Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
นมแม่มีสารอาหารที่ครบถ้วนทำให้ทารกเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย ทั้งยังทำให้เกิดความรักความผูกพันระหว่างคุณแม่กับลูกน้อย โดยทารกควรได้รับนมแม่ในช่วงแรกเกิดถึง 6 เดือน แต่หากคุณแม่มีลูกแฝดและกังวลใจว่าน้ำนมจะไม่เพียงพอกับการให้นมลูกแฝด จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร? สามารถให้นมลูกแฝดพร้อมกันได้ไหม? สต็อกนมจำเป็นแค่ไหน? Enfa มีคำตอบมาให้แล้ว
คุณแม่ที่มีลูกแฝดสามารถให้นมลูกแฝดพร้อมกันได้โดยใช้ท่าให้นมลูกแฝดที่เหมาะสม เช่น ท่าอุ้มลูกฟุตบอล หรือท่าอุ้มด้านข้าง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำนมไม่พอให้ลูกกินเพราะน้ำนมแม่จะผลิตตามความต้องการของลูก หากลูกดูดนมบ่อยต่อมน้ำนมก็จะผลิตน้ำนมเพิ่มตามความต้องการ หากคุณแม่มีน้ำนมน้อยสามารถใช้เครื่องปั๊มนมช่วยดูดกระตุ้นน้ำนมได้ หรือหากคุณแม่น้ำนมเยอะก็สามารถปั๊มนมเก็บเป็นสต็อกได้เช่นกัน
ทั้งนี้ ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่อาจเริ่มจากการให้นมลูกทีละคนเพื่อให้คุณแม่ได้ใช้เวลาร่วมกันกับลูกแต่ละคนอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่สามารถดูระดับความลึกในการอมหัวนมของทารกและสังเกตความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ จากนั้นเมื่อคุณแม่เริ่มคุ้นชินกับท่าให้นมแล้วก็สามารถปรับมาให้นมลูกแฝดพร้อมกันได้ เพื่อคุณแม่จะได้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้นด้วย
ท่าให้นมลูกมีทั้งหมด 4 ท่า ได้แก่
1. ท่านอนขวางบนตัก
2. ท่านอนขวางบนตักประยุกต์
3.
ท่าอุ้มลูกฟุตบอล
4. ท่านอน
โดยท่าที่เหมาะสำหรับให้นมลูกแฝดพร้อมกันคือ ‘ท่าอุ้มลูกฟุตบอล’ (Football Hold Position) เป็นท่าอุ้มด้านข้างโดยให้คุณแม่นั่งขัดสมาธิแล้วใช้หมอนรองแขนด้านข้างหรือวางบนหน้าตัก กอดลูกให้กระชับกับข้างลำตัวคุณแม่ในข้างเดียวกับที่จะดูดนม ใช้มือจับประคองที่ต้นคอและท้ายทอยลูก ให้ขาลูกชี้ไปทางด้านหลัง ลำตัวลูกอยู่ในท่ากึ่งตะแคงกึ่งหงายแนบชิดข้างลำตัวคุณแม่ แล้วใช้มืออีกข้างประคองเต้านม เมื่อทารกอ้าปากกว้างให้เคลื่อนริมฝีปากทารกเข้าหาตัวคุณแม่
โดยท่านี้เป็นท่าให้นมลูกแฝดที่สะดวกที่สุด ซึ่งปัจจุบันมีหมอนให้นมลูกแฝดที่ช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกแฝดพร้อมกันได้ง่ายมากขึ้นด้วย และหากเป็นไปได้คุณแม่ควรมีคนช่วยเลี้ยงทารกอีกคนหนึ่ง เพื่อคอยช่วยอุ้มจับทารกขณะเข้าเต้า
การที่ลูกน้อยได้กินนมแม่นอกจากมีประโยชน์ในด้านสารอาหารจำเป็นต่อร่างกายทารกแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความผูกพันทางด้านอารมณ์ระหว่างแม่และลูกในขณะให้นมอีกด้วย สิ่งสำคัญคือคุณแม่ควรเตรียมความพร้อมร่างกายด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ผ่องใส หลีกเลี่ยงอบายมุขและยาบางชนิด ไม่ควรทำทุกอย่างด้วยตนเองทั้งหมด และอาจเตรียมเครื่องปั๊มนมไว้เพื่อช่วยปั๊มกระตุ้นน้ำนมหรือปั๊มน้ำนมไว้เป็นสต็อกได้ด้วย
นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถเสริมด้วยนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ดีเอชเอ โฟเลต โคลีน และแคลเซียม เช่น ดื่มนมเอนฟามาม่า เอพลัส วันละ 2 แก้ว เพื่อให้ได้แคลเซียมและโคลีนตามความต้องการของคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรในแต่ละวัน (THAI DRI) เพื่อให้สามารถให้นมลูกได้นานที่สุด
การทำสต็อกนมไม่ได้หมายถึงมีน้ำนมไม่พอให้ลูกกินเสมอไป แต่การทำสต็อกนมยังมีประโยชน์หลายด้าน เช่น ใช้เครื่องปั๊มนมช่วยปั๊มกระตุ้นการสร้างน้ำนมและเก็บน้ำนมนั้นเป็นสต็อก หรือการจัดการสต็อกนมไว้เผื่อเหตุฉุกเฉิน เช่น คุณแม่ป่วย คุณแม่ติดธุระด่วน คุณแม่ต้องกลับไปทำงานประจำ หรือต้องเดินทางและไม่สามารถให้ลูกแฝดเข้าเต้าพร้อมกันได้ เป็นต้น
โดยการทำสต็อกนมนั้นหากเป็นคุณแม่ Full Time ที่อยู่กับลูกตลอดเวลาไม่ต้องทำสต็อกเยอะ และสามารถเก็บสต็อกนมเมื่อไรก็ได้ที่คุณแม่สะดวก แต่สำหรับคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงานหรือต้องอยู่ห่างจากทารกเป็นเวลานาน ต้องวางแผนในการทำสต็อกนมให้ดี โดยคำนวณปริมาณน้ำนมที่ลูกกินในแต่ละมื้อ และสามารถเริ่มปั๊มนมทำสต็อกได้ทันทีที่คุณแม่พร้อม เช่น ปั๊มทุก 5-6 ชั่วโมง หรือตามรอบการให้นมปกติ เพื่อให้ร่างกายจำว่าต้องให้นมลูกตามรอบเวลา น้ำนมแม่ไม่หด และไม่คัดเต้า
สำหรับการเก็บสต็อกนมนั้น ควรเก็บน้ำนมในภาชนะที่พอดีสำหรับนม 1 มื้อ โดยใช้ขวดนมสะอาดหรือถุงเก็บน้ำนมแม่ ปิดภาชนะให้มิดชิด และอย่าลืมเขียนวันและเวลาที่เก็บให้ชัดเจน โดย Enfa มีคำแนะนำสำหรับการเก็บสต็อกนมที่อุณหภูมิต่าง ๆ ดังนี้
ส่วนการนำสต็อกนมมาใช้ ทารกสามารถกินนมที่เย็นหรือนมที่อยู่ในอุณหภูมิห้องได้เลย หากเป็นนมแช่แข็งควรย้ายจากช่องแช่แข็งมาไว้ช่องเย็นธรรมดาประมาณ 12 ชั่วโมง แล้วนำมาตั้งไว้ในอุณหภูมิห้อง (ไม่ควรนานเกิน 2 ชั่วโมง) ก่อนป้อนทารก และหากต้องการอุ่นนมให้แช่น้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้สารอาหารและสารภูมิต้านทานในนมแม่ถูกทำลาย ทั้งนี้การอุ่นนมอาจทำให้นมมีกลิ่นหืนแต่สามารถกินได้ตามปกติ
น้ำนมที่ร่างกายผลิตขึ้นในระยะ 1-3 วันแรกหลังคลอด เรียกว่า “น้ำนมเหลือง” (Colostrum) ถือเป็นน้ำนมส่วนที่ดีที่สุด เพราะมีภูมิคุ้มกันสูง เปรียบเสมือนวัคซีนธรรมชาติจากอกแม่ รวมทั้งมี “แลคโตเฟอร์ริน” สารอาหารสำคัญในนมน้ำเหลือง ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย
Enfa สรุปให้ ท้อง 8 เดือนเต้าไม่คัด หรือหลังคลอดเต้าไม่คัด ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ พ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ หัวนมเป็นแผล ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่มือใหม่หลายคน สาเหตุหลักมาจากการที...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ การให้นมลูกแฝดควรใช้ท่าอุ้มลูกฟุตบอลหรือท่าอุ้มด้านข้าง ซึ่งคุณแม่ส...
อ่านต่อ