Enfa สรุปให้
การให้นมแม่เป็นช่วงเวลาอันล้ำค่าที่คุณแม่ทุกคนปรารถนา แต่ปัญหาหัวนมเป็นแผลมักเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้คุณแม่หลายคนกังวลใจ และอาจต้องหยุดให้นมลูกก่อนเวลาอันควร บทความนี้จะพาคุณแม่ไปทำความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาหัวนมเป็นแผล อาการที่พบเจอ วิธีการดูแลรักษา และคำแนะนำในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้อย่างต่อเนื่อง และมีความสุข
ปัญหาหัวนมเป็นแผล ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่มือใหม่หลายคน สาเหตุหลักมาจากการที่ท่าให้นมไม่ถูกวิธี อุ้มลูกไม่กระชับ ลูกเข้าเต้าไม่ถึงลานนม แต่อมเฉพาะหัวนม หรือมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจทำให้หัวนมแตกเป็นแแผล หรือลานนมเป็นแผลได้
เมื่อหัวนมเริ่มมีรอยแตก รอยแดง หรือแผล อาการเจ็บปวดจะทวีคูณขึ้นทุกครั้งที่ลูกดูดนม ทำให้คุณแม่หลายคนเกิดความกังวลว่าจะยังสามารถให้นมลูกต่อไปได้หรือไม่ คำตอบคือ ยังสามารถให้นมลูกต่อได้ แม้จะมีอาการหัวนมเป็นแผลก็ตาม แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือที่ปรึกษาการให้นมลูกเพื่อขอคำแนะนำในการดูแลรักษาแผล และอาจต้องใช้เจลป้องกันหัวนม หรือแผ่นป้องกันหัวนมเพื่อลดอาการเจ็บ
สาเหตุที่ทำให้ลูกดูดเต้าเป็นแผลมีหลายปัจจัย เช่น การอุ้มลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ลิ้นหุบไม่สนิท ทำให้ลูกอมหัวนมไม่กระชับ เมื่อลูกดูดนมจะรู้สึกเจ็บ นอกจากนี้ การที่ลูกกัดเต้าเป็นแผล ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หัวนมแม่เป็นแผลได้เช่นกัน ซึ่งอาจเกิดจากความหิว ความง่วง หรือเป็นพฤติกรรมที่ลูกเรียนรู้มา
โดยสาเหตุหลักที่ทำให้หัวนมเป็นแผลมีหลายประการ ได้แก่
นอกจากอาการเจ็บปวดแล้ว อาการอื่นๆ ที่อาจพบเจอเมื่อหัวนมเป็นแผล ได้แก่
หากลูกกัดเต้าจนเกิดแผลมีหนอง แสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา และทำความสะอาดแผลอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ควรปรับท่าให้นมลูกใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกกัดนมซ้ำ
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตนหลังพบแพทย์ ก็คือ คอยประคบเต้านมด้วยความร้อนก่อน และระหว่างให้นมเพื่อลดอาการปวดและช่วยให้น้ำนมไหลดีขึ้น จากนั้น ค่อยประคบเต้านมด้วยความเย็นหลังลูกดูดนมหรือหลังปั๊มน้ำนมออกหมดแล้ว เพื่อลดอาการปวดและลดบวมของเต้านม ซึ่งในช่วงรักษาแผลเป็นหนองนั้น ไม่แนะนำให้นมลูก โดยสามารถรักษาแผลให้หายดีก่อน แล้วจึงกลับมาให้นมลูกอีกครั้ง
อาการเจ็บเต้าเวลาลูกดูด อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าลูกดูดนมไม่ถูกวิธี หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการเกาะเต้า หรืออื่นๆ หากปล่อยไว้ก็อาจทำให้หัวนมแตกได้ด้วย
สำหรับคุณแม่ให้ลูกดูดนมจากเต้าแล้วเจ็บ สามารถแก้อาการเบื้องต้นด้วยการให้ลูกอมให้ลึกถึงลานนม โดยให้ดูดข้างเจ็บน้อยก่อนสลับไปดูดข้างเจ็บมาก หากไม่ไหวจริงๆ ก็ต้องพักหัวนม งดให้ลูกดูดชั่วคราว โดยใช้วิธีบีบ หรือปั๊มน้ำนมออกแทนการดูด ระหว่างนั้น ให้ทาน้ำนมให้ทั่วหัวนมที่เจ็บหลังให้นมจะช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาคุณหมอ
อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรสังเกตท่าทางการดูดนมของลูก หากพบว่าลูกดูดได้ไม่สนิท มีเสียงดังเวลาดูด หรือเจ็บหัวนมเวลาลูกดูด ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำ
อาการที่ลูกกัดหัวนม อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ ความเคยชิน น้ำนมไหลไม่ทันใจ กัดเล่นๆ เพราะกินอิ่มแล้ว ลูกกำลังฟันใกล้ขึ้น จึงรู้สึกไม่สบายเหงือก ไปจนถึง การเริ่มมีพัฒนาการ สนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
คุณแม่ควรสอนลูกให้รู้จักการดูดนมที่ถูกวิธี แต่จะทำยังไงดีเมื่อลูกชอบกัด คำแนะนำก็คือ ให้แม่เอานิ้วสอดเข้าที่มุมปากแล้วค่อยๆ เอาเต้าออกจากปากลูก หรือบีบจมูกลูกเบาๆ เพื่อให้ลูกคลายปาก และวางลูกลง เพื่อให้เรียนรู้ว่า หากทำแบบนี้ ลูกจะอดกินนมแม่ต่อ โดยอาจดุลูกชัดๆ หนักแน่น แต่ไม่เสียงดังโวยวายว่า อย่าทำแบบนี้ แม่เจ็บ เพื่อให้ลูกค่อยๆ เรียนรู้ไปด้วยพร้อม ๆ กัน
