Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
เด็กชอบที่จะเล่นสนุกกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน ชอบที่จะได้สนทนา มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน แต่...ก็มีเด็กอีกหลายคนที่มักจะมีความสุขเวลาที่เล่นคนเดียว ชอบที่จะเล่นคเดียวมากกว่าออกไปสนุกสนานกับผู้อื่น ซึ่งอาจเกิดจากความพึงพอใจและความชอบของตัวเด็กเอง หรืออาจมีสาเหตุมาจากการขาดทักษะทางสังคม
SQ (Social Quotient) คือ ความฉลาดทางสังคม หรือก็คือทักษะในการปรับตัวที่จะอยู่ในสังคมที่แตกต่างและหลากหลาย สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้คนที่อยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี เคารพในความแตกต่างของผู้อื่น รับฟังผู้อื่น แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างภาคภูมิใจโดยที่ไม่รู้สึกขัดเขิน หรือรู้สึกแปลกแยกจากสังคม เป็นอีกทักษะนึงนอกจากทักษะ EF ปฐมวัย 9 ด้าน ที่ควรส่งเสริมให้ลูกรัก
การมีความฉลาดทางสติปัญญาที่ดี หรือมี IQ ที่ดี กับการมีความฉลาดทางอารมณ์ หรือมี EQ ที่ดี เป็น 2 ทักษะที่เมื่ออยู่ควบคู่กันแล้วส่งเสริมให้ชีวิตก้าวไปสู่ความสำเร็จได้
เพราะมีไอคิวที่ดี จึงมีประสิทธิภาพในการคิดและการลงมือทำที่นำไปสู่ความสำเร็จได้ และเมื่อมีอีคิวที่ดี ก็จะทำให้รู้จักที่จะวางตนในสังคม รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง และรู้จักที่จะจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ทั้ง IQ และ EQ จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อสามารถเอาตัวรอดในสังคมได้ ดังนั้น การมีทักษะความฉลาดทางสังคม หรือมี SQ ที่ดี ก็จะช่วยให้สามารถปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉลาดที่จะใช้ทักษะความรู้ความสามารถในการสร้างประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ฉลาดที่รู้จักจัดการกับอารมณ์ของตนเองเมื่อต้องใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม รู้ว่าควรแสดงความรู้สึกและปฏิบัติตนอย่างไรที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นและตนเอง
ความฉลาดทางสังคม จึงเป็นส่วนเสริมให้บุคคลนั้น ๆ สามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข เพราะรู้จักที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
คุณสมบัติของความฉลาดทางสังคม ประกอบด้วย
เด็กที่ได้รับการฝึกฝนทักษะการเข้าสังคมมาเป็นอย่างดี จะมีลักษณะของความฉลาดทางสังคม ดังนี้
การพัฒนาความฉลาดทางสังคมของเด็กนั้น ต้องทำให้เหมาะสมกับวัย เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจและแสดงออกได้เหมาะสมกับช่วงวัยของตนเอง เพราะเด็กวัยต่างกัน ก็จะแสดงออกและเข้าสังคมที่แตกต่างกันไป
เด็กวัยทารก ยังไม่สามารถที่จะบอกความต้องการของตนเองได้ การสื่อสารจึงทำได้ผ่านการยิ้มหัวเราะ และร้องไห้ แต่ในขณะเดียวกันก็รู้จักที่จะเลียนแบบท่าทางและการพูดของคนอื่น ๆ พยายามที่จะสื่อสารกับคนรอบตัวผ่านการพูดแบบอ้อแอ้
พ่อกับแม่ไม่สามารถอยู่ร่วมกับลูกได้ตลอดเวลา ไม่สามารถรับมือกับทุกสถานการณ์ของเด็ก ๆ ได้ ดังนั้น จึงต้องเรียนรู้ที่จะสอนลูกปรับตัวเข้าสังคมตั้งแต่ยังน้อย เพื่อให้ลูกสามารถใช้ชีวิตอยู่รอดในสังคมได้อย่างมีความสุข
โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มสอนลูกปรับตัวเข้าสังคมได้ ดังนี้
ลูกไม่มีเพื่อนเล่นที่โรงเรียน กรณีแบบนี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย และจะกลายมาเป็นปมชีวิตของเด็ก ๆ ได้ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาลูกไม่มีเพื่อนนี้ คุณพ่อคุณแม่จะต้องละทิ้งอีโก้ของตัวเองลงมาให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรกเลยค่ะ
เนื่องจากบางครั้งลูกไม่มีเพื่อน อาจเพราะถูกแกล้ง ถูกรังแกจากเด็กคนอื่น ๆ และบางครั้งที่ลูกก็ไม่มีเพื่อนเพราะลูกเราเองนั่นแหละที่ทำนิสัยไม่ดีกับคนอื่น ๆ เป็นลูกของเราเองนั่นแหละที่ไปแกล้งคนอื่นจนไม่มีใครเล่นด้วย
ที่ต้องแนะนำให้วางใจเป็นกลางไม่เปักใจเข้าข้างลูกตัวเอง ก็เพราะบางครั้งลูกของเรา อาจไม่ได้น่ารักสำหรับคนอื่นเสมอไป เราจะหลอกตัวเองว่าลูกฉันเป็นคนดีตลอดไปไม่ได้ เพราะเมื่อลูกไปถึงโรงเรียนแล้ว อาจกลายเป็นเด็กอีกคนที่คุณพ่อคุณแม่ไม่รู้จักมาก่อน ก็เป็นไปได้เหมือนกัน
ดังนั้น วิธีรับมือที่เหมาะสมในกรณีที่ลูกไม่มีเพื่อนเล่น ได้แก่
1. อย่าเพิ่งคิดว่าเรารู้จักลูกของเราอย่างถ่องแท้ ต้องเปิดใจที่จะยอมรับด้วยว่า บางครั้งอาจเป็นลูกของเราเองนั่นแหละที่มีพฤติกรรมไม่ดี จนเพื่อน ๆ ไม่ยอมเล่นด้วย
2. เก็บข้อมูลที่ลูกเล่ามาให้ละเอียด และรีเช็กสถานการณ์อีกครั้งหนึ่งว่าเกิดอะไรขึ้น ใครทำอะไร เมื่อไหร่ ทำอย่างไร ทำที่ไหน อย่าเพิ่งเชื่อทั้งหมดเมื่อฟังจบแค่เพียงรอบเดียว ควรฟังอย่างมีวิจารณญาณ
3. ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางโรงเรียน การไปที่โรงเรียนนี้ ไม่ใช่ไปเพื่อเอาเรื่องนะคะ แต่เป็นการไปเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันว่าสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่รับฟังมานั้น ตรงกับสิ่งที่คุณครูเจอไหม ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เพื่อจะได้รับมือร่วมกันอย่างเหมาะสม
4. เพื่อนลูกก็เหมือนเพื่อนของพ่อกับแม่ พยายามเป็นมิตรกับเพื่อน ๆ ของลูก เพราะเพื่อนของลูกก็จะมีมุมมองต่อลูกของเราอีกแบบหนึ่ง ในแบบที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่เคยเห็นมาก่อนเลยก็ได้ การฟังความจากผู้อยู่ในเหตุการณ์จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ประมวลความจริงได้ชัดเจนขึ้น
5. ในกรณีที่ลูกเราเป็นผู้ถูกกระทำ ลูกถูกแกล้งจริง ต้องแนะนำวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง สอนให้ลูกรู้จักปกป้องตนเอง แต่ถ้าหากยังถูกแกล้ง และไม่มีเพื่อนเลยอยู่ คุณพ่อคุณแม่จึงสามารถแก้ปัญหาในขั้นตอนต่อไป เช่น อาจจะเป็นการไปพูดคุยที่โรงเรียน หรืออาจต้องย้ายโรงเรียนในกรณีที่ถูกแกล้งจนเกินเหตุ
6. ในกรณีที่ลูกของเราเองนั่นแหละที่เป็นตัวปัญญาจนไม่มีเพื่อนเล่นด้วย คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักที่จะยอมรับความจริงและไม่ถือหางลูกตัวเองอย่างเต็มที่ ไม่สนเรื่องจริงที่เกิดขึ้น การทำแบบนี้มีแต่จะทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นที่ตำหนิของสังคม
