Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
กาแฟ คือหนึ่งในเครื่องดื่มยอดนิยมสำหรับคุณแม่หลายคนก่อนจะตั้งครรภ์ใช่ไหมคะ แต่หลังจากคลอดเจ้าหนูน้อย และให้นมลูก ทำให้ต้องหักดิบลดหรือเลิกกาแฟไปโดยปริยาย เพราะกังวลว่าจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของลูก หรือคาเฟอีนในกาแฟจะส่งผลต่อสุขภาพของทารก
ประเด็นเหล่านี้ถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องการดูแลสุขภาพลูก แต่ขณะเดียวกัน ตัวเองก็ต้องการความสดชื่นและพลังงานจากกาแฟมาช่วยให้รับมือชีวิตประจำวัน หลังจากเหนื่อยล้ากับการให้นมลูกยามดึก หรือต้องตื่นบ่อย ๆ กลางดึก การได้ดื่มกาแฟหอมกรุ่นในยามเช้าเพื่อสร้างความกระฉับกระเฉงจึงเป็นสิ่งที่หลายคนโหยหา
เราจึงอยากชวนคุณแม่มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดื่มกาแฟของแม่ให้นม รวมถึงข้อควรระวัง พร้อมเคล็ดลับ และทางเลือกการเติมความสดชื่นของคุณแม่ที่ไม่กระทบกับสุขภาพของลูกน้อย
สำหรับคุณแม่หลังคลอดที่ให้นมลูก การเลี่ยงไม่ดื่มกาแฟได้จะดีที่สุด แต่ถ้าถามว่า ให้นมลูกกินกาแฟได้มั้ย ก็ยังสามารถดื่มได้อยู่ แต่ต้องจำกัดปริมาณที่พอดีเพื่อไม่ให้ส่งผลต่อทารก
เนื่องจาก กาแฟ ถือเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยกระตุ้นความกระปรี้กระเปร่าจากสารคาเฟอีน (Caffeine) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว ไม่ง่วงนอนง่าย ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานมากขึ้น
จริงๆ แล้ว คาเฟอีนเป็นสิ่งที่แนะนำให้คุณแม่หลีกเลี่ยงตั้งแต่ตั้งครรภ์ โดยส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ ดังนี้
1. เสี่ยงต่อโรคขณะตั้งครรภ์
คาเฟอีนอยู่ในอาหารหลายชนิดไม่ใช่แค่เพียงเครื่องดื่มจำพวกชากาแฟเท่านั้น เช่น เค้ก หรือขนมช็อกโกแลต อาหารเหล่านี้อาจมีน้ำตาลเป็นส่วนผสมส่งผลให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้สารคาเฟอีนยังส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์เร็วขึ้นด้วย2. ส่งผลให้สารอาหารของทารกน้อยลง
ทารกในครรภ์ต้องใช้ธาตุเหล็กในการเจริญเติบโต แต่สารคาเฟอีนในร่างกายของคุณแม่จะส่งผลให้การดูดซึมธาตุเหล็กน้อยลง รวมไปถึงการกระตุ้นการปัสสาวะจากคาเฟอีนส่งผลให้ร่างกายของคุณแม่สูญเสียแคลเซียมมากกว่าปกติอีกด้วย3. มีส่วนทำให้พักผ่อนได้น้อยลง
การดื่มหรือกินอาหารที่มีคาเฟอีน โดยเฉพาะกาแฟ อย่างที่เรารู้กันดีว่าจะส่งผลให้ผู้ที่ดื่มตื่นตัว ไม่ง่วงนอนเหมาะกับคนวัยทำงาน แต่สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์การได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก หากพักผ่อนน้อยเกินไปจะส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ง่ายขึ้น
ทำไมคาเฟอีนถึงส่งผลต่อลูก
สารคาเฟอีน (Caffeine) ที่มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว ไม่ง่วงนอนง่ายนั้น ในผู้ใหญ่ คาเฟอีนเหล่านี้จะถูกเผาผลาญโดยตับและขับออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะภายในระยะเวลาประมาณ 3-5 ชั่วโมง
แต่สำหรับทารกแรกเกิดและเด็กเล็ก ร่างกายยังพัฒนาไม่เต็มที่ และตับยังไม่สามารถเผาผลาญขับคาเฟอีนได้มีประสิทธิภาพเหมือนผู้ใหญ่ หรือต้องใช้เวลาถึง 65-130 ชั่วโมง ในการกำจัดคาเฟอีนออกจากร่างกาย
