นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

สอนเด็กอ่านหนังสือ สร้างทักษะพื้นฐานสำคัญด้านภาษา

Enfa สรุปให้

  • เด็กอ่านหนังสือ โดยทั่วไปจะเริ่มอ่านคำง่ายๆ ได้เมื่ออายุประมาณ 4-5 ขวบ และอ่านหนังสือได้คล่องและเริ่มมีพัฒนาการอย่างจริงจัง เมื่ออายุประมาณ 7-8 ขวบ
  • ลูก 7 ขวบอ่านหนังสือไม่ได้ เป็นเรื่องที่พ่อแม่อาจจะกังวล แต่ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะพัฒนาการของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน
  • วิธีสอนลูกอ่านหนังสือ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่หนังสือเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายรวมถึงการฝึกทักษะการคิด และจินตนาการอื่นๆ ด้วย

เลือกอ่านตามหัวข้อ

การสอนเด็กอ่านหนังสือเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเด็กทุกคน ไม่เพียงแต่เป็นการเปิดโลกทัศน์ที่กว้างไกล แต่ยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านภาษา ความคิดสร้างสรรค์ และอารมณ์ กระตุ้นให้เด็กๆ ได้ใช้จินตนาการ คิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาต่างๆ และฝึกสมาธิของเด็กๆ ได้อีกด้วย

 

เด็กอ่านหนังสือออกตอนอายุเท่าไหร่? 


ลูกอ่านหนังสือได้ตอนกี่ขวบ แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุกรรม สภาพแวดล้อม และการกระตุ้นจากผู้ปกครอง โดยทั่วไปเด็กส่วนใหญ่จะเริ่มอ่านคำง่ายๆ ได้เมื่ออายุประมาณ 4-5 ขวบ ซึ่งจะเริ่มสนใจตัวอักษรและภาพประกอบในหนังสือ และอ่านหนังสือได้คล่องและเริ่มมีพัฒนาการอย่างจริงจังเมื่ออายุประมาณ 7-8 ขวบ เด็กจะสามารถอ่านประโยคสั้นๆ ได้ และเข้าใจเนื้อหาพื้นฐานของเรื่องราวได้ดียิ่งขึ้น

พัฒนาการการอ่านของเด็กแบ่งออกเป็นช่วงวัย ได้แก่

  • ช่วงวัยเตาะแตะ: เด็กจะเริ่มสนใจหนังสือภาพ มีการชี้รูปภาพและเลียนแบบเสียงสัตว์
  • ช่วงวัยก่อนวัยเรียน: เด็กจะเริ่มจำคำศัพท์ง่ายๆ ได้ และสามารถบอกชื่อตัวอักษรบางตัวได้
  • ช่วงวัยเรียน: เด็กจะเริ่มอ่านคำง่ายๆ เป็นประโยคได้คล่องขึ้น และเข้าใจเนื้อหาของเรื่องราวมากขึ้น
     

ลูก 7 ขวบอ่านหนังสือไม่ได้ ผิดปกติหรือไม่


ลูกวัย 7 ขวบยังอ่านหนังสือไม่ได้ เป็นเรื่องที่พ่อแม่อาจจะกังวล แต่ไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่ลูกวัย 7 ขวบยังอ่านหนังสือไม่ได้ เพราะพัฒนาการของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน แม้ว่าด็กในวัยนี้ควรจะสามารถอ่านคำสั้นๆ และประโยคง่ายๆ ได้ แต่ก็มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อความเร็วในการเรียนรู้ เช่น

ความพร้อมทางด้านร่างกาย เด็กบางคนอาจมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา การได้ยิน หรือความคล่องตัวของลิ้น ซึ่งส่งผลต่อการอ่าน
สภาพแวดล้อม การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว การมีหนังสืออ่านหลากหลายชนิด และการได้เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านการอ่านของเด็กได้เป็นอย่างดี
ความสนใจ เด็กบางคนอาจสนใจเรื่องอื่นมากกว่าการอ่าน เช่น การเล่น การวาดรูป หรือการดูโทรทัศน์

อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกมีปัญหาในการอ่านที่ชัดเจน เช่น อ่านคำผิดบ่อย อ่านช้า หรือไม่เข้าใจเนื้อหา ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข
 

วิธีสอนลูกอ่านหนังสือ 


การสอนลูกอ่านหนังสือไม่ได้จำกัดอยู่แค่หนังสือเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายรวมถึงการฝึกทักษะการคิด และจินตนาการ เพราะเป็นการช่วยพัฒนาทักษะด้านสติปัญญา ล้วนเป็นวิธีสอนลูกอ่านหนังสือที่ทำให้เด็กๆ เข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งการเสริมทักษะการอ่านสามารถทำได้หลากหลายวิธี ดังนี้  

  • การอ่านให้ลูกฟัง: การอ่านให้ฟังถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และมีประสิทธิภาพสูง การอ่านหนังสือให้ลูกฟังเป็นประจำ เป็นหนึ่งในวิธีสอนหนังสือลูกอนุบาล ที่จะช่วยให้เด็ก ได้สัมผัสกับภาษาและสำนวนต่างๆ ทำให้คุ้นเคยกับเสียงของภาษา และโครงสร้างของประโยค
  • เล่นเกมที่เกี่ยวกับการอ่าน: เกม เช่น การจับคู่คำกับภาพ การเติมคำในช่องว่าง หรือการเล่านิทานต่อ ถือเป็นกิจกรรมที่แปลงการเรียนให้เป็นเรื่องสนุก ถือเป็นการใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน อีกทั้งจะช่วยให้เด็กๆ รู้สึกว่าการเรียนรู้การอ่านเป็นเรื่องสนุก
  • ใช้หนังสือภาพ: หนังสือภาพที่มีภาพประกอบสวยงามและเนื้อหาที่น่าสนใจ จะช่วยดึงดูดความสนใจของเด็ก และกระตุ้นให้เด็กอยากอ่านเอง
  • สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่าน: เมื่อเด็กเริ่มอ่านได้ ควรให้โอกาสเขาได้อ่านหนังสือด้วยตัวเองบ้าง ด้วยการจัดมุมอ่านหนังสือในห้องให้สวยงามและสะดวกสบาย พร้อมด้วยหนังสือหลากหลายประเภท
     

ลูกไม่ชอบอ่านหนังสือ ทำไงดี 


ถึงเราจะรู้ว่าการอ่านหนังสือ เป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็น และสำคัญต่อพัฒนาการของลูกน้อย ถึงขั้นที่ Timothy Shanahan ผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะการอ่าน กล่าวว่า การอ่านมีผลต่อการเรียนและความสำเร็จของชีวิตในภายภาคหน้า 

แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเด็กๆ ทุกคนจะชอบอ่านหนังสือ จึงไม่น่าแปลกใจที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนมาก มักมีความกังวลใจเกี่ยวกับทักษะการอ่านของลูก จนบางครั้งต้องใช้การบังคับให้ลูกฝึกอ่านหนังสือ เพราะคาดหวังผลลัพธ์ที่รวดเร็ว

หากลูกไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ คุณพ่อคุณแม่สามารถลองใช้วิธีเหล่านี้เพื่อกระตุ้นให้ลูกสนใจการอ่านมากขึ้น และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้ลูกน้อยได้อีกด้วย 

เลือกหนังสือที่ตรงกับความสนใจของลูก
การสังเกตความสนใจของเด็กๆ ดูจะเป็นกุญแจดอกแรกในการสร้างความสนใจให้กับลูกน้อย โดยเฉพาะกับเรื่องของการอ่าน ดังนั้น ก่อนจะทำให้ลูกๆ หันมานั่งอ่านหนังสือ พ่อแม่ต้องชวนคุยถึงสิ่งที่พวกเขาสนใจก่อน จากนั้นค่อยหยิบหนังสือที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย และสีสันสดใส เช่น การ์ตูน หนังสือเกี่ยวกับสัตว์ หรือหนังสือเกี่ยวกับตัวละครที่ลูกชอบมาชวนดู ชวนอ่านเพื่อให้เด็กๆ คุ้นเคยกับภาพ และตัวหนังสือบนหน้ากระดาษ 

อ่านหนังสือร่วมกับลูก
การอ่านหนังสือไปพร้อม ๆ กับลูก และถามคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาเพื่อกระตุ้นให้ลูกคิดตามถือเป็นเครื่องมือส่งเสริมการอ่านชั้นดีสำหรับลูกน้อย เพราะเด็กเล็กยังอยู่ในช่วงวัยที่จะอยู่ไม่ห่างจากแม่หรือพ่อ การที่คุณพ่อคุณแม่ลงไปทำกิจกรรมร่วมกับลูก อย่างการอ่านหนังสือ จะยิ่งทำให้เด็กๆ สนใจที่เรียนรู้สิ่งที่อยู่ในนั้นมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย 

ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ
การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้ลูกน้อย ไม่ได้จำกัดกรอบอยู่แค่เพียงตัวหนังสือในหนังสือเท่านั้น แต่ยังหมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ปรากฎในหนังสือเล่มนั้นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น การวาดรูปตามเนื้อหาในหนังสือ เล่นบทบาทสมมติ หรือ เล่นเกมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหนังสือเรื่องนั้นๆ 

ทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน โดยมีพ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดี
ตัวอย่างที่ดีที่สุดของการทำให้เด็กๆ สนใจหนังสือ จนนำไปสู่การปลูกฝังเรื่องการอ่านให้กับลูกๆ นั้น ก็คือ พ่อแม่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นอ่านหนังสือให้ลูกเห็นเป็นประจำ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดี และทำให้เขาสัมผัสได้ว่า การอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และทุกคนในบ้านต่างก็ทำกัน 

เมื่อเด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดหากได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง การได้สัมผัสหนังสือ การได้ฟังเรื่องราว และการได้เห็นผู้ใหญ่รอบข้างให้ความสำคัญกับการอ่าน ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วยให้เด็กเกิดความสนใจ และอยากอ่านตามไปด้วย
 

ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้ลูกน้อย


การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้ลูกน้อย ถือเป็นการวางรากฐานความสำเร็จในชีวิตในระยะยาวให้กับเด็กๆ วิธีการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับเด็กๆ ได้สนุกกับการอ่านมากกว่าที่เคย ดังนี้ 

ไม่มีอะไรดีกว่าการ อ่านให้ลูกฟัง
พ่อแม่หรือผู้ดูแลควรจะพูดคุย ร้องเพลง และอ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่เล็กๆ เพียงเวลาประมาณ 10-15 นาที ก่อนนอน ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่มีค่ามากสำหรับลูกน้อย เพราะถ้าเขาเห็นว่าพ่อแม่สนุกกับการอ่านเขาก็จะอยากอ่านตามไปด้วย

จริงจังในการอ่านออกเสียง
เด็กๆ มักจะรู้สึกตามเรื่องที่เล่ามากขึ้นเมื่อมีผู้ใหญ่อ่านให้ฟังด้วยความกะตือรือล้น การอ่านให้ฟังก็ทำให้เรื่องเล่ามีชีวิตชีวาและสร้างความตื่นเต้นให้เด็กๆ ได้ จากการสำรวจพบว่า หนังสือเล่มโปรดของพวกเขาก็คือเล่มเดียวกับที่คุณครูหรือบรรณารักษ์เป็นคนอ่านให้ฟังนั่นเอง

