นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด โรคที่คุณแม่อาจจะต้องเผชิญและวิธีรับมือ

เคยได้ยิน “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด” กันไหมคะ ภาวะนี้เกิดได้กับคุณแม่ทุกคน โดยภาวะนี้เกิดจากการที่ระดับฮอร์โมนในร่างกาย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้เกิดอารมณ์ที่หลากหลาย เช่น เศร้า โกรธ ฉุนเฉียว รู้สึกไม่ผูกพันกับลูกน้อย รวมไปถึง การนอนไม่หลับ และความอยากอาหารลดลง เป็นต้น

ถึงแม้ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด จะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลังคลอดทุกคน แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ก็อาจจะกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตระยะยาวได้

 

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมีกี่กลุ่ม
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 

         1. ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด เกิดจากคุณแม่ยังไม่สามารถปรับตัวหลังการคลอดได้ มักจะมีความกังวลเรื่องลูก ภาวะนี้จะมีอาการอยู่ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา

         2. โรคซึมเศร้าหลังคลอด ในกลุ่มนี้ คุณแม่จะมีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ร้องไห้บ่อย หงุดหงิด หรืออ่อนไหวได้ง่าย รู้สึกไม่ผูกพันกับลูกน้อย ในบางครั้งผุดภาพอยากทำร้ายลูก อยากทำร้ายตัวเอง ประเภทนี้ มีอาการตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป จนถึงหลายเดือน ไม่สามารถหายได้เอง ต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

         3. โรคจิตหลังคลอด สำหรับกลุมนี้ มักจะเกิดในช่วงหลังการคลอด 1 – 4 วัน มีอาการฉุนเฉียว ร้องไห้ได้ง่าย คึกคัก คล้ายโรคไบโพลาร์ หูแว่ว ประสาทหลอน และในบางครั้งได้ยินเสียงสั่งให้ฆ่าลูก คุณแม่จะมีอาการหวาดกลัวมาก นอนไม่หลับ น้ำหนักลดลงกว่าปกติ โดยในกลุ่มนี้ ไม่สามารถหายได้เอง ต้องเข้ารับการรักษา และเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง อันตรายต่อตัวคุณแม่ และลูกน้อย

 

สาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ถึงแม้ภาวะซึมเศร้าหลังการคลอด จะเกิดได้กับคุณแม่ทุกคน โดยปัจจัยที่พบได้บ่อยคือ การที่ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหลังการคลอด ทำให้ร่างกายต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายในร่างกาย

ทั้งนี้ ยังรวมไปถึง วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปหลังจากการคลอดลูก ที่คุณแม่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อให้สอดคล้องในการเลี้ยงลูกน้อย ยิ่งในกลุ่มคุณแม่ที่เป็นคุณแม่มือใหม่ อาจจะยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน รวมถึงความวิตกกังวล หรือปัญหาชีวิต เช่น

         - ความเหนื่อยล้าจากการคลอดบุตร
         - การขาดการพักผ่อนที่เพียงพอในช่วงการเลี้ยงดูเด็กทารกแรกเกิด
         - การเปลี่ยนแปลงสถานะ หรือบทบาทมาเป็นคุณแม่เต็มตัว
         - รู้สึกไม่มั่นใจ หรือคิดว่าไม่สามารถเป็นแม่ที่ดีได้
         - ความเครียด หรือความกดดันในการเลี้ยงดูลูก รวมไปถึงความกังวลเกี่ยวกับการกลับไปทำงานหลังลาคลอด
         - ปัญหาทางการเงิน
         - การขาดการสนับสนุนการเลี้ยงดูจากบุคคลในครอบครัว
         - ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างภรรยา และสามี

และยังรวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถเป็นสาเหตุให้เป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ เช่น

         - มีภาวะซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์ หรือก่อนหน้ามาก่อน
         - เป็นโรคไบโพลาร์
         - เคยเผชิญสภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมาก่อน
         - บุคคลในครอบครัวมีประวัติการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรคทางด้านสุขภาพจิต
         - ลูกของคุณมีปัญหาทางด้านสุขภาพ หรือเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
         - การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม

ผลกระทบจากภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ผลกระทบจากการเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ไม่ได้เพียงแต่กระทบแค่ตัวคุณแม่เท่านั้น แต่ยังสามารถส่งผลกระทบไปถึงคนรอบข้าง รวมถึงลูกน้อยได้อีกด้วย

         • ผลกระทบต่อคุณแม่ หากคุณแม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่ยืดเยื้อเป็นเวลานาน อาจจะส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังในอนาคต
         • ผลกระทบต่อคุณพ่อ เนื่องจากคุณพ่อจะได้รับผลกระทบจากการรองรับอารมณ์ของคุณแม่ อาจจะทำให้เกิดความเครียดสั่งสม และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการรับมือกับความเครียด และอารมณ์ของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน
         • ผลกระทบต่อเด็ก หากเด็กอยู่ภายใต้การเลี้ยงดูของคุณแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดระยะยาว และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เด็กอาจจะมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาทางอารมณ์ รวมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น มีปัญหาในการนอนหลับ มีปัญหาในการกิน หรือการร้องไห้ที่มากเกินกว่าปกติ และยังรวมไปถึงพัฒนาการทางภาษาล่าช้า เป็นต้น

การป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
เมื่อคุณแม่พบว่ากำลังตั้งครรภ์ และมีประวัติเป็นภาวะซึมเศร้า หรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมาก่อน ควรแจ้งให้แพทย์ที่คุณแม่ฝากครรภ์ได้ทราบ เพื่อให้แพทย์ได้ประเมินอาการ และวางแผนรับมือล่วงหน้า นอกจากนี้ ในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรสังเกตตัวเอง ว่าเรามีอาการ หรือความเครียดอะไรหรือไม่

สิ่งสำคัญที่สุดคือ หากคุณแม่ไม่สามารถจัดการกับความรู้สึก หรืออารมณ์ได้ ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ หรือหลังการคลอด ควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการบำบัด หรือรักษาต่อไป

 

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama