ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เพียเจต์

เพียเจต์คือใคร ทฤษฎีเพียเจต์นำมาใช้เลี้ยงลูกดีหรือไม่?

Enfa สรุปให้

  • ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget) เป็นนักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ ผู้ซึ่งนำเสนอทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาและการคิดของเด็ก (Cognitive Development)
  • ทฤษฎีเพียเจต์แบ่งออกเป็น 4 ขั้น โดยเริ่มตั้งแต่วัยทารก ไปจนกระทั่งวัยเด็กโตอายุ 12 ปี ซึ่งเด็กแต่ละช่วงวัยก็จะมีหลักในการคิดและการใช้เหตุผลที่แตกต่างกันไปตามวัย
  • แม้ว่าทฤษฎีของเพียเจต์จะโด่งดังและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็มีผู้ที่ออกมาวิพากย์วิจารณ์ว่าทฤษฎีของเพียเจต์นั้นไม่ถูกต้องและยังมีข้อบกพร่องหลายจุดด้วยกัน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ฌอง เพียเจต์ คือใคร
     • ทฤษฎีของเพียเจต์คืออะไร
     • ทฤษฎีของเพียเจต์ถูกนำมาใช้อย่างไรบ้าง
     • ไขข้อข้องใจเรื่องทฤษฎีของเพียเจต์กับ Enfa Smart Club

พัฒนาการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ของมนุษย์นั้น มีด้วยกันหลายทฤษฎีที่ออกมาจำแนกและวิเคราะห์ถึงแนวทางในการเรียนรู้และวิธีพัฒนาสติปัญญาให้ก้าวหน้า

โดยหนึ่งในทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องของพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายนั่นก็คือ ทฤษฎีเพียเจต์ (Jean Piaget's theory) แต่ทฤษฎีนี้เป็นอย่างไร มีส่วนช่วยเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาได้จริงหรือเปล่า

รู้จักฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget) และบทบาทสำคัญในด้านจิตวิทยาเด็ก


ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget) เป็นนักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ ในวัยเด็กของเพียเจต์นั้น ถือว่าเป็นเด็กที่มีความคิดความอ่านโตกว่าเด็กในวัยเดียวกัน โดยเพียเจต์ได้เริ่มตีพิมพ์บทความทางวิชาการเรื่องเกี่ยวกับนกกระจอกสีเผือกเมื่อมีอายุแค่เพียง 11 ปีเท่านั้นเอง

หลังจากนั้นเพียเจต์ก็ยังมีบทความวิชาการเกี่ยวกับสัตว์ออกมาอีกเรื่อย ๆ จนกระทั่งตัดสินใจเข้าศึกษาต่อทางด้านสัตววิทยา และได้รับดุษฎีบัณฑิตด้านสัตววิทยาจากมหาวิทยาลัยนอยชตัดท์ (Neustadt University) ในปี 1918

ภายหลังเพียเจต์หันมาให้ความสนใจทางด้านจิตวิทยามากขึ้น โดยเฉพาะความสนใจในกระบวนการที่เด็กได้มาซึ่งคำตอบของคำถามต่าง ๆ จนเกิดเป็นทฤษฎีอันโด่งดังอย่าง ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาและการคิดของเด็ก (Cognitive Development)

เพียเจต์มองว่ากระบวนการเรียนรู้ของเด็กนั้นเริ่มต้นมาจากการคิดรวมกับการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และเด็กคือผู้ที่สร้างการเรียนรู้จากการรับข้อมูล ข่าวสาร และสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ซึ่งเด็กจะทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ด้วยตนเอง

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ เกี่ยวกับอะไร


ทฤษฎีเพียเจต์ คือ ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาและการคิดของเด็ก (Cognitive Development) ซึ่งเพียเจต์มองว่าเด็กทุกคนจะต้องผ่านขั้นตอนการพัฒนาทางสติปัญญาไปในแต่ละขั้นจนครบ จึงจะเข้าถึงระดับสติปัญญาของมนุษย์ที่ได้รับการพัฒนาแล้ว

รู้จักพัฒนาการทางสติปัญญา 4 ขั้น

โดยทฤษฎีของเพียเจต์นั้น จะแบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 (Sensorimotor Stage) ประสาทการรับรู้และการเคลื่อนไหว (อายุ 0 – 2 ปี)

เป็นช่วงแรกสุดของการพัฒนาความรู้และความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น และการรับรส โดยในระยะนี้เด็กจะมีการตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ แบบซ้ำ ๆ และเริ่มมีพฤติกรรมเลียนแบบเกิดขึ้น

ขั้นที่ 2 (Preoperational Stage) ขั้นเตรียมความคิดอย่างมีเหตุมีผล (อายุ 2 – 7 ปี)