แนะนำหนังสือคุณภาพหลากหลายแบบ และอ่านด้วยความเพลิดเพลิน
การอ่านด้วยความเพลิดเพลินเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นการพัฒนา รวมทั้ง คุณภาพของวรรณกรรมที่เด็กเข้าถึงได้มีผลต่อการปลูกฝังนิสัยการอ่านที่ดี เช่นเดียวกับความดึงดูดใจของหนังสือด้วย ตัวเลือกที่หลากหลายจึงจำเป็น ไม่ว่าจะเป็น นิทานภาพ เรื่องเล่าที่มีตัวละครน่ารักๆ หนังสือบอร์ดที่มีคำศัพท์เหมาะสมตามวัย และหนังสือที่เด็กเล็กๆ ก็อ่านได้ ล้วนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กๆ ค้นพบเรื่องที่ชอบ หรือหนังสือที่ใช่ได้เร็วขึ้น

ห้องสมุด หรือร้านหนังสือ คือคลังมหาสมบัติ แห่งการค้นหา
ห้องสมุดชุมชน หรือร้านหนังสือ สามารถเป็นสถานที่ๆ เด็กๆ จะได้ใช้เวลาอย่างเต็มที่กับครอบครัว เพื่อเลือกเฟ้นเรื่องราวที่พวกเขาสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพ่อแม่ตื่นเต้นไปกับพวกเขาด้วย ซึ่งประสบการณ์นั้นจะทำให้ห้องสมุด หรือ ร้านหนังสือกลายเป็นพื้นที่ของการผจญภัยอันน่าค้นหา โดยมีหนังสือเป็นคลังมหาสมบัติแห่งความรู้ที่จะสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ลูกน้อยได้อย่างไม่สิ้นสุด 
 

เลือก Enfa สูตรที่ใช่ แบรนด์เดียวที่เสริม MFGM


เมื่อการอ่านหนังสือถือเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่ช่วยเรื่องพัฒนาการสมอง อย่าลืม เลือกเอนฟาสูตรที่ใช่ แบรนด์เดียวที่เสริม MFGM อยากให้ลูกมีพัฒนาการสมองดี ต้องเลือกเอนฟาโกรที่มี MFGM มีหลากหลายสูตรเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูก เพราะเด็กทุกคนต่างกัน
 

ไขข้อข้องใจเรื่องเด็กอ่านหนังสือกับ Enfa Smart Club


แม้ทักษะฟัง-พูด-อ่าน-เขียน จะเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่เห็นความสำคัญ และควรส่งเสริมให้เด็กๆ มีพัฒนาการเหล่านี้ตามช่วงวัย แต่เมื่อเห็นลูกอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ก็มักจะทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่ร้อนใจอยู่เสมอ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วนั้น ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องต้องกันว่า เด็กๆ ควรจะอ่านหนังสือได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อเริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 นั่นหมายความว่า คุณพ่อคุณแม่มีเวลาค่อยๆ ฝึกทักษะการอ่านให้กับลูกได้จนถึงช่วงวัย 7-8 ปี เลยทีเดียว ช่วงวัยนี้ถือเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลง หากถึงตอนนั้น คุณพ่อคุณแม่ยังพบปัญหา ลูกอ่านหนังสือไม่ออก ถึงจะเป็นเวลาที่จะต้องหันมาแก้ปัญหาการอ่านให้ลูกอย่างจริงจัง
 

ลูก 8 ขวบอ่านหนังสือไม่ได้ ทำไงดี

เด็กช่วงวัย 8 ขวบ เป็นช่วงที่เด็กกำลังพัฒนา "ตัวตนภายใน" เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองขึ้น เริ่มพัฒนาบุคลิกภาพ นอกจากความอยากรู้อยากเห็นแล้ว เด็กจะรู้จักสนใจซักถามมากขึ้น กระตือรือร้นที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน เริ่มมีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมนานขึ้น มีความสนใจที่จะทำงานให้สำเร็จ สนใจที่จะรับฟังคำแนะนำจากพ่อแม่มากขึ้น

