห้ ควรพาลูกไปพบแพทย์
เด็กทารกไม่ยอมนอน จะโตช้าไหม?
หากเด็กทารกไม่ยอมนอน แน่นอนว่าเด็กจะนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งแน่นอนว่า การพักผ่อนน้อยจะมีผลต่อการทำงานของสมอง และอาจส่งผลต่อเนื่องไปถึงพัฒนาการด้านการเรียนรู้ สติปัญญา และพฤติกรรมได้
ส่วนเรื่องของโตไม่โตนั้น นอกจากในเรื่องของการนอนแล้ว ยังมีปัจจัยในเรื่องของกรรมพันธุ์ อาหารการกิน และการออกกำลังกายอีก
ดังนั้น การที่ทารกไม่ยอมนอนจึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่อาจจะทำให้ลูกตัวเล็กได้ แต่ไม่ใช่สาเหตุหลักค่ะ
ลูก 1 ขวบงอแง ไม่ยอมนอน ต้องกล่อมให้นอนยังไง?
หากลูกงอแงไม่ยอมนอน คุณพ่อคุณแม่สามารถกล่อมลูกนอนไปพร้อม ๆ กับการ:
- ห่อตัวทารก การห่อตัวทารกด้วยผ้าจะช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลาย ให้บรรยากาศคล้ายกับเมื่อตอนที่ยังนอนขดตัวอยู่ในท้องของแม่
- อุ้มลูกแนบตัว หากลูกไม่ยอมนอนสักทีแม้ว่าจะหาวไปหลายรอบแล้ว ให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกขึ้นมาแนบกับอก พยายามอุ้มให้ลูกสามารถสัมผัสถึงหัวใจเต้นของคุณพ่อคุณแม่ได้ จะช่วยให้ทารกผ่อนคลายมากขึ้น
- ใช้เพลงช่วย หากคุณพ่อคุณแม่มีทักษะเพียงพอที่จะร้องเอง การร้องเพลงที่จังหวะช้า ๆ เนิบ ๆ ก็จะช่วยให้ทารกรู้สึกผ่อนคลายได้ค่ะ หรือถ้าสะดวกจะเปิดเพลงก็ได้เช่นกัน เลือกเพลงกล่อมเด็กที่มีจังหวะช้า ๆ เนิบ ๆ หรือจะเลือกเป็นเพลงคลาสสิกที่ไม่มีเนื้อร้องก็ได้ค่ะ
- Healthline. 5 Reasons Why Your Newborn Isn’t Sleeping at Night. [Online] Accessed ttps://www.healthline.com/health/parenting/newborn-not-sleeping. [13 September 2022]
- Healthline. How to Recognize an Overtired Baby. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/baby/how-to-recognize-an-overtired-ba…. [13 September 2022]
- What to Expect. 11 Reasons Your Baby Won't Sleep and How to Cope. [Online] Accessed https://www.whattoexpect.com/first-year/baby-sleep-problems.aspx. [13 September 2022]
- What to Expect. What if Your Baby Won't Nap?. [Online] Accessed https://www.whattoexpect.com/first-year/sleep/baby-wont-nap/. [13 September 2022]
- What to Expect. Signs of an Overtired Baby. [Online] Accessed https://www.whattoexpect.com/first-year/sleep/overtired-baby/. [13 September 2022]
- Mayo Clinic. Helping baby sleep through the night. [Online] Accessed https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/…. [13 September 2022]
- SleepFoundation. Babies and Sleep. [Online] Accessed https://www.sleepfoundation.org/baby-sleep. [13 September 2022]
- The Department of Health, State Government of Victoria. Sleep and your baby. [Online] Accessed https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/sleep-and-your…. [13 September 2022]
- โรงพยาบาลศิครินทร์. การนอนหลับ กลไกสำคัญพัฒนาการเรียนรู้ของลูกน้อย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.sikarin.com/doctor-articles/การนอนหลับ-กลไกสำคัญพัฒ. [13 กันยายน 2022]
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย