Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
อาการท้องอืด แน่นท้อง จุกท้อง หลังมื้ออาหาร ใครบ้างคะจะไม่เคยเจอ เกือบทุกคนต้องเคยมีอาการท้องอืดกันมาทั้งนั้น เพียงแต่จะมีอาการมากหรือน้อยเท่านั้นเอง ไม่เว้นแม้แต่คนท้องที่ก็หนีเงาแค้นของอาการท้องอืดไปไม่พ้นเหมือนกัน
แต่คนท้องท้องอืด อันตรายกว่าคนอื่น ๆ ไหม แล้วแม่ท้องจะรับมือกับอาการท้องอืดในขณะตั้งครรภ์ได้อย่างไรบ้าง ล้อมวงกันเข้ามาเลยค่ะ Enfa จะมาบอกให้รู้กันวันนี้เลย
อาการท้องอืดโดยทั่วไปนั้น คือ อาการที่ทำให้รู้สึกเหมือนว่ามีลมหรือแก๊สมากในกระเพาะอาหารหรือในลำไส้ ส่งผลให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว จุกเสียด แน่นท้อง รวมถึงยังทำให้ความอยากอาหารน้อยลง มีอาการท้องแข็ง เรอ หรือผายลมออกมาด้วย ซึ่งอาการท้องอืดนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น
• โรคลำไส้แปรปรวน
• โรคกระเพาะอาหาร
• ท้องผูกเรื้อรัง
• นิ่วในถุงน้ำดี
• ภาวะจุลินทรีย์ในลำไส้เล็กเจริญเติบโตมากผิดปกติ
• กระเพาะอาหารไม่สามารถย่อยสารอาหารคาร์โบไฮเดรตบางชนิดได้
• มีเนื้องอกหรือเป็นมะเร็งในช่องท้อง
• มีน้ำในช่องท้องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ภาวะตับแข็ง การอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง
• กินอาหารหรือดื่มน้ำเร็วเกินไป
• กินอาหารไม่ตรงเวลา
• เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
• กินอาหารหรือเครื่องดื่มที่ก่อให้เกิดแก๊สมากเกินไป
แต่ในกรณีของคุณแม่ท้อง อาจเป็นไปได้ว่าอาการท้องอืดเกิดจากสาเหตุร่วมอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคนท้องจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างมาก ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนจะเพิ่มขึ้นสูง เพื่อเตรียมมดลูกให้พร้อมสำหรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์
โดยโปรเจสเตอโรนที่พุ่งสูงขึ้น จะส่งผลให้กล้ามเนื้อในร่างกายเกิดการคลายตัว รวมทั้งกล้ามเนื้อในลำไส้ด้วย คราวนี้เมื่อลำไส้เกิดการคลายตัว ระบบย่อยอาหารก็จะทำงานช้าลง
ขณะเดียวกันระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำและแก๊สต่าง ๆ เอาไว้มากจนผิดปกติ ส่งผลให้รู้สึกอึดอัดท้อง ไม่สบายท้อง และปวดท้องได้
ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 หน้าท้องของคุณแม่จะเริ่มนูนออกมา เพราะมดลูกจะค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทีนี้พอมดลูกขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะไปกดทับอวัยวะรอบ ๆ ทำให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูก หรือมีแก๊สมากเกินไปในกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิดอาการท้องอืดตามมา
เพิ่งท้องอ่อน ๆ แต่ก็มีอาการท้องอืดตอนตั้งครรภ์ ลมในท้องเยอะ แบบนี้อันตรายไหมนะ? สำหรับอาการท้องอื่นของคุณแม่ไตรมาสแรกนั้น มักจะพบกันได้โดยทั่วไปค่ะ เนื่องจากเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน จึงสามารถเกิดอาการท้องอืดได้ง่าย แต่อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเริ่มเข้าสู่ไตรมาส 2
อย่างไรก็ตาม อาจมีคุณแม่หลายคนที่อาการท้องอืดไม่ทุเลาลงเลย กรณีนี้อาจจำเป็นจะต้องไปพบแพทย์ค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากอาการท้องอืดเริ่มกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ท้องอืดจนนอนไม่หลับ ท้องอืดจนเบื่ออาหาร เพราะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพแม่และเด็กได้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
อาการท้องอืดในคนท้อง กับอาการท้องอืดโดยทั่วไป ไม่แตกต่างกันเลยค่ะ โดยคนท้องที่มีอาการท้องอืด มักจะพบกับอาการต่าง ๆ ดังนี้
• อาหารไม่ย่อย
• อึดอัดท้อง แน่นท้อง