เด็กวัยนี้จะเริ่มพูดเป็นคำและเป็นประโยคมากขึ้น แม้จะยังไม่เข้าใจในความซับซ้อนมากนัก แต่ก็มีความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เบื้องต้น และสามารถแยกแยะหรือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

แต่จะยังทำสิ่งต่าง ๆ ตามสัญชาติญาณอยู่ โดยไม่รู้ว่าทำไมถึงทำอย่างนั้น ไม่สามารถบอกถึงเหตุและผลเบื้องหลังการตัดสินใจนั้น ๆ ได้

ขั้นที่ 3 (Concrete Operation Stage) ขั้นความคิดที่มีเหตุผลและเป็นรูปธรรม (อายุ 7 – 11 ปี)

เด็กจะใช้สัญชาติญาณน้อยลง แต่จะเริ่มคิดอย่างมีหลักการมากขึ้น ใช้เหตุและผลในการทำสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น หากต้องเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะมีการคิด วิเคราะห์ มองหาความคุ้มค่าในสิ่งที่จะเลือกมาขึ้น สามารถที่จะเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย หรือจำแนกสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุและผล

ขั้นที่ 4 ขั้นความคิดที่มีเหตุผลและเป็นนามธรรม (อายุ 12 ปีขึ้นไป)

เด็กเริ่มที่จะมีความคิดแบบผู้ใหญ่ คิดอย่างมีเหตุและผลมากขึ้น สามารถเข้าใจในสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ แต่รับรู้และแยกแยะสิ่งที่เป็นปรัชญาได้มากขึ้น

สามารถที่จะยกตัวอย่าง ประเมิน จำลองสถานการณ์ หรือคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์หรือข้อมูลที่ได้รับ และเด็กจะเริ่มเป็นตัวของตัวเอง มีแนวคิดของตัวเอง หรือเชื่อในสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเหตุและผลมากขึ้น

ทฤษฎีของเพียเจต์ถูกนำมาใช้อย่างไรบ้าง


ทฤษฎีของเพียเจต์ จะถูกนำมาประยุกต์ใช้ผ่านกิจกรรมการเรียนและการสอนที่เหมาะสมกับวัยของเด็กว่าเด็กในวัยนี้ เหมาะสำหรับกิจกรรมแบบไหน ควรเล่นเกมอะไร เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมทักษะด้านการคิดของเด็กให้มากขึ้น

เช่น ในเด็กเล็กก็จะเหมาะกับกิจกรรมวาดภาพระบายสี เกมทายคำศัพท์ กิจกรรมเล่านิทาน เป็นต้น โดยกิจกรรมเหล่านั้น จะต้องเป็นกิจกรรมที่เอื้อให้เด็กได้ใช้ทั้งทักษะความคิดสร้างสรรค์ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น และได้แสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเองให้มากขึ้น

การวิพากษ์ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ผ่านมุมมองโลกปัจจุบัน

แม้ว่าทฤษฎีของเพียเจต์จะได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง แต่ก็ถูกมองว่ามีข้อบกพร่องด้วยเช่นกันค่ะ โดยถูกมองว่าเพียเจต์นั้นประเมินศักยภาพของเด็กวัยรุ่นสูงมากเกินไป และประเมินศักยภาพของเด็กทารกต่ำจนเกินไป 

มากไปกว่านั้น ทฤษฎีของเพียเจต์ ยังถูกมองว่าละเลยเรื่องของสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งต่างก็เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาสติปัญญาเช่นกัน

นอกจากนี้ ทฤษฎีของเพียเจต์ ก็ยังถูกมองว่ามีข้อบกพร่องในขั้นตอนการศึกษาวิจัย เพราะเพียเจต์ศึกษาแค่เพียงลูก ๆ ของเขาเท่านั้น ความหลากหลายของกลุ่มตัวอย่างจึงน้อยเกินไป 

โภชนาการคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของลูก

สิ่งสำคัญที่จะเป็นรากฐานให้เด็กพร้อมสำหรับการมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาที่ก้าวหน้า ควรจะต้องเริ่มต้นมาจากพื้นฐานของโภชนาการที่ดีค่ะ

เพราะถ้าเด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ ก็จะช่วยให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรง และร่างกายที่แข็งแรงนี่แหละค่ะ ที่จะเป็นแรงผลักดันสำคัญให้เด็กพร้อมสำหรับทุกการเรียนรู้ สามารถที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามวัยได้อย่างเต็มที่ ไม่มีสะดุด

โดยโภชนาการสำคัญขั้นแรกสุดสำหรับเด็กก็คือนมแม่ค่ะ เด็กควรจะได้กินนมแม่ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือนแรกของชีวิต เพราะในนมแม่มีสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่เท่านั้น คือ แลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin) และ MFGM (Milk Fat Globule Membrane)

  • แลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin) คือโปรตีนในนมแม่ซึ่งทำหน้าที่สำคัญต่อระบบทางเดินอาหาร ออกฤทธิ์ในลำไส้เพื่อทำการต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่าง ๆ และมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในทารก ทั้งยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับทารกให้แข็งแรงมากขึ้น ซึ่งแลคโตเฟอร์รินปริมาณสูงสุดจะอยู่ในช่วงน้ำนมเหลือง หรือก็คือช่วง 1-3 วันแรกหลังคลอดเท่านั้น พ้นไปจากนี้ก็จะลดปริมาณและคุณภาพลงไปเรื่อย ๆ
  • ในนมแม่มี MFGM (Milk Fat Globule Membrane) หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันที่พบได้ในนมแม่ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายและระบบการป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย ช่วยให้ร่างกายเด็กต่อสู้กับการติดเชื้อได้

ดังนั้น หากต้องการให้ลูกพร้อมสำหรับการเรียนรู้ที่รอบด้าน คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมที่จะปูพื้นฐานความพร้อมให้ลูกน้อยตั้งแต่เนิ่น ๆ

เมื่อถึงวัยที่ลูกต้องกินอาหารตามวัย ก็ควรเน้นอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ทั้งเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ธัญพืช นมและผลิตภัณฑ์จากนม และยังสามารถที่จะให้นมแม่ควบคู่กันต่อเนื่องได้ 1-2 ปีด้วยค่ะ

ไขข้อข้องใจเรื่องทฤษฎีของเพียเจต์กับ Enfa Smart Club


เพียเจต์ได้แบ่งขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นที่ 3ไว้อย่างไร? 

ทฤษฎีขั้นที่ 3 ของเพียเจต์ คือ ขั้นที่ 3 (Concrete Operation Stage) ขั้นความคิดที่มีเหตุผลและเป็นรูปธรรม (อายุ 7 – 11 ปี) โดยเพียเจต์มองว่า เด็กในช่วงวัยนี้จะใช้สัญชาติญานน้อยลง แต่จะเริ่มคิดอย่างมีหลักการมากขึ้น

มีการใช้เหตุและผลในการทำสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น หากต้องเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะมีการคิด วิเคราะห์ มองหาความคุ้มค่าในสิ่งที่จะเลือกมาขึ้น สามารถที่จะเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย หรือจำแนกสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุและผล

ทฤษฎีของเพียเจต์และทฤษฎีของบรูเนอร์ ต่างกันอย่างไร?

ทฤษฎีของเพียเจต์และทฤษฎีของบรูเนอร์ แม้จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันหลายประการ คือ

     • บรูเนอร์มองว่าการพัฒนาความรู้และความเข้าใจของเด็กนั้นเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน แต่เพียเจต์มองว่าการพัฒนาดังกล่าวมีลำดับขั้นตอน

     • บรูเนอร์มองว่าภาษาคือบ่อเกิดของกระบวนการคิดและสติปัญญา แต่เพียเจต์มองว่าภาษาเป็นผลพวงมาจากการพัฒนาความคิดและสติปัญญา

     • บรูนเนอร์มองว่าสังคมและวัฒนธรรมมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาความคิดและสติปัญญา แต่เพียเจต์ไม่ค่อยให้น้ำหนักในเรื่องดังกล่าวมากนัก

     • ทฤษฎีของเพียเจต์มี 4 ขั้นตอน ขณะที่เพียเจต์บรูนเนอร์มองกระบวนการพัฒนาสติปัญญาไว้แค่เพียง 3 ขั้นตอน ดังนี้

        ขั้นที่ 1 Enactive representation (การแสดงความคิดด้วยการกระทำ)
        ขั้นที่ 2 Iconic representation (ขั้นการคิดจากสิ่งที่มองเห็น)
        ขั้นที่ 3 Symbolic representation (ขั้นการคิดโดยใช้สัญลักษณ์หรือภาษา)

     • เพียเจต์มองว่ากระบวนการพัฒนาทั้งสี่ขั้นนั้นจะเกิดขึ้นแค่ในช่วงวัยเด็กเท่านั้น จะไม่พัฒนาต่อเนื่องในตอนโต แต่บรูนเนอร์มองว่ากระบวนการพัฒนาสติปัญญาของเขานั้น เป็นกระบวนการคิดและการเรียนรู้ที่จะจะคงอยู่ไปตลอดตั้งแต่เด็กจนตาย



บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

บทความที่แนะนำ

มาเล่นกันเถอะ! ของเล่นเด็ก 1 ขวบ เล่นอะไรได้บ้างนะ
Enfa Smart Club

Leaving page banner

 

Leaving page banner