คุณพ่อคุณแม่ควรพูดกับลูกอย่างตรงไปตรงมา บอกให้ลูกทราบว่าสิ่งที่พ่อกับแม่รับรู้มาเป็นแบบนี้ ลูกทำแบบนั้นจริงไหม ทำไมลูกถึงทำแบบนั้น พร้อมแนะนำให้ลูกรู้จักที่จะขอโทษอย่างจริงใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องพูดคุยอย่างเป็นกันเอง ไม่ดุ ไม่ตำหนิ ไม่ทำให้ลูกรู้สึกว่าตอนนี้เขากำลังเป็นที่รังเกียจของพ่อแม่ แต่ควรแสดงออกว่าเราจะรับผิดชอบเรื่องนี้ไปด้วยกัน พ่อแม่อยู่เคียงข้างลูกเสมอ อาจพากันไปซื้อขนมเพื่อขอโทษเพื่อนด้วยกัน เพื่อให้ลูกไม่รู้สึกว้าเหว่ และไม่รู้สึกว่าถูกทิ้งให้ต้องเผชิญกับการกระทำของตัวเองแค่คนเดียว
เด็กควรได้กินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนแรกของชีวิต เพื่อให้ได้รับสารอาหารและสารภูมิคุ้มกันที่มีประโยชน์ในการเจริญเติบโตและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
แต่ในกรณีที่แม่ไม่สามารถให้นมลูกได้เอง สามารถปรึกษากับแพทย์ เพื่อเลือกนมเสริมที่มีสารอาหารเหมาะสมกับวัยของลูก
ซึ่งนมที่เหมาะสำหรับเด็ก ควรจะต้องมี “MFGM” หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันที่พบในน้ำนมแม่ (Milk Fat Globule Membrane) ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสฟิงโกไมอิลีน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ มีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองที่ดีของลูกน้อย ส่งเสริมการทำงานของสมองให้ลูกน้อยทั้งด้านสติปัญญา และอารมณ์ เพื่อให้ลูกได้สารอาหารที่ดีต่อการเติบโตอย่างสมวัย และดีต่อพัฒนาการด้านสมองตั้งแต่ 1 ขวบแรกของชีวิต
การย้ายโรงเรียน เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะถ้าลูกของเราเองนั่นแหละที่นิสัยไม่ดี จนไม่มีเพื่อนคบ แบบนี้จะย้ายอีกกี่โรงเรียน ก็ไม่ได้ช่วยให้ลูกมีเพื่อนขึ้นมาได้
หากลูกไม่มีเพื่อนที่โรงเรียน อาจต้องเริ่มสอนให้ลูกรู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเองก่อน สอนวิธีรับมือเมื่อถูกแกล้ง สอนให้รู้จักป้องกันตนเอง และรักษาสิทธิ์ของตนเอง หากลูกแก้ปัญหาด้วยตัวเองแล้วทุกอย่างยังเหมือนเดิม คุณพ่อคุณแม่ควรยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ อาจต้องพูดคุยกับโรงเรียน เพื่อหาทางรับมือร่วมกัน
แต่ถ้าทุกอย่างยังไม่มีอะไรดีขึ้น ลูกยังไม่มีเพื่อนเหมือนเดิม หรือลูกถูกลั่นแกล้งมากขึ้นจนกระทบต่อสภาพจิตใจ การย้ายโรงเรียนอาจเป็นทางออกที่ดีกว่า
ส่วนกรณีที่ลูกเรานั่นแหละที่เป็นตัวการทำให้คนอื่นไม่อยากเล่นด้วย ก็ต้องยอมรับความจริงและปลูกฝังการวางตัวในสังคมกันใหม่ เพื่อที่เด็กจะได้ปรับปรุงนิสัยของตัวเอง และเป็นที่รักของคนอื่น ๆ ซึ่งถ้าหากไม่แก้ไข ต่อให้ลูกย้ายอีกกี่โรงเรียน ก็ไม่มีใครอยากเป็นเพื่อนกับลูกของเราอยู่ดีค่ะ
การพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ที่บ้าน ดังนี้
ความกังวลหากลูกไม่มีเพื่อนสนิทเลย อาจแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ
Enfa สรุปให้ SQ (Social Quotient) คือ ความฉลาดทางสังคม หรือทักษะในการปรับตัวที่จ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เด็กอ่านหนังสือ โดยทั่วไปจะเริ่มอ่านคำง่ายๆ ได้เมื่ออายุประมาณ 4-5 ขวบ ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ทฤษฎีสมอง 3 ส่วน เป็นการอธิบายถึงการทำงานของสมองส่วนต่างๆ ในการควบคุมพฤติกรรม ...
อ่านต่อ