แม้ว่าลูกดูดเต้าเป็นแผลหรือลูกกัดเต้า อาจทำให้คุณแม่เกิดความไม่สบายตัวได้ แต่เรื่องนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการคอยดูแลแผลให้กลับมาหายเป็นปกติ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนวิธีให้นมก็จะสามารถช่วยคุณแม่ให้รับมือกับปัญหานี้ได้
นอกจากนี้ การให้นมแม่ยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับลูกน้อย เนื่องจากนมแม่มี MFGM สุดยอดสารอาหารในนมแม่ สารอาหารสมองชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรกประกอบด้วยไขมันและโปรตีนกว่า 150 ชนิด รวมทั้งสฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซด์
นอกจาก ลูกดูดเต้าเป็นแผล ยังมีอีกสารพันปัญหาคาใจคุณแม่ เช่น จะทำอย่างไรให้แผลหายเร็วขึ้น ควรใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดใดในการดูแลรักษา หรือควรหยุดให้นมลูกหรือไม่ บทความนี้จะไขข้อข้องใจเหล่านี้ให้คุณแม่ได้อย่างละเอียด
แม้ว่าลูกจะอายุ 1 ขวบแล้ว แต่พฤติกรรมการกัดเต้าก็ยังคงเกิดขึ้นได้ สาเหตุอาจเกิดจากการที่ลูกกำลังอยู่ในช่วงที่ต้องการความสนใจ หรือต้องการสำรวจสิ่งรอบตัว คุณแม่ควรใจเย็น และใช้เทคนิคการเลี้ยงลูกที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา
คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับเรื่องนี้ คือ ระหว่างที่ลูกกำลังดูดนม ให้ดึงความสนใจของลูกมาที่ตัวแม่ โดยการจ้องตา ลูบไล้ลูก หรือคุยกับลูก และเตรียมวางนิ้วมือไว้ใกล้ๆ ปากลูก เมื่อเวลาลูกกัด ก็รีบสอดนิ้วเข้ากันไม่ให้กัดหัวนม
คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกและเลือกเวลาให้นมที่ปลอดภัย เพราะเด็กบางคนจะกัดเวลาง่วง บางคนกัดเวลาหิว บางคนกัดเวลาอิ่ม บางคนกัดเวลาหลับ เป็นต้น
ระยะเวลาในการหายของแผลหัวนมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผล และการดูแลรักษาที่ถูกต้อง โดยทั่วไป แผลเล็กน้อยจะหายได้ภายใน 2-3 วัน แต่หากเป็นแผลลึก หรือมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วยก็อาจใช้เวลานานกว่านั้น
วิธีเร่งให้แผลหายเร็วขึ้น
ทำความสะอาดแผล: ใช้สบู่ที่อ่อนโยนล้างทำความสะอาดแผลหลังให้นมลูกเสร็จ
บีบน้ำนมทาแผล: น้ำนมแม่มีคุณสมบัติในการสมานแผล
ใช้เจลป้องกันหัวนม: เจลป้องกันหัวนมจะช่วยสร้างชั้นป้องกันให้กับหัวนม
พักผ่อนให้เพียงพอ: การพักผ่อนอย่างเพียงพอจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
ปรึกษาแพทย์: หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
ข้อควรระวัง
อย่าใช้สบู่ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมหรือสารเคมี: สบู่เหล่านี้อาจทำให้แผลระคายเคือง
อย่าใช้ครีมทาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์: สเตียรอยด์อาจทำให้แผลหายช้าลง
หลีกเลี่ยงการใช้เสื้อชั้นในที่รัดแน่น: เสื้อชั้นในที่รัดแน่นอาจทำให้แผลอับชื้นและติดเชื้อได้
คุณแม่ให้นมลูกแล้วเกิดเป็นแผลจนเลือดออกหลายๆ ท่านกังวลว่ายังจะให้นมต่อได้ไหม คำตอบก็คือ ไม่ต้องกังวลให้นมต่อไปได้เลย แต่ถ้าแผลใหญ่หรือเจ็บมาก หรือมีเลือดออกต่อเนื่อง ควรพักเต้าข้างที่เป็นแผลไปชั่วคราว 1-2 มื้อนม อาการก็จะดีขึ้น
โดยระหว่างนั้นก็สามารถบีบเก็บน้ำนมเป็นระยะ ทุก 3 ชั่วโมง หรือตามมื้อนมลูก เพื่อรักษาการสร้างน้ำนมเอาไว้ เมื่อแผลดีขึ้น ก็สามารถเอาลูกเข้าเต้าได้อีกครั้ง ซึ่งทั่วไปนั้น แผลจะหายใน 2-3 วัน
ปัญหาหัวนมเป็นแผลเป็นเรื่องที่คุณแม่หลายคนต้องเผชิญ แต่ด้วยความรู้และการดูแลที่ถูกต้อง คุณแม่ก็สามารถผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้อย่างราบรื่น การให้นมลูกเป็นช่วงเวลาอันล้ำค่าที่ส่งผลดีต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อย ดังนั้นอย่าเพิ่งท้อแท้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือที่ปรึกษาการให้นมลูกเพื่อขอคำแนะนำ
Enfa สรุปให้ ท้อง 8 เดือนเต้าไม่คัด หรือหลังคลอดเต้าไม่คัด ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ พ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ หัวนมเป็นแผล ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่มือใหม่หลายคน สาเหตุหลักมาจากการที...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ การให้นมลูกแฝดควรใช้ท่าอุ้มลูกฟุตบอลหรือท่าอุ้มด้านข้าง ซึ่งคุณแม่ส...
อ่านต่อ