เมื่อแม่ดื่มกาแฟเข้าไป คาเฟอีนสามารถส่งผ่านทางน้ำนมของคุณแม่ได้ประมาณ 1% ของปริมาณคาเฟอีนที่คุณแม่ดื่ม อาจจะดูเป็นปริมาณที่ไม่มาก แต่ด้วยระยะเวลาการกำจัดคาเฟอีนของทารกก็จะส่งผลต่อร่างกายของลูกน้อยได้เช่นกัน ลูกจึงอาจเกิดอาการนอนน้อย งอแง หงุดหงิด หรือปัญหาการหลับ
ปริมาณคาเฟอีนในกาแฟมีเท่าไหร่
ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับยี่ห้อ ขนาดแก้ว และวิธีชง ถ้าบางร้านใช้กาแฟคั่วเข้มและปริมาณเยอะ คาเฟอีนก็สูงกว่า
นอกจาก กาแฟ แล้วยังมีเครื่องดื่ม หรือขนมขบเคี้ยวที่มีปริมาณคาเฟอีน ซึ่งคุณแม่ควรระมัดระวังในการเลือกรับประทาน ดังนี้
ควรจำกัดปริมาณคาเฟอีนแค่ไหน
หากแม่ที่ให้นมลูกหากไม่สามารถเลิกดื่มได้ ควรดื่มให้น้อยที่สุด แม้ว่าคาเฟอีนในน้ำนมไม่ได้ส่งผลเสียร้ายแรงต่อทารกแต่อาจมีผลรบกวนพฤติกรรมบางอย่าง โดยเฉพาะเมื่อให้นมแก่ทารกแรกคลอด ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน ตามคำแนะนำขององค์กรสุขภาพหลายแห่ง แนะนำว่า คุณแม่ให้นมลูกควรจำกัดคาเฟอีนต่อวันไม่เกิน 300 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่ากาแฟทั่วไปประมาณ 1-2 แก้ว มักไม่ส่งผลกระทบต่อทารก นี่เป็นตัวเลขเฉลี่ย ไม่ได้หมายความว่าทุกคนกินถึง 300 มิลลิกรัม ได้อย่างปลอดภัยเท่ากัน เพราะความไวต่อคาเฟอีนต่างกัน
แม่ที่บริโภคคาเฟอีนปริมาณสูงเป็นประจำ เช่น วันละ 750 มิลลิกรัมหรือมากกว่านี้ อาจส่งผลต่อพฤติกรรมบางอย่างของทารกอันเกิดจากฤทธิ์คาเฟอีนที่กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เช่น นอนน้อยลง ตื่นง่าย กระสับกระส่าย งอแง อยู่ไม่สุข ดูดนมได้ไม่ดีแม่ที่ดื่มกาแฟเกินกว่าวันละ 450 มิลลิลิตร (หรือ 2 แก้ว) เป็นประจำ อาจทำให้ธาตุเหล็กในน้ำนมลดลง ในระยะยาวอาจทำให้ทารกที่บริโภคนมแม่เพียงอย่างเดียวเกิดภาวะโลหิตจางได้เล็กน้อยจากการขาดเหล็กได้
ถ้าคุณแม่ดื่มกาแฟแล้วสังเกตว่า ลูกมีอาการงอแง นอนยาก หรือกระสับกระส่ายในช่วงที่นมแม่มีคาเฟอีน ก็ควรลดปริมาณหรือเปลี่ยนช่วงเวลาดื่มกาแฟ เช่น ดื่มหลังให้นมลูกทันที และเว้นช่วงให้นมรอบต่อไปอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายแม่เผาผลาญคาเฟอีนบางส่วนก่อน
สำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอดหลายคนอยากรู้ว่า ผ่าคลอดกี่เดือนกินกาแฟได้ โดยทั่วไปแล้ว การผ่าคลอดเป็นการผ่าตัดใหญ่ จำเป็นต้องให้เวลาในการฟื้นตัว หลังคลอดร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน และถ้ากำลังให้นมลูกอยู่ ยิ่งต้องระวังสิ่งที่เราบริโภคเข้าไป
ช่วงฟื้นตัวหลังผ่าคลอด
หลังผ่าคลอดประมาณ 1-2 เดือนแรก ร่างกายยังอยู่ในช่วงสมานแผล และปรับสมดุลฮอร์โมน คุณแม่มักมีความเหนื่อยล้า ต้องตื่นขึ้นมาให้นมลูกกลางดึก นอกจากนี้ยังต้องระวังเรื่องอาหารบางชนิดที่อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด หรือท้องผูก เพราะการผ่าคลอดสามารถทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องเจ็บได้
เมื่อไหร่จึงดื่มกาแฟได้
หลังผ่าคลอดควรรอให้ร่างกายเริ่มฟื้นตัวระดับหนึ่งก่อน จึงค่อยดื่มกาแฟ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อการนอนพักฟื้น และการให้นมลูก บางคนอาจเลือกที่จะงดกาแฟอย่างเด็ดขาดในช่วงเดือนแรก ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่รบกวนการนอนหลับที่จำเป็นต่อการฟื้นตัว
ถ้าถามว่า “ผ่าคลอดกี่เดือนกินกาแฟได้” ส่วนใหญ่หมอหรือองค์กรสุขภาพมักบอกว่าอย่างน้อย 1-2 เดือน หรือบางรายอาจให้เร็วกว่าได้ ถ้าคุณแม่รู้สึกว่าร่างกายพร้อม และลูกเองก็ปรับตัวได้ดีแล้ว สำคัญที่สุดคือการสังเกตร่างกายตนเอง ถ้ายังเจ็บแผลผ่าคลอดอยู่ หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ กาแฟอาจยิ่งกระตุ้นความเครียดได้ จึงควรเลี่ยงไปก่อน
ยิ่งกว่านั้น ควรปรึกษาแพทย์และสังเกตตัวเองร่วมด้วย ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน เพราะการผ่าคลอดคือการผ่าตัดใหญ่ ต้องเน้นพักฟื้นอย่างเพียงพอก่อน และคุณแม่แต่ละคนมีภาวะสุขภาพไม่เหมือนกัน หากคุณแม่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ อาจต้องหลีกเลี่ยงกาแฟในระยะแรกหลังผ่าคลอด หรือจำกัดปริมาณอย่างเข้มงวด
หากคุณแม่จำเป็นต้องพึ่งกาแฟขณะให้นมลูก ควรต้องศึกษารายละเอียดเพื่อให้มีผลกระทบต่อลูกน้อยที่สุด และคุณแม่เองก็ได้ประโยชน์ในการปลุกความตื่นตัวอย่างพอเหมาะ ดังนี้
เลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม
เมื่อแม่ดื่มกาแฟ คาเฟอีนจะเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถผ่านไปยังน้ำนมในเวลาประมาณ 15-45 นาทีหลังดื่ม ปริมาณคาเฟอีนในน้ำนมจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อร่างกายแม่ขับออก ดังนั้น ถ้าคุณแม่ต้องการลดโอกาสที่ลูกจะได้รับคาเฟอีนผ่านน้ำนม ควรดื่มกาแฟหลังให้นมลูกทันที หรือหลังปั๊มนม เพื่อให้มีช่วงเวลาอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง ก่อนถึงรอบให้นมครั้งถัดไป
ดื่มหลังให้นมลูกทันที
วิธีนี้ช่วยลดความเข้มข้นของคาเฟอีนในน้ำนมเมื่อถึงเวลาลูกกินรอบถัดไป เช่น ถ้าคุณแม่ให้นมลูกตอน 7 โมงเช้า เสร็จแล้วค่อยดื่มกาแฟตาม แล้วรอบต่อไปจะให้นมลูกอีกทีอาจเป็นตอน 9-10 โมง ก็มีเวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงในการเผาผลาญคาเฟอีนบางส่วนออกจากร่างกาย
ไม่ควรกินก่อนนอนหรือตอนดึก
ควรหลีกเลี่ยงกาแฟในช่วงบ่ายแก่ ๆ หรือช่วงเย็นถึงดึก เพราะอาจรบกวนการนอนของทั้งแม่และลูก ถ้าลูกยังดื่มนมแม่จากเต้าในช่วงดึก การนอนของแม่หลังคลอดสำคัญมากในการฟื้นฟูร่างกายและเพิ่มปริมาณน้ำนม ถ้าเราไปกระตุ้นด้วยกาแฟช่วงดึก อาจทำให้นอนยาก แล้วกระทบสุขภาพโดยรวม
ถ้าจำเป็นต้องกินหลายแก้ว ทำยังไงดี
บางคนอาจมีความจำเป็นต้องดื่มมากกว่า 1 แก้ว เช่น ทำงานกลางคืน ควรกระจายเวลาดื่ม อย่าดื่มติดกันเกินไป เพราะจะทำให้ระดับคาเฟอีนพุ่งสูง อาจเปลี่ยนไปดื่มกาแฟชนิดที่มีคาเฟอีนต่ำ (decaf) หรือชาเขียวที่มีคาเฟอีนต่ำกว่า เพื่อประคองความตื่นตัวโดยไม่เพิ่มความเสี่ยงมากเกินไป
คำแนะนำที่ดีที่สุด สำหรับกาแฟคุณแม่กินตอนไหน ก็คือ ดื่มหลังให้นมลูกหรือหลังปั๊มนมทันที และหลีกเลี่ยงการดื่มใกล้เวลานอนหรือช่วงดึก เพื่อให้คาเฟอีนในร่างกายแม่ลดลงก่อนถึงเวลาลูกกินนมครั้งถัดไป
หลายคนอาจเคยได้ยินคำเตือนว่า “แม่กินกาแฟ เดี๋ยวลูกก็นอนไม่หลับหรอก” จนกลายเป็นปัญหาที่ทำให้คุณแม่เลี่ยงกาแฟไปเลย เราควรพิจารณาปัจจัยอะไรได้บ้าง
คาเฟอีนและการนอนของทารก
คาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นสมอง ทำให้เกิดความตื่นตัว ลดความง่วง เมื่อแม่ดื่มกาแฟแล้วคาเฟอีนเข้าสู่น้ำนม ลูกอาจได้รับปริมาณคาเฟอีนบางส่วน สำหรับเด็กทารกแรกเกิด ตับและไตยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ การเผาผลาญคาเฟอีนค่อนข้างช้า ทำให้เกิดการสะสมในร่างกายเป็นเวลานานกว่าผู้ใหญ่ ผลที่ตามมาอาจเป็นว่า ลูกตื่นตัวขึ้น งอแง หรือนอนยากขึ้นกว่าปกติ แต่ใช่ว่าจะเกิดกับเด็กทุกคน บางคนไวต่อคาเฟอีน บางคนไม่ค่อยไว
การสังเกตและประเมิน
ถ้าแม่ดื่มกาแฟในปริมาณไม่มาก เช่น 1 แก้วต่อวัน และดื่มในเวลาห่างจากการให้นม 1-2 ชั่วโมง ลูกอาจไม่ได้รับคาเฟอีนมากพอถึงขั้นมีปัญหาการนอน แต่ถ้าแม่ดื่มวันละหลายแก้ว หรือดื่มในเวลาที่ใกล้ให้นมทันที ลูกก็อาจมีอาการกระสับกระส่าย นอนไม่หลับได้
วิธีลดโอกาสที่ลูกนอนไม่หลับจากการดื่มกาแฟ
ดื่มกาแฟปริมาณน้อยก่อน: เริ่มจากครึ่งแก้วหรือ 1 แก้ว แล้วสังเกตพฤติกรรมลูกว่ามีการเปลี่ยนแปลงไหม
ปรับเวลาการดื่ม: ดังที่กล่าวไว้ ควรดื่มหลังให้นมลูกทันที เพื่อให้เวลาร่างกายแม่ขับคาเฟอีนออกบางส่วน
เลือกกาแฟไร้คาเฟอีน (Decaf): อาจผสมกาแฟ Decaf บ้าง หรือเลือกกาแฟที่มีคาเฟอีนต่ำ เพื่อลดปริมาณสะสม
ปัจจัยอื่นที่ทำให้ลูกนอนไม่หลับ
ไม่ใช่แค่คาเฟอีนอย่างเดียวที่มีผลต่อการนอนของลูก เด็กอาจนอนไม่หลับเพราะโคลิค (Colic), อากาศร้อนเกินไป สภาพแวดล้อมมีเสียงรบกวน หรือแม้แต่เจ็บป่วย แต่การโทษว่าคาเฟอีนอย่างเดียวอาจไม่ถูกต้อง คุณแม่ควรมองปัจจัยภาพรวมเพื่อแก้ไขปัญหาการนอนของลูก
แม้ว่าการดื่มกาแฟจะเป็นเรื่องที่ทำได้ในปริมาณและวิธีการที่เหมาะสม แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ในช่วงให้นมลูก การดูแลโภชนาการของคุณแม่มีความสำคัญอย่างมาก คุณแม่ควรใส่ใจสารอาหารที่ครบถ้วน เพราะสารอาหารเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปในน้ำนม ให้ลูกได้รับเพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง
การได้รับโภชนาการที่ดี มีคุณภาพ ซึ่งไม่เพียงสำคัญกับพัฒนาการลูกในครรภ์ แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพ และช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้คุณแม่เองด้วย โภชนาการที่ดีหมายถึง การที่คุณแม่ได้รับสารอาหารอย่างสมดุล คือได้รับทั้งสารอาหารหลัก (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน) และสารอาหารรอง (เกลือแร่ และวิตามิน) ซึ่งช่วยส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ของคุณแม่ นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเสริมสารอาหารอย่างกรดโฟลิก และวิตามินบี 12 ที่มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพใจให้ดี เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่ และเจ้าตัวน้อย
Enfa สรุปให้ ไวท์ดอทไม่ได้ท้อง ก็สามารถเกิดไวท์ดอทที่หัวนมได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนในร่างก...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกซัดอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ไฟเบอร์ โปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินบี แมกนี...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