Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การทำความเข้าใจการทำงานของสมองในเด็กเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่ทุกคน เพราะสมองเป็นศูนย์กลางในการควบคุมพฤติกรรม อารมณ์ และการเรียนรู้ของลูกน้อย โดยจากทฤษฎีสมอง 3 ส่วนนั้นอธิบายได้ว่าสมองถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ทำหน้าที่ตั้งแต่การควบคุมการเคลื่อนไหวพื้นฐานไปจนถึงการคิดเชิงวิเคราะห์
วันนี้ Enfa จึงอยากชวนคุณแม่มาทำความเข้าใจเรื่องสมองลูกน้อยกันว่าสมองมีกี่ส่วน ทำหน้าที่อะไร สมอง 3 ส่วนคืออะไร เพื่อจะได้เสริม IQ และ EQ ให้ลูกน้อยได้อย่างเหมาะสมกันค่ะ
ทฤษฎีสมอง 3 ส่วน (Triune Brain Theory) เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงวิวัฒนาการของสมองมนุษย์ โดยนายแพทย์พอล แมคลีน (Paul MacLean) นักประสาทวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งอธิบายว่า สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนซึ่งควบคุมการทำงานในชีวิตประจำวันที่แตกต่างกัน โดยคุณแม่สามารถใช้ทฤษฎีสมอง 3 ส่วนเป็นเครื่องมือช่วยในการทำความเข้าใจการทำงานของสมอง ตลอดจนวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกได้
ตามหลัก Triune Brain Theory เราสามารถแบ่งส่วนประกอบสมอง 3 ส่วน ซึ่งมีหน้าที่ต่างกันได้ดังนี้
สมองส่วนหน้า (Neo-Cortex)
คือ สมองที่พัฒนาในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระดับสูง ทำหน้าที่คิดวิเคราะห์ ใช้เหตุผล และแก้ปัญหา หรือเรียกอีกอย่างว่า สมองมนุษย์
สมองส่วนกลาง (Limbic System)
คือ สมองที่พัฒนาขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแรกเริ่ม ควบคุมอารมณ์และความรู้สึก รวมถึงความทรงจำ หรือเรียกอีกอย่างว่า สมองแบบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
สมองส่วนท้าย (Reptilian Brain)
คือ สมองส่วนที่เก่าแก่ที่สุด ควบคุมพฤติกรรมพื้นฐาน เช่น การหายใจ การควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ และการตอบสนองตามสัญชาตญาณ หรือเรียกอีกอย่างว่า สมองแบบสัตว์เลื้อยคลาน
สมองส่วนหน้า หรือ Neo-Cortex คือสมองส่วนที่ทำให้มนุษย์มีความสามารถในการสื่อสารและประมวลผลข้อมูลระดับสูง สามารถคิดวิเคราะห์เป็นเหตุเป็นผล คิดเชิงนามธรรม สามารถวางแผน แก้ปัญหาที่ซับซ้อน พัฒนาด้านภาษา สมองส่วนหน้าจะอยู่บริเวณหลังกะโหลกหน้าผาก ทำหน้าที่ประมวลผลจากทุกส่วนในสมองแล้วนำมาตัดสินใจที่ส่วนนี้
ส่วนประกอบของสมองส่วนหน้า
สมองส่วนหน้า (Neo-Cortex) ประกอบด้วยหลายส่วนที่ทำงานร่วมกัน โดยส่วนที่สำคัญที่สุดคือ Prefrontal Cortex หรือส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ การวางแผน และการควบคุมตนเอง นอกจากนี้ยังมี Motor Cortex ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย และ Sensory Cortex ทำหน้าที่รับข้อมูลจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น การมองเห็น การได้ยิน
ทำไมสมองส่วนหน้าถึงถูกเรียกว่า Human Brain
สมองส่วนหน้าเป็นสมองที่ทำให้เราสามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุผล สามารถวางแผนล่วงหน้า ควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ เป็นสมองส่วนที่มีวิวัฒนาการอย่างมากและพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขั้นสูงเท่านั้นซึ่งก็คือมนุษย์นั่นเอง
สมองส่วนหน้าทําหน้าที่อะไร
สมองส่วนหน้าทำหน้าที่ในการควบคุมกระบวนการทางความคิดที่ซับซ้อน เช่น การตัดสินใจ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหา การวางแผน การใช้ภาษา ซึ่งเป็นการประมวลผลข้อมูลในระดับสูงและมีความซับซ้อน การตอบสนองของสมองส่วนหน้าจึงไม่ใช่การตอบสนองทันทีทันใดหรืออัตโนมัติ
สมองส่วนกลาง หรือ Limbic System คือสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก และความทรงจำ มีความสำคัญในการควบคุมปฏิกิริยาทางอารมณ์ เช่น ความกลัว ความสุข หรือความโกรธ
ส่วนประกอบของสมองส่วนกลาง
สมองส่วนกลางประกอบด้วย อมิกดาลา (Amygdala) ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมอารมณ์ เช่น ความกลัวและความโกรธ ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างและจัดเก็บความทรงจำระยะยาว และ ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การหลั่งฮอร์โมน เป็นต้น
