Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ลูกไม่ยอมกินข้าว ป้อนเท่าไหร่ก็เบือนหน้าหนี หลอกล่ออย่างไรก็ไม่เป็นผล ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะวันนี้ Enfa ได้รวบรวมเอา 10 วิธีแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว มาฝากไว้เป็นทริคเด็ดรับมือเมื่อลูก 1 ขวบไม่ยอมกินข้าว
ลูกไม่ยอมกินข้าว 1 ขวบ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุที่แตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ดังนี้
อาจเป็นเพราะเมนูในวันนั้นมีกลิ่นหรือรสสัมผัสที่แปลกไป อาจมีกลิ่นเหม็นฉุน ร้อนไป แข็งไป หรือไม่ใช่รสชาติที่ลูกคุ้นเคย จึงทำให้ลูกไม่ยอมกินข้าว หรือกินได้น้อย
อาจเป็นไปได้ว่าก่อนหน้านั้น คุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกกินนม ขนม หรือผลไม้มาก่อนเลย จึงทำให้ลูกยังรู้สึกอิ่มอยู่ จนไม่ยอมกินข้าว หากลูกยังไม่หิวจริง ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องบังคับค่ะ เมื่อลูกหิวก็จะอยากกินข้าวตามปกติได้เอง
บางครั้งเด็กอาจเล่นจนเหนื่อย เล่นมาตลอดทั้งวันยังไม่ได้หยุดพัก เวลาที่เหนื่อยมาก ๆ เด็กก็จะรู้สึกอ่อนเพลียเกินกว่าที่จะรู้สึกอยากกินอะไร เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ค่ะที่เวลาเหนื่อยล้ามาก ๆ เราก็จะกินอาหารได้น้อย หรือแทบไม่รู้สึกอยากกินอะไรสักเท่าไหร่
อาการเบื่ออาหาร หรือลูกไม่ยอมกินข้าว บางครั้งก็มีสาเหตุมาจากการเจ็บไข้ได้ป่วยค่ะ เวลาที่ไม่สบายความอยากอาหารก็จะลดลง ทำให้กินข้าวได้น้อย หรือไม่กินข้าวเลย
คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกให้ดี หากลูกมีอาการเบื่ออาหาร เซื่องซึม เริ่มมีไข้ นอนนานผิดปกติ อาจเป็นไปได้ว่าลูกกำลังไม่สบาย ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยร่างกาย และรับการรักษาที่เหมาะสม
อย่าประมาทคิดว่าเด็ก 1 ขวบจะเล็กเกินกว่าจะมีเมนูโปรดนะคะ เพราะเด็กเล็กวัยนี้ก็สามารถที่จะเลือกกินได้แล้วค่ะ เด็กบางคนไม่ยอมกินข้าว เพราะว่ากับข้าวมือนั้นไม่ใช่ของที่เขาชอบ
หรืออาจมีสาเหตุมาจากลูกยังมีความกลัวกับสิ่งของแปลกใหม่ หรือรสชาติใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย ในระยะแรก ๆ จึงอาจจะปฏิเสธอาหารและไม่ยอมกินข้าว
หากเด็ก 1 ไม่ยอมกินข้าว กินข้าวได้น้อยเป็นประจำ อาจมีผลเสียต่อสุขภาพได้หลายประการ ดังนี้
หากลูกไม่ยอมกินข้าว ลูกเบื่ออาหาร คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือได้ด้วย 10 วิธีแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว
1. เสิร์ฟอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ
หากลูกไม่ยอมกินข้าว หรือกินได้น้อย คุณพ่อคุณแม่สามารถแบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ แต่หลายมื้อแทนได้ค่ะ วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นความอยากอาหารในมื้อต่อไปได้ และลูกยังคงได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน
2. เก็บทันทีเมื่อหมดเวลา
กำหนดเวลา 20-30 นาทีสำหรับอาหารแต่ละมื้อ หากลูกไม่กินข้าวในมื้อนั้น ไม่ต้องบังคับค่ะ เมื่อหมดเวลาให้เก็บอาหารทันที ระหว่างวันงดของว่าง เมื่อถึงเวลามื้อถัดไป ลูกก็จะเริ่มรู้สึกหิวและอยากกินข้าวเอง พร้อมกับได้เรียนรู้ว่า ถ้าไม่ยอมกินข้าวตรงเวลา ก็จะหิว ไม่สบายท้อง ไม่สบายตัว
3. ทำเมนูที่ลูกชอบ
ลูกไม่ยอมกินข้าว อาจเพราะกับข้าวไม่ใช่เมนูที่ลูกชอบ บางครั้งลูกอาจยังไม่พร้อมกับอาหารใหม่ ๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถทำเมนูเดิมเสิร์ฟพร้อมกับเมนูใหม่คู่กันได้ เป็นการแนะนำอาหารใหม่ ๆ ให้ลูกรู้จักให้ลูกคุ้นเคย แม้ลูกอาจจะปัดทิ้งหรือไม่ยอมกินเลยเป็นสิบ ๆ ครั้ง แต่ลูกจะยอมกินในสักวันหนึ่งได้เอง และชอบเมนูใหม่ ๆ ไปเองค่ะ
4. ให้ลูกได้หยิบจับอาหารเองบ้าง
เด็ก 1 ขวบ อาจยังต้องคอยป้อนข้าวป้อนน้ำให้อยู่ก็จริง แต่การให้ลูกได้หยิบผักต้ม ได้ขยำผลไม้เต็มมือ หรือหยิบเข้าปากเองบ้าง จะช่วยให้ลูกรู้สึกสนุกกับการกินมากขึ้น อยากกินข้าวมากขึ้น พร้อมทั้งเป็นการเริ่มฝึกฝนให้ลูกกินข้าวด้วยตัวเองตั้งแต่ยังเล็กอีกด้วย
5. หลอกล่อและชื่นชม
ถ้าลูกไม่ยอมเปิดปากให้ป้อนข้าว ก็ต้องหลอกล่อให้ถึงที่สุด แกล้งทำว่าอุ๊ยจรวดมองหาถ้ำ ถ้ำอยู่ไหนน้าาาาาา หรือพยายามพูดอ้ำ ๆ ซ้ำไปซ้ำมา เมื่อลูกอ้าปากก็รีบตักอาหารป้อนให้ลูกทันที เมื่อลูกกินแล้วก็รีบชมเชย ปรบมือดีใจ เพื่อกระตตุ้นความรู้สึกดี ๆ ในการกินอาหาร
6. ลดปริมาณขนมและของว่าง
พี่ป้าน้าอามักจะใจดีและอยากเห็นหลานกินของอร่อย ๆ ก็ขนกันมาป้อนลูกน้อย เมื่อลูกน้อยกินของว่างมากจนเกินไป ก็จะทำให้อิ่ม อาหารย่อยไม่ทันกับอาหารในมื้อทันไป ทำให้ลูกไม่ยอมกินข้าว วงจรการกินผิดปกติ ดังนั้น ควรจำกัดของว่างให้เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป แต่ก็ต้องไม่น้อยจนเกินไปนะคะ
7. ไม่กินไปเล่นไป
การพาลูกทำกิจกรรมบ่อย ๆ เป็นเรื่องที่ดีนะคะ แต่จะต้องไม่ทำควบคู่กันไปพร้อมกับเวลากินข้าว เวลากินข้าวก็คือกินข้าว ไม่ควรมีกิจกรรมอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจของลูก จะยิ่งทำให้ลูกไม่ยอมกินข้าว หรือกินข้าวได้น้อย เพราะใจจดจ่อกับสิ่งเร้ารอบตัวแทน
8. เพิ่มทางเลือก
หากลูกไม่ยอมกินข้าวบ่อย ๆ อาจต้องลองทำหลายๆ เมนูเพื่อเป็นตัวเลือกให้ลูก ลูกอาจจะอยากกินเมนูใหม่ ๆ ที่อร่อยถูกใจก็ได้ ถือเป็นการนำเสนอเมนูใหม่ ๆ ให้ลูกไปในตัว
9. กินเมนูเดียวกันกับลูก
เด็กเล็กมักชอบทำพฤติกรรมเลียนแบบ หากคุณพ่อคุณแม่กินเมนูเดียวกันกับลูก ก็จะช่วยกระตุ้นให้ลูกอยากลองกิน และสามารถกินอาหารได้มากขึ้น
10. ไม่ให้ลูกกินนมมากเกินไป
เด็ก 1 ขวบควรลดปริมาณการกินนมลงมา และเน้นการกินอาหารเป็นมื้อ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต เพราะถ้าหากให้นมมากเกินไป ก็จะทำให้ลูกอิ่มนานขึ้น ความอยากอาหารลดลง
หากลูกไม่ยอมกินข้าว ก็จำเป็นจะต้องหาวิธีทำให้ลูกยอมกินข้าวให้ได้ค่ะ เพราะถ้าลูกกินอาหารได้น้อย จะมีผลต่อการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ไม่สมวัย
อย่างไรก็ตาม หากลูกไม่ยอมกินข้าวเลย คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริมได้ด้วยของว่างเช่น ธัญพืช ผลไม้ มันต้มสุก เพื่อให้ลูกยังได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
หรือให้ลูกกินนม อาจเป็นนมยูเอชทีสำหรับเด็ก หรือนมผงสูตรสำหรับเด็ก 1 ขวบ เพื่อให้ลูกไม่ขาดสารอาหาร และมีพลังงานที่เพียงพอในแต่ละวัน
แต่...อย่าลืมว่าสิ่งที่ดีที่สุดคือการที่ลูกได้กินอาหารตามปกติในปริมาณที่เหมาะสมกับวัยนะคะ อาหารเสริมเหล่านี้สามารถช่วยได้เป็นครั้งคราว ไม่สามารถใช้ทดแทนอาหารมื้อหลักได้ตลอดไป
ลูก 1 ขวบ 2 เดือนไม่ยอมกินข้าว เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น:
หาก ลูก 1 ขวบ 3 เดือนไม่ยอมกินข้าว ยังไม่จำเป็นต้องให้ลูกกินอาหารเสริมค่ะ สามารถให้ของว่าง ขนม ผลไม้ และให้ลูกกินนมสูตรสำหรับเด็กวัย 1 ขวบไปก่อนได้ และควรปรับพฤติกรรมการกินของลูก กระตุ้นให้ลูกกลับมากินอาหารตามปกติให้ได้
ส่วนอาหารเสริมนั้น หากลูกไม่ได้มีภาวะขาดสารอาหาร หรือไม่ได้มีปัญหาสุขภาพรุนแรงจนต้องกินอาหารเสริม หรือแพทย์ไม่ได้แนะนำให้กิน ก็ยังไม่จำเป็นต้องให้ลูกกินวิตามินและอาหารเสริมใด ๆ ค่ะ
การได้รับอาหารเสริมที่ไม่ตรงกับปัญหาสุขภาพ หรือได้รับในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพลูกน้อยในระยะยาวได้
Enfa สรุปให้ SQ (Social Quotient) คือ ความฉลาดทางสังคม หรือทักษะในการปรับตัวที่จ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เด็กอ่านหนังสือ โดยทั่วไปจะเริ่มอ่านคำง่ายๆ ได้เมื่ออายุประมาณ 4-5 ขวบ ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ทฤษฎีสมอง 3 ส่วน เป็นการอธิบายถึงการทำงานของสมองส่วนต่างๆ ในการควบคุมพฤติกรรม ...
อ่านต่อ