Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
อาการเจ็บเต้านม ถือเป็นหนึ่งในอาการคนท้องที่สามารถพบได้ในทุกไตรมาสการตั้งครรภ์ด้วย และยังสามารถเกิดขึ้นได้หลังคลอดในช่วงที่ให้นมลูกอีกด้วย
แต่...ถ้าหากคุณแม่มีอาการเจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่มล่ะ แบบนี้ถือเป็นอาการปกติของคุณแม่หรือเปล่า หรืออาจเป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องระวังไหมนะ?
อาการเจ็บเต้านมเหมือนกับมีเข็มมาทิ่ม เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ ไม่ว่าจะเป็น:
เจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม ข้างซ้าย
อาการเจ็บเต้านมจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่มทางด้านซ้าย อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
เจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม ข้างขวา
อาการเจ็บเต้านมจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่มทางด้านขวา อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
หากคุณแม่รู้สึกเจ็บเต้านมราวกับว่ามีเข็มมาทิ่มที่เต้านม และมักมีอาการเช่นนี้เกิดขึ้นหลังจากให้นมลูก อาจเป็นไปได้ว่าคุณแม่มีภาวะ Vasospasm หรือ ภาวะหลอดเลือดหดเกร็ง
ภาวะ Vasospasm เกิดจากเส้นเลือดหรือหลอดเลือดที่อยู่บริเวณลานนมมีการหดตัวและขยายตัวอย่างรวดเร็วและรุนแรง จึงส่งผลให้รู้สึกเจ็บจี๊ด ๆ ที่เต้านมค่ะ
ซึ่งหากคุณแม่มีอาการเจ็บจี๊ด ๆ ที่เต้านมแบบนี้ ควรจะต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีนะคะ เพราะถ้าปล่อยไว้แล้วไม่รักษาให้ถูกต้อง คุณแม่อาจจะไม่สามารถให้นมลูกได้อีกเลย
เนื่องจากภาวะนี้ จะทำให้รู้สึกปวดมากจนทนไม่ไหว ทำให้ทารกพลาดโอกาสที่จะได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง ไม่ได้รับสารอาหารและสารภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติจากนมแม่อย่างเพียงพอ
หากคุณแม่มีอาการเจ็บจี๊ด ๆ ที่เต้านม ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยดูก่อนว่าอาการดังกล่าวเกิดจากสาเหตุอะไร มีภาวะหลอดเลือดหดเกร็ง หรือมีการติดเชื้อราที่หัวนมไหม หัวนมแตกหรือเปล่า หรืออาจกำลังให้นมลูกผิดวิธี เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการรักษาได้ตรงจุดค่ะ
มากไปกว่านั้น คุณแม่ยังสามารถดูแลเต้านมเพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการเจ็บเต้านมรุนแรง ดังนี้
หากมีอาการเจ็บเต้านมจี๊ด ๆ เหมือนมีเข็มมาทิ่ม และไม่ได้มีการตั้งครรภ์ หรือไม่ได้อยู่ระหว่างการให้นมลูก ควรหาเวลาไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจเป็นไปได้ว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม หรืออาจมีปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเต้านม
หากตรวจพบเร็วและเป็นสัญญาณอันตราย แพทย์สามารถที่จะรับมือและหาทางป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ค่ะ
นมแม่ ถือว่าเป็นอาหารที่สำคัญสำหรับทารก เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารและสารภูมิคุ้มกันธรรมชาติที่จำเป็น โดยในช่วง 0-6 เดือนแรกของชีวิต ทารกควรจะได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องได้รับอาหารอื่น ๆ อีก
โดยเฉพาะสารอาหารสำคัญที่พบในนมแม่ แต่ไม่พบในนมชนิดอื่น ๆ อย่าง MFGM ที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายและระบบการป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย ช่วยให้ร่างกายเด็กต่อสู้กับการติดเชื้อได้
ดังนั้น หากคุณแม่สามารถให้นมลูกได้ ไม่ได้มีปัญหาทางสุขภาพที่รุนแรงจนให้นมลูกไม่ได้ ควรให้นมลูกต่อไป และสามารถให้ต่อเนื่องได้อีก 1-2 ปี ควบคู่ไปกับอาหารตามวัย
ทั้งนี้เด็กจะสามารถเรียนรู้และมีพัฒนาการตามวัยโดยไม่สะดุด ควรจะต้องเริ่มจากการมีสุขภาพที่ดี เพื่อให้พร้อมต่อการเรียนรู้ในทุกย่างก้าว และเพื่อให้ทุกย่างก้าวของลูกได้เติบโตอย่างเต็มที่ โภชนาการที่เหมาะสมจึงถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่สุดค่ะ
Enfa สรุปให้ ไวท์ดอทไม่ได้ท้อง ก็สามารถเกิดไวท์ดอทที่หัวนมได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนในร่างก...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกซัดอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ไฟเบอร์ โปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินบี แมกนี...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