ทำไมสมองส่วนกลางถึงถูกเรียกว่า Mammalian Brain
Mammalian Brain คือชื่อเรียกของสมองส่วนกลางเพราะเป็นสมองที่พัฒนาขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีหน้าที่ควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ โดยเฉพาะการสร้างความผูกพันระหว่างแม่และลูก รวมถึงการเรียนรู้พฤติกรรมซับซ้อนต่างๆ ด้วย
สมองส่วนกลางทําหน้าที่อะไร
สมองส่วนกลางทำหน้าที่หลักคือประมวลผลและควบคุมอารมณ์ เช่น ความรัก ความโกรธ ความกลัว พร้อมสร้างและจัดเก็บความทรงจำระยะยาว รวมถึงการควบคุมปฏิกิริยาทางอารมณ์ด้วย
สมองส่วนท้าย หรือ Brain Stem and Cerebellum หรือเรียกอีกอย่างว่า สมองส่วนหลัง คือสมองส่วนที่เก่าแก่ที่สุดในวิวัฒนาการ ซึ่งควบคุมการทำงานพื้นฐานของร่างกาย เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ และการตอบสนองโดยอัตโนมัติ และหน้าที่หลักของสมองส่วนนี้คือสัญชาตญาณการเอาตัวรอด
สมองส่วนท้ายประกอบด้วย
สมองส่วนท้ายประกอบด้วย Brain Stem ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ การตอบสนองโดยอัตโนมัติ และ Cerebellum ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวและการทรงตัว นั่นทำให้เมื่อเราเกิดล้มศีรษะด้านท้ายทอยฟาดพื้นอย่างแรง มักทำให้เดินไม่ได้ หรือเคลื่อนไหวได้ยาก
ทำไมสมองส่วนท้ายถึงถูกเรียกว่า Reptilian Brain
สาเหตุที่สมองส่วนท้ายถูกเรียกว่า Reptilian Brain หรือสมองแบบสัตว์เลื้อยคลานเพราะก่อนพัฒนามาเป็นมนุษย์มันถูกพบในสัตว์เลื้อยคลานมาก่อน สมองส่วนท้ายเป็นสมองที่เก่าแก่ที่สุดในวิวัฒนาการ ทำหน้าที่ควบคุมการตอบสนองต่อสัญชาตญาณการเอาตัวรอด โดยทำความอารมณ์ความรู้สึกเป็นหลัก ทำงานในระดับจิตใต้สำนึกที่เราแทบไม่รู้ตัวและยากที่จะควบคุม
สมองส่วนท้ายทําหน้าที่อะไร
สมองส่วนท้ายทำหน้าที่ควบคุมการทำงานพื้นฐานของร่างกายที่สำคัญต่อการอยู่รอด เช่น การควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจ และโดยเฉพาะการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นภัยคุกคามหรือสัญชาตญาณการเอาตัวรอด ซึ่งเป็นการตอบสนองแบบสู้หรือหนี (Fight or Flight Response) ที่ทำตามอารมณ์ความรู้สึกเป็นหลัก ไม่ผ่านการคิดวิเคราะห์อย่างรอบคอบ ที่สำคัญคือมักมีผลต่อการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในชีวิตของเรากว่า 90%
บางครั้งเรามักคิดถึงการใช้สมองส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นหลักแต่ในความเป็นจริงแล้วเราใช้สมองทุกส่วนสอดคล้องกันแทบตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ลูกกำลังฝึกขี่จักรยานในสวน เขาจะใช้สมองส่วนหน้า (Neo-cortex) ในการวางแผนว่าจะไปทิศทางใด ควรใช้ความเร็วเท่าไรเพื่อไปให้ถึงจุดหมาาย และต้องทำอย่างไรเมื่อมีสิ่งกีดขวาง พร้อมกับใช้สมองส่วนกลาง (Limbic System) จัดการความกลัวเมื่อรู้สึกว่าขี่เร็วเกินไปจนอาจเกิดอันตรายหรือเริ่มรักษาสมดุลของจักรยานไม่ได้ และใช้สมองส่วนท้าย (Reptilian Brain) ควบคุมการตอบสนองอัตโนมัติเมื่อรถล้มหรือกำลังพุ่งชนสิ่งกีดขวางโดยการทิ้งรถแล้วกระโดดหนี เป็นต้น
ทฤษฎีสมอง 3 ส่วน ช่วยให้คุณแม่เข้าใจพฤติกรรมลูกและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านสมองให้ลูกได้อย่างเหมาะสม เช่น ให้ลูกฝึกทำกิจกรรมท้าทายความคิด เล่นเกมปริศนา แก้โจทย์ปัญหา ต่อเลโก้ เพื่อกระตุ้นสมองส่วนหน้าที่ควบคุมการคิดวิเคราะห์ การวางแผน และการแก้ปัญหาซึ่งเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทางสติปัญญา หรือ IQ พร้อมกับเสริมโภชนาการที่เหมาะสมให้ลูกรัก
เลือกเอนฟาสูตรที่ใช่ แบรนด์เดียวที่เสริม MFGM มีหลากหลายสูตร ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูก
เพราะเด็กทุกคนต่างกัน
Enfa สรุปให้ SQ (Social Quotient) คือ ความฉลาดทางสังคม หรือทักษะในการปรับตัวที่จ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เด็กอ่านหนังสือ โดยทั่วไปจะเริ่มอ่านคำง่ายๆ ได้เมื่ออายุประมาณ 4-5 ขวบ ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ทฤษฎีสมอง 3 ส่วน เป็นการอธิบายถึงการทำงานของสมองส่วนต่างๆ ในการควบคุมพฤติกรรม ...
อ่านต่อ