• จุกเสียดท้อง
• ท้องแข็ง
• ท้องร้องโครกคราก
• เรอ
• ผายลม
• คลื่นไส้ อาเจียน
• เบื่ออาหาร กินอาหารได้น้อย
โดยทั่วไปแล้วอาการท้องอืดไม่ใช่ปัญหาสุขภาพที่อันตรายจนน่ากังวลค่ะ แต่ถ้าจะถามว่าอาการท้องอืดในคนท้องนี่ต้องเป็นนานแค่ไหน เมื่อไหร่จะหาย ก็ต้องบอกว่าขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องอืดค่ะ บางคนอาจเป็น ๆ หาย ๆ บางคนนาน ๆ เป็นที
ซึ่งหากเป็นอาการท้องอืดที่เกิดจากพฤติกรรมการกินอาหาร เช่น กินข้าวไม่ตรงเวลา เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด กินอาหารที่มีแก๊สเยอะเกินไป ปัจจัยเหล่านี้สามารถที่จะปรับพฤติกรรมในการกินได้ค่ะ เมื่อปรับแล้วอาการท้องอืดก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นและไม่กลับมาเป็นบ่อย ๆ อีก
แต่ถ้าเกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคกระเพาะอาหาร เนื้องอกในช่องท้อง โรคลำไส้แปรปรวน ก็จำเป็นจะต้องรักษาอาการเหล่านี้ให้ดีขึ้น อาการท้องอืดถึงจะค่อย ๆ หายไป
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการท้องอืดบ่อย ๆ รักษายังไงก็ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น คุณแม่ควรหาเวลาไปพบแพทย์โดยเร็วนะคะ เพราะปัญหาท้องอืดที่กำลังเผชิญอยู่นั้น อาจเป็นผลมาจากโรคในระบบทางเดินอาหารที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาทันทีก็ได้ค่ะ
สำหรับคุณแม่ที่จู่ ๆ ก็มีอาการท้องอืดขึ้นมา สามารถที่จะรับมือได้ง่าย ๆ ดังนี้
• ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ร่างกาย และควรดื่มน้ำโดยตรงจากแก้ว ไม่ควรใช้หลอด เพราะเสี่ยงที่จะดูดเอาอากาศเข้าสู่ช่องท้องเพิ่มขึ้นได้
• พยายามเคลื่อนไหวร่างกาย ลุกขึ้นเดินไปมาบ้าง เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหารทำงานตามปกติ ช่วยลดแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้เหมือนกันค่ะ
• หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีแก๊ส หากท้องอืดอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ เช่น ถั่ว กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง น้ำอัดลมต่าง ๆ ชา กาแฟ
• เวลากินอาหารควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด กินช้า ๆ ไม่ต้องรีบ เพื่อให้อาหารย่อยง่าย
• งดอาหารรสจัด เพราะมักจะทำให้เยื่อบุอาหารอักเสบ ทำให้อาการท้องอืดแย่ลง
คุณแม่ตั้งครรภ์มักมีคำถามว่า คนท้องกินอีโนได้ไหม หรือกินยาที่ช่วยลดกรดยี่ห้ออื่นๆ ได้หรือเปล่า สำหรับคนท้องที่มีอาการท้องอืด สามารถกินยาขับลม หรือยาลดกรดในกระเพาะอาหารยี่ห้อทั่วไปที่เราคุ้นเคยกันดีได้เลยค่ะ ยาเหล่านี้ถือว่าปลอดภัยสำหรับคนท้อง
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากกินยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลงกว่าเดิม กรณีนี้ควรไปพบแพทย์ค่ะ เพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัยและรับยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการท้องอืดให้ดีขึ้น
สำหรับคุณแม่ที่ท้องอืด ตั้งครรภ์แล้วมีอาการท้องอืดไม่หยุด นอกจากจะหรับปรุงพฤติกรรมการกินอาหารให้ดีขึ้นแล้ว ยังจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทที่จะทำให้อาการท้องอืดแย่ลง และทำให้กระบวนการย่อยอาหารทำได้ไม่ดี ได้แก่อาหารจำพวก
• อาหารที่มีรสจัด ทั้งอาหารเผ็ดจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด
• อาหารหมักดอง
• อาหารที่มีไขมันสูง
• แอลกอฮอล์
• น้ำอัดลม
• ชา กาแฟ
• อาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สง่าย เช่น ถั่วต่าง ๆ มันฝรั่ง กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น
อาการท้องอืดนั้นจะทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว คุณแม่สามารถบรรเทาอาการท้องอืดด้วยวิธีต่าง ๆ เหล่านี้ได้ค่ะ
• ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ร่างกาย และเพื่อช่วยให้เกิดการหล่อลื่นในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ย่อยอาหารได้ดีขึ้น
• ลุกขึ้นเดิน ขยับเนื้อขยับตัว เพื่อเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อในลำไส้มีการทำงานและย่อยอาหารได้ตามปกติ
นอกจากนี้การทำกายบริหารก็สามารถช่วยได้ค่ะ โดยคุณแม่สามารถทำได้หลายท่า ดังนี้
• นั่งคุกเข่า และนั่งทับลงบนส้นเท้า จากนั้นโน้มตัวและแขนลงไปข้างหน้าราบกับพื้น ค้างไว้ประมาณ 30 วินาที แล้วผ่อนคลาย
• นอนตะแคงแล้วกอดเข่าทั้งสองข้างให้ชิดหน้าอก
• นอนหงายแล้วดึงให้เข่าข้างใดข้างหนึ่งขึ้นมาแตะชิดอก
• นั่งกับพื้น เหยียดขาทั้งสองไปด้านหน้า แล้วค่อย ๆ โน้มลำตัวและมือไปแตะนิ้วเท้า ค้างไว้ประมาณ 30 วินาที แล้วผ่อนคลาย
• ยืนตรง แล้วค่อย ๆ โน้มตัว โน้มแขน และเอื้อมลงไปแตะที่เท้า ค้างไว้ประมาณ 30 วินาที แล้วผ่อนคลาย
• ทำท่า Wide Squat โดยยืนตัวตรง แยกปลายเท้าให้ขนาดเท่ากับไหล่ มือไขว้กันแตะไว้ที่ไหล่ แล้วค่อย ๆ ย่อเข่าลงคล้ายกับท่านั่งของนักซูโม่ ย่อลงและขึ้น นับเป็น 1 ครั้ง ทำประมาณ 10 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการท้องอืดติดต่อกันหลายวัน หรือมีอาการท้องอืดเกิดขึ้นบ่อย ๆ ให้หาเวลาไปพบแพทย์นะคะ เพราะอาจเสี่ยงต่ออาการท้องอืดเรื้อรัง หรืออาจมีปัญหารุนแรงในระบบทางเดินอาหารที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเฉพาะทางการแพทย์
โดยทั่วไปแล้วอาการท้องอืดมักจะดีขึ้นตามลำดับ และใช้เวลาไม่นานก็ดีขึ้นได้ แต่ถ้าหากคุณแม่มีอาการท้องอืดดังต่อไปนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
• อาเจียนบ่อยหรืออาเจียนเป็นเลือด
• ตัวเหลือง ตาเหลือง
• มีอาการปวดท้องรุนแรง
• มีอาการท้องผูกรุนแรง
• มีอาการท้องเสียรุนแรง ขับถ่ายเป็นเลือด
• น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
เลือกกินแต่ของดี มีประโยชน์ ถือเป็นคำขวัญประจำตัวแม่ท้องทุกคน เพราะการกินอาหารที่หลากหลายและได้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ จะช่วยให้สุขภาพของแม่และทารกในครรภ์แข็งแรง ลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ได้
อย่างไรก็ตาม ในแต่ละวันนั้น อาจมีบางวันที่คุณแม่กินอาหารได้น้อย หรือเบื่ออาหาร ซึ่งสาเหตุเหล่านี้อาจเสี่ยงทำให้ร่างกายของแม่และทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารสำคัญไม่เพียงพอ ซึ่งคุณแม่สามารถเสริมโภชนาการได้ง่าย ๆ ด้วยการดื่มนมค่ะ โดยเลือกดื่มนมสำหรับคนท้องที่มีโภชนาการสำคัญต่อการตั้งครรภ์ไม่ว่าจะเป็น
• โคลีน ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทและสมอง
• ดีเอชเอ ช่วยสร้างเซลล์สมองของทารก ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
• โฟเลต ลดความเสี่ยงของภาวะบกพร่องต่อท่อประสาททารก ป้องกันภาวะพิการแต่กำเนิด
• ธาตุเหล็ก ช่วยในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง และลำเลียงออกซิเจนไปยังร่างกายของแม่และทารก
• แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันของแม่และทารก ป้องกันความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน
Enfa สรุปให้ สายสะดือพันคอ ไม่ใช่สัญญาณความผิดปกติแต่อย่างใด และยังสามารถเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ในการ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ รกคืออวัยวะที่สำคัญมากในการตั้งครรภ์ซึ่งทำหน้าที่รองรับการเจริญเติบโตของทารกตลอด 40...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ รกพันคอเด็ก คือ ภาวะที่สายสะดือพันรอบคอทารกในครรภ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการที่ทารกเคลื...
อ่านต่อ