ทักษะการอ่านในช่วงวัยนี้พ่อแม่จะกังวลหากเด็กๆ ดูไม่มีวี่แววหรือสนใจที่จะอ่านหนังสือ การเข้าไปทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านร่วมกับลูกๆ จึงถือเป็นกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่อยากให้ลูกหลานตนเองสนใจการอ่าน หรือมีทักษะการอ่านที่ดีขึ้น โดยอาจเริ่มจากการหาเรื่องราวที่เด็กๆ ชอบมาร่วมพูดคุย เล่นเกม หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ก่อนจะนำไปสู่เรื่องของการอ่านหนังสือในที่สุด 
 

ลูก 9 ขวบอ่านหนังสือไม่ได้ ทำไงดี

ทักษะการอ่านสำหรับเด็กช่วงวัย 9 ขวบ มักได้เรียนรู้คำต่างๆ เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งคำที่สะกดยากๆ จึงอาจสับสนกับคำที่มีอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ลูกมักชอบสะกดคำผิดบ่อยๆ และมักจะหลีกเลี่ยงการอ่านข้อความที่ยาวขึ้น แต่หากลูกยังอ่านหนังสือไม่ได้ พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง และรับคำแนะนำในการรักษา ควบคู่ไปกับการสร้างบรรยากาศภายในบ้านให้เอื้อต่อการอ่าน เช่น จัดมุมอ่านหนังสือให้ดูอบอุ่น และมีหนังสือให้เลือกอ่านหลากหลาย ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอ่านร่วมกัน เช่น เล่นเกมคำศัพท์ เล่านิทาน

นอกจากนี้ พ่อแม่ควรเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ได้ ดังนี้ 
1.ฝึกให้ลูกอ่านทุกวันอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้หนังสือเรียน นิทาน คำ อักษรไทย 
2.ฝึกการอ่านควบคู่กับการเขียนโดยใช้อักษรไทย คำ ประโยค นิทาน 
3.ฝึกคัดลายมือ นอกจากทำให้ลายมือสวยงามแล้วยังเป็นการช่วยในการจดจำรูปคำต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมดังกล่าว พ่อแม่ควรมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความสนใจให้กับตัวลูกๆ และทำให้เขารู้สึกว่า การพัฒนาทักษะการอ่านนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และสนุกที่จะทำ 
 

ลูก 6 ขวบอ่านหนังสือไม่ได้ ทำไงดี

เด็กวัย 6 ขวบที่ยังอ่านหนังสือไม่ได้อาจเกิดจากภาวะบกพร่องในการอ่าน (Dyslexia)  ส่งผลให้เด็กมีปัญหาในการจับคู่เสียงกับตัวอักษร ทำให้การอ่านคำ การออกเสียงคำ หรือการสะกดคำมีความยากลำบาก เช่น “นก” กับ “กน” หรือ “แมว” กับ “เมว” หรือเด็กบางคนอาจมีปัญหาในการมองเห็น เช่น สายตาสั้นหรือยาว ส่งผลให้ไม่สามารถเรียนรู้การอ่านได้อย่างเต็มที่ รวมถึงเด็กไม่ได้รับการส่งเสริมด้านการอ่านตั้งแต่เด็กๆ ทำให้เรียนรู้ช้า และขาดความเข้าใจเรื่องโครงสร้างภาษา

อีกทั้ง เด็กวัยนี้มักชอบการอ่านออกเสียง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีในพัฒนาการด้านการอ่าน ลูกจะค่อยๆ สะกดคำ ทีละคำ เพื่อให้ออกเสียงตรงกับตัวอักษร แต่พวกเขาจะไม่สามารถบอกว่าตัวเองอ่านคำไหนผิด หรือไม่เข้าใจความหมายของคำที่อ่านออกเสียงไป

สิ่งสำคัญคือการประเมินสาเหตุที่แท้จริงก่อน เช่น มีปัญหาทางด้านการเรียนรู้หรือไม่ หรือมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการอ่านหรือไม่ หากไม่มีปัญหาทางด้านสุขภาพหรือการเรียนรู้ คุณพ่อคุณแม่สามารถลองใช้วิธีที่กล่าวมาข้างต้น เช่น การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง การเล่นเกมที่เกี่ยวกับการอ่าน และการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่าน เป็นต้น 



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama