Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
หลังการคลอดลูก กระบวนการตั้งครรภ์อาจสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการแล้วก็จริง แต่ในช่วงพักฟื้นที่บ้าน คุณแม่อาจพบความผิดปกติบางอย่างหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการหลังคลอด นั่นจึงทำให้การตรวจหลังคลอดเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะช่วยให้คุณแม่ทราบถึงสภาพร่างกายปัจจุบัน ประเมินความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตราย และดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเรื้อรัง แต่ตรวจหลังคลอดตรวจอะไรบ้าง? และเมื่อไหร่ควรมาตรวจหลังคลอด? บทความนี้จาก Enfa มีคำตอบมาฝากค่ะ
ตรวจภายในหลังคลอดตรวจอะไรบ้าง? เป็นข้อข้องใจสำหรับคุณแม่มือใหม่หลายคนค่ะ และโดยมากแล้วการตรวจหลังคลอดนั้นส่วนมากก็จะเกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องคลอดและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่คุณแม่พบเจอหลังคลอด เช่น แผลผ่าคลอดติดเชื้อ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เป็นต้น
ซึ่งการตรวจหลังคลอดของแม่ที่คลอดธรรมชาติ กับคุณแม่ที่ผ่าคลอดนั้น ก็จะตรวจทุกอย่างเหมือนกัน ได้แก่
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคุณแม่คลอดด้วยวิธีที่แตกต่างกัน จึงมีรายละเอียดการตรวจหลังคลอดที่แตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้
หลังคลอดตรวจอะไรบ้าง? คุณหลังการคลอดธรรมชาติ อาจต้องมีการตรวจร่างกาย ดังนี้
ตรวจแผลฝีเย็บ เพื่อดูว่าแผลปิดสนิทเรียบร้อยดีไหม มีหนอง หรือเกิดการติดเชื้อ หรือยังรู้สึกเจ็บแผลอยู่หรือเปล่า
ตรวจแผลผ่าคลอด เพื่อดูว่าแผลจากการผ่าตัดที่หน้าท้องนั้นปิดสนิทแล้วหรือยัง เวลาเคลื่อนไหวยังรู้สึกเจ็บแผลอยู่ไหม หลังคลอดลูกแผลมีหนอง หรือเกิดการติดเชื้อหรือเปล่า
การตรวจหลังคลอดถือว่ามีความสำคัญ นอกจากจะเป็นการตรวจเช็กร่างกายโดยทั่วไปแล้ว ยังช่วยติดตามและประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ เพื่อให้คุณแม่สามารถรับมือต่อความผิดปกติได้อย่างทันท่วงที
มีใครไม่ได้ตรวจหลังคลอดบ้าง? ไม่ไปตรวจหลังคลอดได้ไหม? อาจเป็นข้อสงสัยสำหรับคุณแม่หลาย ๆ ท่านที่สงสัยถึงความจำเป็นในการตรวจหลังคลอด ถ้าร่างกายเป็นปกติ ไม่ได้ตรวจหลังคลอดอันตรายไหม?
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณแม่จะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ หลังคลอด ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหลังคลอดเช่นกัน เพราะต้องไม่ลืมว่าขณะตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมาย และหลังคลอดเองก็มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างด้วยเช่นกัน
ดังนั้น การไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายถือว่ามีความจำเป็น คุณแม่จะได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเอง พร้อมรับมือกับความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงทีในกรณีที่มีสัญญาณหรืออาการผิดปกติเกิดขึ้น
โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะนัดคุณแม่เข้ารับการตรวจสุขภาพหลังคลอดเมื่อผ่านไปแล้วประมาณ 4-6 สัปดาห์ หรือราว 1-2 เดือนหลังคลอด ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายฟื้นตัวได้ดีหลังการคลอด และคุณแม่อาจพบความเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติได้หลายอย่างในช่วงนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม หลังจากไปเข้ารับการตรวจหลังคลอดแล้ว คุณแม่บางท่านอาจต้องกลับมาตรวจซ้ำในภายหลัง กรณีที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ
ตรวจหลังคลอดที่อนามัยได้ไหม? โดยทั่วไปแล้วก็สามารถทำได้ค่ะ หากว่ามีแพทย์ประจำอยู่ที่สถานีอนามัย
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกอนามัยที่จะมีแพทย์อยู่ประจำ ดังนั้น การไปตรวจที่โรงพยาบาลตามที่แพทย์นัดจึงเป็นทางเลือกที่คุณแม่สามารถมั่นใจกับการตรวจวินิจฉัยได้มากกว่า
การตรวจหลังคลอดสามารถทำได้ที่คลินิกค่ะ คุณแม่อาจเลือกตรวจที่คลินิกใกล้บ้าน หรือคลินิกที่เคยฝากครรภ์มาก่อนก็ได้
เนื่องจากแพทย์จะมีความคุ้นเคยกับประวัติสุขภาพของคุณแม่อยู่แล้ว นอกจากช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบายใจและมั่นใจมากขึ้น ยังทำให้แพทย์สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ง่ายขึ้นอีกด้วย เพราะแพทย์รู้จักและเข้าใจสุขภาพร่างกายของคุณแม่มาเป็นอย่างดี
การตรวจร่างกายหลังคลอด นอกจากจะเป็นการตรวจหาความผิดปกติและความเสี่ยงต่อสุขภาพคุณแม่หลังคลอดแล้ว คุณแม่ก็จะได้รับคำแนะนำในการดูแลลูกน้อยเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการลูกให้สมวัยอีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการให้นมลูก แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีให้นมที่เหมาะสม การดูแลเต้านม การตรวจหาความผิดปกติของเต้านม เทคนิคการปั๊มนม เทคนิคป้องกันการอุดตันของท่อน้ำนม เป็นต้น
มากไปกว่านั้น คุณแม่ยังจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับความสำคัญของการให้ทารกได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่องใน 6 เดือนแรกของชีวิต เพื่อให้ลูกน้อยได้รับ MFGM สุดยอดสารอาหารในนมแม่หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท ((Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น
*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561
ตรวจหลังคลอด สามารถตรวจได้ทั้งที่โรงพยาบาล คลินิก หรือแม้แต่สถานีอนามัยก็ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับการตรวจหลังคลอดที่สถานีอนามัยนั้น อาจไม่ได้สะดวกเท่ากับการไปตรวจที่คลินิกหรือโรงพยาบาล เนื่องจากไม่ใช่ทุกสถานีอนามัยจะมีแพทย์อยู่ประจำเพื่อทำการตรวจร่างกายค่ะ แต่ถ้าคุณแม่ต้องการไปตรวจที่สถานีอนามัยจริง ๆ ควรติดต่อหรือทำนัดให้ตรงกับวันที่จะมีแพทย์เข้ามาประจำเวร
โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะนัดตรวจสุขภาพหลังคลอดเมื่อผ่านไป 4-6 สัปดาห์ค่ะ แต่ในกรณีที่แพทย์นัดมาตรวจภายใน 7 วันหลังคลอด อาจเป็นเพราะคุณแม่มีความเสี่ยงบางอย่าง เช่น แผลติดเชื้อ หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดบุตร ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการตรวจร่างกายอย่างใกล้ชิด เพื่อรับมือและดูแลคุณแม่ให้ปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วการตรวจหลังคลอด ก็จะประกอบไปด้วย
Enfa สรุปให้ ตรวจหลังคลอดตรวจอะไรบ้าง? หลังคลอดคุณแม่จะต้องมาเข้ารับการตรวจร่างกายเบื้องต้น ตรวจ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เมนูอาหารแม่หลังคลอดที่เหมาะสมจะช่วยบำรุงร่างกายคุณแม่ให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น เสริมสร้าง...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ หลังคลอด คุณแม่หลายคนก็พร้อมเต็มที่แล้วที่จะกลับมาออกกำลังกายอีกครั้ง แต่ไม่ใช่แม่...
อ่านต่อ