Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ศตวรรษที่ 21 นี้เป็นยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก หากคุณพ่อคุณแม่ได้ติดตามรูปแบบการศึกษาของเด็กยุคปัจจุบันหรือเด็ก Gen Alpha แล้วจะพบว่า Coding หรือการเขียนโปรแกรมเป็นเรื่องที่หลายโรงเรียนให้ความสำคัญ
เนื่องจาก Coding เป็นทักษะจำเป็นอย่างหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้ทักษะอื่น ๆ ทั้งในด้านการศึกษาและการทำงานในอนาคต Coding เป็นหัวใจหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทั้งเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในบทความนี้ Enfa จะพาคุณแม่มาทำความรู้จักกับโค้ดดิ้ง (Coding) ว่าคืออะไร โค้ดดิ้งปฐมวัยคืออะไร มาหาคำตอบพร้อมกันเลยค่ะ
Coding คือ กระบวนการเขียนคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยอาศัย "ภาษาโปรแกรม" เช่น Python, JavaScript, หรือ C++ เพื่อพัฒนาโปรแกรม ซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ
ซึ่งการเรียนรู้โค้ดดิ้งโดยเฉพาะโค้ดดิ้งปฐมวัย หรือเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา จะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์และสามารถสร้างโปรแกรมที่มีฟังก์ชันต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง และมีระบบความคิดและการวางแผนการทำงานที่เป็นระบบอีกด้วย
คุณแม่อาจสงสัยว่า วิชา Coding คืออะไร ? การเรียน Coding คือการศึกษาและฝึกฝนการเขียนโปรแกรมผ่านภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น Python, JavaScript หรือ Scratch เพื่อพัฒนาโปรแกรม ซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชัน การเรียน Coding ไม่ได้เป็นเพียงการเขียนโค้ด แต่ยังพัฒนาทักษะ EF หรือ Executive Functions ทักษะการบริหารจัดการตนเองขั้นสูง เป็นกระบวนการทางความคิดระดับสูงของสมองส่วนหน้าที่มีความเกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก และการกระทำอีกด้วย
ปัจจุบันการเรียน Coding ในประเทศไทยนั้น ทางรัฐบาลและหน่วยงานการศึกษามีการส่งเสริมการเรียน Coding ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงมัธยมศึกษา โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน เช่น
ความสำคัญของการเรียน Coding ในประเทศไทยคือการเตรียมเด็กไทยให้พร้อมกับยุคดิจิทัล ซึ่งการเรียน Coding ช่วยเสริมทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล เช่น การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการพัฒนาเทคโนโลยี รวมทั้งช่วยส่งเสริมอาชีพในอนาคตของอุตสาหกรรมดิจิทัลด้วย เช่น AI, Data Science, และ Software Development กำลังเติบโตในไทย ดังนั้น การมีพื้นฐาน Coding จะช่วยให้เด็กรุ่นใหม่มีโอกาสมากขึ้นในตลาดแรงงานในอนาคต
การสอน Coding สำหรับเด็กหรือโค้ดดิ้งปฐมวัยนั้นเป็นการแนะนำพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมและตรรกะคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เหมาะสมกับวัย ปัจจุบันหลายโรงเรียนมีการสอนวิชานี้ในชื่อวิชา “วิทยาการคำนวณ” โดยใช้เครื่องมือและแพลตฟอร์มหลากหลายที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้อย่างสนุกและเข้าใจง่าย
Unplugged Coding คือวิธีการสอนโค้ดดิ้งหรือแนวคิดเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมโดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดิจิทัลใด ๆ เหมาะสำหรับเด็กหรือผู้เริ่มต้นที่ยังไม่มีพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี
โดยแนวคิดนี้มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรม เช่น การคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking) การแก้ปัญหา (Problem Solving) และการวางแผนลำดับขั้นตอน (Sequential Thinking) ผ่านกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เข้าใจง่ายและสนุกสนาน
วิธีการสอน Unplugged Coding สามารถใช้เครื่องมือที่หาได้ง่ายในชีวิตประจำวัน เช่น กระดาษ การ์ดคำสั่ง หรือบอร์ดเกม โดยสอนแนวคิดพื้นฐานของโค้ดดิ้ง การวางลำดับคำสั่ง การวนลูป การตัดสินใจ และที่สำคัญคือการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ โดยกิจกรรม Unplugged Coding มักเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว วาดรูป หรือการสร้างสรรค์ เช่น สร้างเขาวงกต วาดรูปตามคำสั่ง เป็นต้น
การจัดการเรียนการสอน coding ในโรงเรียนไทยได้รับการบรรจุในหลักสูตร “วิทยาการคำนวณ” ซึ่งเน้นพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณและการแก้ปัญหาแบบเป็นระบบ โดยมีทั้งกิจกรรม Unplugged Coding และ Plugged Coding (การใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์) ที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย ยกตัวอย่างเช่นการสอน Coding สำหรับชั้นประถมศึกษา ดังนี้
กำหนดให้นักเรียนใช้การ์ดคำสั่ง เช่น “เดินไปข้างหน้า” หรือ “หมุนตัว 90 องศา” เพื่อช่วยตัวละครเดินผ่านเขาวงกต โดยมีเป้าหมายให้เด็กเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของลำดับคำสั่ง สามารถพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการคิดเชิงตรรกะ และใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ ที่ทำขึ้นเองได้ เช่น การ์ดคำสั่งที่ออกแบบเอง หรือกระดาษ A4
กำหนดให้นักเรียนใช้แพลตฟอร์ม Scratch ในการสร้างเกม เช่น เกมจับคู่หรือเกมแข่งรถ เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การทำงานของบล็อกคำสั่ง เช่น การวนลูป (Loop) และการตัดสินใจ (If-Else) กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานมากขึ้น โดยใช้คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Scratch หรือ Scratch เวอร์ชันออนไลน์ก็ได้
การเรียน Coding ไม่ได้หมายถึงการเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างซอฟต์แวร์เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นกระบวนการที่ช่วยพัฒนาทักษะสำคัญในหลายด้าน ซึ่งมีประโยชน์ทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงานในอนาคต ดังนี้
การเรียน coding สำหรับเด็กไม่ได้เป็นเพียงการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีที่สำคัญในยุคดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังมีผลดีต่อสมองเด็กหลายด้าน โดยเฉพาะการส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางความคิดที่ซับซ้อนและการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถพัฒนาได้ตั้งแต่เด็กปฐมวัย
ปัจจุบันการเรียน Coding สำหรับเด็กในไทยกำลังได้รับความสนใจมากขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่กำลังมองหาที่เรียน Coding สำหรับลูกน้อย ขณะนี้มีหลายสถาบันที่เปิดสอน Coding สำหรับเด็ก คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกหลักสูตรที่เหมาะสมกับช่วงวัยได้ตามต้องการ
นอกจากนี้ ยังสามารถเรียน Coding ฟรีได้จากหลายแพลตฟอร์ม เช่น
MFGM สุดยอดสารอาหารสมองจากนมแม่ สารอาหารชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมสร้างพัฒนาการด้านสมองและการเรียนรู้ ให้ลูกได้มีทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า
Enfa สรุปให้: ทักษะ EF คือ ทักษะของสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ควบคุม ความคิด อารมณ์ และการกระทำ กล...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ กิจกรรม EF เป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ทักษะ EF ปฐมวัย 9 ด้าน เป็นกลุ่มทักษะสมองที่มีความสำคัญต่อการควบคุมตนเอง การแก้ปัญห...
อ่านต่อ